คำตอบอยู่ที่หน้างาน

การเมืองวันนี้ สปอตไลท์ฉาบฉายไปที่การเคลื่อนตัวของพรรคและนักการเมือง ที่เขยื้อนขยับรับบรรยากาศการเลือกตั้งทั่วไปกันอย่างคึกคัก

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้ใช้บัตรเลือกตั้งสองใบ และการใช้สูตรนับคะแนนปาร์ตี้ลิสต์แบบหารด้วย 100 ทำให้เกิดการปรับตัวอย่างสำคัญ

1. แตกตัว รวมตัว แยกขั้ว ย้ายพรรค

พรรคการเมืองพรรคใหญ่แบบพรรคเพื่อไทย จะได้เปรียบ พรรคขนาดกลางและขนาด เล็กรวมทั้งพรรคการเมืองเกิดใหม่ จะเดินหน้าต่อได้ยาก จึงต้องยุบรวมกัน เช่นพรรคกล้ารวมกับพรรคชาติพัฒนาแล้ว พรรคสร้างอนาคตไทยกับพรรคไทยสร้างไทยกำลังเจรจาเพื่อรวมเป็นพรรคเดียวกัน

ส่วนพรรคที่มี ส.ส. ต่ำห้า นั้น ส.ส. มีแค่สองทางเลือก คือยุบพรรคของตนไปหาพรรคอื่นอยู่อาศัย หรือไม่ก็รวมพรรคย่อยๆ หลายพรรคให้เป็นพรรคเดียว

ส.ส. และอดีต ส.ส. จะย้ายพรรคกันจ้าละหวั่น เพื่อให้เข้าเงื่อนไข มีคุณสมบัติเป็นสมาชิกพรรค 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง

การเลือกพรรคเพื่อเข้าสังกัด มีปัจจัยหลัก คือกระแสบวกกระสุน กระแสหมายถึงโอกาสสูงที่จะได้เป็น ส.ส. เช่นเชื่อกันว่าหากลงเลือกตั้งในภาคอิสานก็ต้องแขวนป้ายพรรคเพื่อไทยเท่านั้น ส่วนกระสุนคือทุนที่คาดว่าจะได้รับว่ามากน้อยแค่ไหน

หากกระแสไม่มา กระสุนไม่หนุนเนื่อง ก็พร้อมจะย้ายไปหาพรรคอื่น ถ้าจะมีการพูดถึงอุดมการณ์ของพรรค จะเป็นเพียงลมปากฉาบฉวยเท่านั้น

2. หว่านโปรยประชานิยม

นโยบายในการหาเสียงหลังโควิด 19 พรรคต่างๆจะชูธงปัญหาเศรษฐกิจของประชาชน คือการหาอยู่หากิน แต่จะล้อมรอบอยู่กับแนวทางประชานิยมเป็นสำคัญ เช่นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็นวันละ 600 บาท หรือเรียนจบปริญญาตรีเงินเดือน 25,000 บาท แล้วค่อยอธิบายภายหลังว่าเมื่อเศรษฐกิจดี นโยบายที่ประกาศจะเป็นไปได้เอง

ไม่มีพรรคการเมืองไหน กล้าประกาศนโยบายปฏิรูปที่ดินด้วยการ จำกัดจำนวนการถือครองที่ดิน ซึ่งทุนใหญ่สามารถถือครองได้อย่างไร้ขีดจำกัด ไม่มีพรรคการเมืองไหนกล้าสะกัดการขยายตัว ของทุนเสรีผูกขาดที่กำลังคุกคามทุนย่อยและธุรกิจรายเล็กรายน้อยให้ป่นปี้ไปอย่างเลือดเย็น

อะไรที่เป็นการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง อะไรที่เป็นการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ อะไรที่เป็นการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจฐานราก จะเก็บเข้าลิ้นชักไว้ก่อน อะไรที่เป็นการหว่านโปรยการลดแลกแจกแถมจะเป็นประเด็นสำคัญในการรณรงค์หาเสียง

3. การซื้อเสียงจะหนักหน่วงกว่าเดิม

เงินจะสะพัดไปทุกหัวระแหงทุกภาคทั้งเหนือ อิสาน กลาง ใต้ หัวคะแนนจะทำงานหนัก แต่จะอิ่มหมีพีมัน พรรคจะมีกระแสหรือไม่ ก็ต้องเตรียมกระสุนให้เต็ม
รังเพลิง เพื่อช่วงชิงพื้นที่

รู้ๆ อยู่ว่ามีการซื้อเสียงเต็มแผ่นดิน ก.ก.ต. มีความสามารถในการจัดการเลือกตั้งก็จริง แต่จะไม่สามารถจับให้มั่นคั้นให้ตายคนที่ซื้อเสียงได้ อย่างเก่งก็อาจจะจับได้คดีย่อยๆ เช่นเงินทำบุญ เงินช่วยงาน เป็นต้น

การสมัครลงเลือกตั้ง จึงเป็นการลงทุนทางธุรกิจที่ผู้ลงทุนคาดหวังจะถอนทุนคืนพร้อมกำไร และรู้ทางหนีทีไล่ที่จะไปให้พ้นจากการจับผิดของ ก.ก.ต. ได้
4. คำตอบอยู่ที่หน้างาน

ใครคาดการณ์ว่าการเมืองจะเดินไปตามความน่าจะเป็น ต้องเตรียมใจรับควา มไม่แน่นอน หลังจากประกาศผลการเลือกตั้ง

อย่าคิดว่า พรรคพลังประชารัฐ จะไม่สังฆกรรมกับพรรคเพื่อไทย

อย่าหมายว่ากลุ่มก๊วนในพรรคต่างๆ จะยังยืนปักหลักเหนียวแน่นอยู่ในพรรคปัจจุบันของตน อย่าฟันธงว่าพรรคที่ได้คะแนนสูงสุด จะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ เมื่อปี 2518 ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หัวหน้าพรรคกิจสังคม มี ส.ส. เพียง 18 เสียง แต่รวบรวมพรรคอื่นๆ ได้จนสามารถจัดตั้งรัฐบาลเป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งๆ ที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งมี ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรคในขณะนั้นมี ส.ส. ถึง 72 เสียง

อย่าประมาทว่าพรรครวมไทยสร้างชาติจะเป็นพรรคการเมืองที่มี ส.ส. ต่ำกว่า 25 คน อย่าประเมินว่าพรรคภูมิใจไทยจะไม่สามารถขึ้นมาเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลอีกขั้วหนึ่งได้

อย่าเพิ่งมีข้อยุติว่าพรรคประชาธิปัตย์ หมดน้ำยาแล้ว

อย่าคิดว่าการผลัดเปลี่ยนเป็นนายกรัฐมนตรี คนละ 2 ปี จะเป็นไปไม่ได้

ถ้าสบโอกาส อย่าคิดว่า พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพื่อเห็นแก่น้องประยุทธ์ ที่คบหากันมา 50 ปี

พรรคไหนจะเป็นรัฐบาล ใครจะรวมกับใคร ไม่อาจชี้ขาดได้ในวันนี้ แต่จะไปพิสูจน์กันที่หน้างาน คือหลังจากผลการเลือกตั้งประกาศแล้วนั้นเอง

ประสาร มฤคพิทักษ์

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๖)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ได้เขียนคำกล่าวสอนใจไว้บทหนึ่งว่า.. ถึงมีอำนาจ วาสนา สักปานไหน

เตือน 'ทักษิณ' มีบทบาทการเมืองมากเกิน จะกระทบภาวะผู้นำของ 'เศรษฐา'

นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ยอมรับว่า สาเหตุที่ไปถอนฟ้องนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ตามความผิด ม.157 กรณีเสนอชื่อ พล.ต.อ.ต่อศั

ไทยในสายตาต่างชาติ: สมัยรัชกาลที่เจ็ด (ตอนที่ 30: การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475)

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ

'ปิยบุตร' ดักคอพรรคจ้องดูด สส.งูเห่า เอาไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อเสถียรภาพรัฐบาล

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ในฐานะคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ สัดส่วนพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมนัดแรก