สังคมโลกวันนี้เปลี่ยนแปลง-สับสนจากหลายเหตุปัจจัย ที่สำคัญที่สุดคือ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และ ความเคลื่อนไหวของภูมิรัฐศาสตร์ ที่ส่งผลรวมกระทบต่อสังคมโลกมากมหาศาล จะพบว่าโลกวันนี้ไม่ได้ผูกขาดความไว้วางใจกับมหาอำนาจขั้วเดียวอีกต่อไป ภูมิรัฐศาสตร์และการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ขับเคลื่อนปรับตัวทำให้โลกเปลี่ยนไปเป็นโลกหลายขั้วอำนาจ
สัมพันธ์พันธภาพของแต่ละประเทศมีต่อกันเกิดขึ้นหลากหลายรูปแบบ-หลากหลายมิติ มีทั้งที่พยายามเป็นตัวของตัวเองและพยายามปรับเปลี่ยนขั้วความสัมพันธ์ใหม่ ที่สำคัญคือหลายประเทศพยายามเป็นตัวของตัวเอง-รักษาผลประโยชน์ตามแนวคิดแนวทางของตัวเอง-ไม่ยอมถูกจูงให้อยู่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่นโลกในอดีตที่ผ่านมา!
จะพบว่าอินเดียมีความเคลื่อนไหวจัดวางความสัมพันธ์กับจีน รัสเซีย และอเมริกาต่างมิติกัน-ยึดผลประโยชน์-เสถียรภาพ-ความมีอิสรภาพของประเทศเป็นสำคัญ จีนก็จัดวางตัวเองต่อนานาประเทศในสังคมโลกแตกต่างกัน ส่วนรัสเซียนั้นแน่นอนว่าถึงกับต้องกระโจนเข้าสู่สงคราม หลังถูกอเมริกาและนาโต้ละเมิดข้อตกลงการขยายพันธมิตรจนสั่นคลอนเสถียรภาพและความมั่นคงของประเทศ! ต้องใช้พลังทางการทหารและการจัดการทรัพยากรเข้าสู่การคานอำนาจกับอเมริกาและยุโรป ขั้วอำนาจตรงข้าม!
โดยมีการจัดสัมพันธภาพจับมือกับประเทศต่าง ๆ แต่ละมุมโลกต่างกันไป เช่นกอดคอเป็นมิตรกับกลุ่มทรัพยากรพลังงานโลกอาหรับ ร่วมมือกับเกาหลีเหนือและประเทศสหายสงครามที่มีความคิดใกล้ชิดกันในรูปแบบเฉพาะ ซึ่งจัดระยะต่างไปจากสัมพันธภาพกับประเทศที่ไม่ได้ร่วมกอดคอกันแนบแน่น ฯลฯ เป็นต้น นี่คือตัวอย่างที่เห็นในการจัดปรับตัวทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศขนาดใหญ่!
ความเป็นโลกหลายขั้ววันนี้ ส่งผลต่อสัมพันธภาพทางเศรษฐกิจ-การค้า และความสนิทใจกับสกุลเงินดอลลาร์ก็มีสถานะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป!
สำหรับบ้านเมืองไทยของจากการปรับตัวระดับโครงสร้างแล้ว ความเคลื่อนไหวการเปลี่ยนแปลงภายในบ้านเมืองเองก็มีการขยับปรับเปลี่ยนหลายเรื่องที่ส่งผลทั้งดีขึ้นและสับสนอลหม่านพอสมควร บางมุมที่เคยหมกซ่อนไว้ในหลืบลึกก็ถูกสังคมออนไลน์ขุดเปิดเปลือยขึ้น เผยให้สังคมได้รับรู้กันแพร่หลาย โดยเฉพาะพฤติกรรมคอรัปชั่นกับขบวนการด้านมืดต่าง ๆ ไม่เว้นแต่ละวัน แถมยังได้ช่วยให้ อาชญากรรมในสังคมวันนี้หลายกรณีได้รับการจัดการถูกที่ถูกทางขึ้น
แม้ระบบราชการและกระบวนการยุติธรรมจะไม่มีประสิทธิภาพเท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปนัก นี่คือผลพวงความเปลี่ยนแปลงจากเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อวิถีชีวิต-ความเคลื่อนไหวในสังคมบนรอยต่อของโลกใบเก่าของโลกใบใหม่
สัปดาห์ที่ผ่านมาผมมีโอกาสไปคารวะผู้อาวุโส “คนของแผ่นดิน” ดร.เสนาะ อูนากูล อดีตผู้บริหารประเทศที่มีบทบาทสำคัญหลายตำแหน่งในการขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าใหม่ให้บ้านเมือง ช่วงที่ท่านทำงานสนับสนุน พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อย่างใกล้ชิดจนทำให้เกิดยุคโชติช่วงชัชวาล-เปลี่ยนประเทศสู่ความก้าวหน้าใหม่ยุคทศวรรษ พ.ศ.2520 เป็นต้นมา
วันนี้ท่านเรียกตัวเองว่า ชายชราจากปากช่อง เนื่องเพราะท่านไปใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านพักปากช่องเป็นส่วนใหญ่ และช่วงวัยท่านก็กว่า 90 ปีไปแล้ว แต่สติปัญญา ความจำ ความคิด และการเท่าทันโลกนั้นยังแม่นยำสดใสอยู่เช่นเดิม
ท่านอาจารย์เสนาะชี้ถึงหลักการมองความเปลี่ยนแปลงและการปรับตัวของบ้านเมืองที่ต้องคำนึงถึง Global Mega Trend ที่จับกระแสโลกเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพื่อไม่หลุดออกจากความก้าวหน้าของโลกใบใหม่ที่กำลังขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและการปรับตัวทางภูมิศาสตร์อย่างรุนแรงต่อเนื่อง กล่าวคือ
หนึ่ง ความเท่าทันในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิตอล ที่มีทั้งโอกาสและการทำลายล้างด้วยพลังของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งจะต้องเร่งสร้างคนและสังคม-ยกระดับความรู้ทักษะ-ปรับเปลี่ยนความรู้ทักษะที่เป็นสมรรถนะโดยรวมให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ที่ต้องวเร่งปรับการศึกษาทั้งในและนอกระบบให้ต่อเนื่องเท่าทันการเปลี่ยนแปลงยุคดิจดิทัล
สอง ข้อพิจารณาถึงมิติของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐกิจ ที่เกิดจากการเติบโตเบ่งบานของจีนที่ต้องติดตามและสร้างสัมพันธ์ที่ดี และการปรับจากโลกที่เปลี่ยนจากขั้วอำนาจเดียวเป็นหลายขั้ว ที่นำสู่การปรับตัวเปลี่ยนแปลงของการค้าและระบบเงินตรา ที่จะมีผลทางเศรษฐกิจสังคมและการเติบโตของประเทศ
สาม ประเด็นการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ที่เป็นฉันทามมติของประชาคมโลกที่มีความสำคัญ จะต้องจัดการในเรื่องพลังงานสะอาด การสร้างฐานเศรษฐกิจแบบ BCG (กลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจนำกลับมาใช้ใหม่-เศรษฐกิจสีเขียว) ซึ่งจะต้องปรับทิศทางการพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน
สี่ ข้อพิจารณาถึงสภาวะโรคระบาดขนาดใหญ่ ที่ต้องจัดระบบดูแลป้องกันรักษาอย่างดี การก้าวสู่สังคมสูงวัย การปรับตัวเรื่องของการแพทย์-การสาธารณสุขใหม่ เพื่อสร้างยุทธศาสตร์สุขภาพยุคใหม่ในการดูแลคุณภาพชีวิตผู้คน-สุขอนามัยการมีชีวิตที่ดี
และห้า การเติบโตของเมือง ในการจัดการขบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นเมืองที่ขยายตัวขึ้น ต้องส่งมรรคผลในแง่ของโอกาสการเข้าถึงโอกาสความเสมอภาคเท่าเทียมของการอยู่ร่วมกัน โดยมรรคผลของการเปลี่ยนแปลงเติบโตของบ้านเมืองต้องตกถึงผู้คนเป็นสำคัญ เพื่อเป็นฐานที่แข็งแกร่งรับการเติบโต-ปรับ ปรับตัวเคลื่อนไหวในกระแสเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
เป็นข้อสรุปจากบทสนทนาวันนั้น.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .