คณะทำงานประสานงานการพัฒนาบุคลากร และสำนักพัฒนาบุคลากรและการศึกษา สกพอ. ได้มีการคัดสรรบุคคลและองค์กรดีเด่นในการทำงานพัฒนาบุคลากรและการศึกษา เพื่อเข้ารับรางวัล EEC HDC Award มาต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา จนถึงปีนี้ก็ได้พิจารณาเสนอรางวัล EEC HDC Award 2022 ให้กับ 3 องค์กรและ 5 บุคคลที่มีผลงานโดดเด่น-ทุ่มเทสร้างสรรค์พัฒนาคน-พัฒนาการศึกษา -พัฒนาความร่วมมือ-สร้างความก้าวหน้าให้กับบ้านเมืองมาอย่างต่อเนื่องตลอดปีที่ผ่านมา ซึ่งปีนี้ทาง EEC HDC ได้ย่อส่วนงานลงและเน้นการถ่ายทอดสดผ่านระบบซูม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการแพร่กระจายเชื้อโควิด ที่ดูเหมือนกำลังกลับมาระบาดหนักอีกครั้ง
ประธานผู้มอบรางวัลอันทรงคุณค่าในปีนี้คือ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ประธานกรรมาธิการการอุดมศึกษา ฯ วุฒิสภา โดย ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ประธานที่ปรึกษาพิเศษ สกพอ.เป็นผู้กล่าวเปิดงาน งานนี้ ผอ.สำนักพัฒนาบุคลากรและการศึกษา สกพอ. ดร.ณิชากร ทองเปลว ชี้ว่าการจัดงาน EEC HDC Award 2022 เมื่อ 15 ธันวาที่ผ่านมา ทุกองค์กรและทุกท่านที่ได้รับรางวัลนั้นได้รับการคัดกรอง-คัดสรรมาจากคณะกรรมการหลายฝ่ายว่าเป็นองค์กรและบุคลากรที่มีผลงานเยี่ยมในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา โดยมีรายชื่อและประสบการณ์งานโดยสรุปแต่ละท่าน-แต่ละองค์กรดังนี้
1 ดร.ไพบูลย์ ลิ้มปิติพานิชย์ ผู้อำนวยการออโตเมชั่นปาร์ค คณะวิศวกรรม มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นผู้ทำงานที่โดดเด่นด้านการพัฒนาระบบ automation Park ที่มีผลงานมากมายต่อเนื่องในการพัฒนาคน พัฒนาการศึกษา และพัฒนาอุตสาหกรรมใน EEC ผ่านการทำงานร่วมมือกับองค์กรเชี่ยวชาญอย่าง TARA Core และกลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC มาอย่างต่อเนื่อง เป็นผู้บุกเบิกงานออโตเมชั่นและระบบโรงงานอัจฉริยะให้คณะวิศวกรรมมหาวิทยาลัยบูรพา มีผลงานโดดเด่นในการฝึกอบรมสร้างบุคลากรยุคใหม่และยกระดับอุตสาหกรรม สร้างมูลค่านับแสนล้านให้กับเศรษฐกิจใน EEC
2 อ.ทัศพันธ์ สุวรรณทัต อาจารย์ผู้มีผลงานในการสร้างงานด้านแมคคาทรอนิค หุ่นยนต์ และระบบโรงงานอัจฉริยะ-อัตโนมัติ เป็นผู้นำในสำนักวิศวกรรมฯ มทร.ตะวันออก ที่สนับสนุนการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีความโดดเด่นในการเชื่อมประสานภาคอุตสาหกรรมกับการศึกษาและเป็นผู้ริเริ่มสร้างการศึกษาของสำนักวิศวกรรม มทร.ตะวันออก ให้มีศูนย์เครือข่ายชำนาญการด้านแมคคาทรอนิค มีความโดดเด่นในการจัดการศึกษารูปแบบ EC model ทั้ง type a และ type B สร้างความร่วมมือกับอุตสาหกรรมมามากกว่า 100 กลุ่ม และสร้างต้นแบบการจัดการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ความก้าวหน้าตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมอย่างเต็มรูปแบบตลอดมา
3 ดร.อรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เป็นสตรีเหล็กที่ขับเคลื่อนงานกลุ่มอาชีวะที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ โดยอาศัยการพัฒนาความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมปรับเข้าสู่ระบบการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการมากว่า 3 ปี ได้สร้างความโดดเด่นในการเรียนการสอนด้านหุ่นยนต์ ยานยนต์สมัยใหม่ และอากาศยาน ร่วมกับเครือข่ายภาคอุตสาหกรรมกว่า 70 แห่ง โดยการจัดการศึกษาด้านอากาศยานของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจาก CAAT และมีการบริหารจัดการการพัฒนาการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการในแบบ EEC โมเดล มาอย่างต่อเนื่อง
4 ผอ.ประทีป จุฬาเลิศ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย เป็นสถาบันอาชีวะในพื้นที่ที่มีการจัดการศึกษาในระบบความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง นักเรียนที่วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่ายมีการจับคู่การศึกษาร่วมกับภาคอุตสาหกรรม 100% เป็นการบริหารการศึกษาที่มีผลงานการันตีถึงความตั้งใจ-ความเอาใจใส่-การมีวิสัยทัศน์-ความมุ่งมั่น ที่ทำให้สถาบันแห่งนี้มีการจัดการศึกษาแบบ EEC โมเดลทั้งวิทยาลัย ซึ่งผลิตบุคลากรได้ปีละราว 3,000 คน เด็กที่จบการศึกษาที่นี่-มีงานทำทุกคน 100% มีอนาคตที่ดีได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานพัฒนาต่อยอดทั้งในและต่างประเทศ จนที่นี่เป็นต้นแบบการบริหารจัดการการศึกษาและพัฒนาบุคลากรที่น่ายกย่องเชิดชูยิ่ง
5 อ.เพิ่มศักดิ์ สุขศิริ อาจารย์สถาบันไทยเยอรมันผู้บุกเบิกสร้างความร่วมมือการพัฒนาบุคลากรและการศึกษากลุ่มวิศวกรรมชั้นสูงร่วมกับ EEC HDC มาตั้งแต่ยุคบุกเบิก ช่วยประสานให้เกิดความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม-สถาบันการศึกษาทั้งอุดมศึกษาและอาชีวศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สถาบันไทย-เยอรมัน เป็นที่พึ่งของเครือข่ายการพัฒนาการศึกษายุคใหม่แบบ EEC โมเดลตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ทำให้เกิดงานการฝึกอบรมสร้างกลุ่มงานทักษะสูงแบบ EEC โมเดล มาต่อเนื่องและมากที่สุดทั้งในแง่ของหลักสูตร-จำนวนบุคลากรที่ประสบความสำเร็จ-และความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งสร้างมูลค่ามหาศาลด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ EEC จึงนับเป็นบุคคลที่ควรยกย่องเชิดชูเพื่อรับรางวัลอันทรงคุณค่านี้
ส่วนองค์กรดีเด่นปี 2565 มี 3 องค์กร ได้แก่ บริษัท Mitsubishi Electric สถาบันไทย-เยอรมัน และ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ทั้ง 3 องค์กร มีความโดดเด่นในงานการพัฒนาคนและการศึกษาอย่างโดดเด่น เป็นเหมือนองค์กรฐานรากที่สร้างความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมและสร้างเครือข่ายที่เป็นต้นแบบความร่วมมือในงานพัฒนาบุคลากรและการศึกษาจนถึงพัฒนาความก้าวหน้าใหม่ให้กับภาคอุตสาหกรรมในกระแสเปลี่ยนผ่านในพื้นที่ EEC ทั้ง 3 องค์กรเป็นองค์กรที่ทำงานพัฒนาบุคลากรแบบ EEC โมเดลมาอย่างต่อเนื่อง ช่วยขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าให้กับทั้งคนและการอุตสาหกรรมสู่ความก้าวหน้าใหม่อย่างต่อเนื่องจนทุกวันนี้ EEC HDC จึงขอประกาศเป็นองค์กรที่ควรยกย่องเชิดชูในปี 2565 เพื่อรับรางวัล EEC HDC Award 2022.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง
ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า