EEC เหลียวหลังแลหน้า หลังขับเคลื่อนผ่านปีที่ 5

1 ธันวาคมที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ EEC โดยรักษาการเลขาธิการ ธัญรัตน์ อินทร นำคณะผู้บริหาร EEC อภิปราย-เสวนา “แผนบูรณาการ EEC สู่การสร้างโอกาสใหม่ในการพัฒนาประเทศ” เป็นการเสวนาชี้บอกแบบ เหลียวหลัง-แลหน้าความเคลื่อนไหวของงานในพื้นที่ EEC เปิดเวทีโดย ประธานที่ปรึกษาพิเศษ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ อดีตเลขาธิการ สกพอ. ตามด้วยคณะผู้บริหารร่วมกันถ่ายทอดภาพรวมการขับเคลื่อนงาน EEC และผลจากการดำเนินงาน รวมทั้งความเคลื่อนไหวที่จะก้าวต่อไปข้างหน้า

ดร.คณิศ อดีตเลขาฯ สกพอ.ชี้ว่า การขับเคลื่อนงาน EEC ตั้งแต่มีการออกพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกก็ได้จัดทำแผนรวมทั้งหมด และลงหลักปักฐานโครงสร้างพื้นฐานหลักๆ ที่สำคัญ ปัจจุบันกำลังเคลื่อนไปสู่เรื่องของการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการสร้างประโยชน์โพดผลให้ผู้คนและชุมชนในท้องถิ่น ซึ่งในการลงทุนใน EEC ที่ได้อนุมัติไว้ใน 4 ปีแรก ตั้งแต่ปี 2561-2565 นั้น วันนี้ไปเกินเป้า-มีการลงทุนไปแล้ว 1.9 ล้านล้านบาท จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ซึ่งในการลงทุนนี้ใช้งบประมาณสำนักงาน สกพอ.ร้อยละ 0.1 จากงบบูรณาการร้อยละ 5 โดย สกพอ.หาผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 โครงการ ได้แก่ รถไฟความเร็วสูง ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 มีมูลค่ารวมกว่า 6.5 แสนล้านบาท

ด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยรวม ได้ออกบัตรส่งเสริมการลงทุน BOI ช่วงปี 2561-2565 รวมทั้งสิ้น 1,182,538 ล้านบาท โดยเป็นกลุ่มการลงทุนต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมร้อยละ 34 และเป็นส่วนการลงทุนเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมใหม่ร้อยละ 36 ที่เหลือเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 30 โดยจะพัฒนา 5 แกนหลักเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรม-การลงทุนใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย (ตามที่มีสไลด์ฉายประกอบ) แกนแรกเป็นแกนหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ที่จะเชื่อมกับอุตสาหกรรมต่างๆ ให้ยกระดับสมรรถนะการผลิตโดยรวม แกนที่ 2 แกนด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จะหนุนอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร-การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีคุณภาพสูง แกนที่ 3 สมาร์ทโลจิสติกส์ จะสนับสนุนอุตสาหกรรมการบิน โลจิสติกส์ และระบบราง ฯลฯ แกนที่ 4 ด้าน 5G สนับสนุนการสื่อสารและอุตสาหกรรมดิจิตอลยุคใหม่ แกนที่ 5 แกน BCG หนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ฯลฯ ซึ่งโดยภาพรวมดูดี แต่คิดว่าน่าจะพลาดที่ไม่ปรากฏแกนสำคัญเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรและการศึกษา” ที่เป็นแก่นแกนและหลักสำคัญ-เป็นฐานการพัฒนาทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายและเศรษฐกิจสังคม รวมถึงชุมชนโดยรวม เลยขอตั้งเป็นข้อสังเกตไว้ หากขาดแกนนี้คงไปต่อกันลำบากทั้งอุตสาหกรรมและบ้านเมือง!

ประเด็นการสร้างแผนงานงบบูรณาการ รักษาการเลขาธิการฯ ธัญรัตน์ อินทร อภิปรายไว้น่าสนใจ จากการเริ่มดำเนินงานปี 2561 ได้เติบโตขยายตัวมีหน่วยงานเข้าร่วมจาก 8 กระทรวง 13 หน่วยงาน เป็น 15 กระทรวง 44 หน่วยงานในปัจจุบัน งบประมาณที่ได้รับ (ปี 2561-2566) รวม 94,514 ล้านบาท นำไปสร้างงานหลายกลุ่ม กลุ่มงานโครงสร้างพื้นฐานและดิจิตอล กลุ่มพัฒนาบุคลากรและนวัตกรรม กลุ่มการสาธารณสุข การท่องเที่ยว งานพัฒนาพื้นที่ตามผังเมือง EEC รองรับการขยายตัวของเมือง กลุ่มงานชักจูงนักลงทุนต่างประเทศ กลุ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คน ซึ่งชี้กุญแจความสำเร็จจากเงื่อนไขหลัก 3 ประการคือ ชัดเจน เชี่ยวชาญ และเชื่อมั่น ชัดเจน-คือการทำงานร่วมกับหน่วยรับงบประมาณแบบเชิงรุก สกพอ.ร่วมกำหนดทิศทางเป้าหมายของแผนงานบูรณาการชัดเจน เชี่ยวชาญ-ระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานที่เชี่ยวชาญแต่ละด้านมาสร้างงานร่วมกัน เชื่อมั่น-คือหน่วยงานที่เข้าร่วมทำงานร่วมกันอย่างเชื่อมั่นและร่วมงานกันต่อเนื่อง 

ผชช.พจณีชี้ว่า การขยับก้าวข้างหน้าต่อไปจะพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองอัจฉริยะ ซึ่ง สกพอ.พยากรณ์ว่าจะมีผู้อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน เมื่อสนามบินเสร็จจะมีผู้เดินทาง 70 ล้านคน ขนาดของธุรกิจก็จะใหญ่ขึ้น จากนี้ถึงปี 2570 จะมีเงินลงทุนใหม่ราว 3.7 ล้านล้านบาท เมื่อถึงปี 2580 จะมีมากกว่า 5 ล้านล้านบาท ต้องสร้างเมืองแห่งอนาคตรองรับตอบโจทย์ความต้องการที่อยู่อาศัยที่ดี มีเทคโนโลยี-สิ่งแวดล้อมที่ดี และเป็นเมือง Zero Carbon มีการจัดการสิ่งแวดล้อมดี

รอบรัศมี 30 กิโลเมตรจากมหานครการบิน จะมีการพัฒนาใหม่หลายพื้นที่ กลุ่มพัฒนาเมืองเดิมจะมีการปรับพัฒนาในหลายพื้นที่ เช่น Smart City กลุ่มฉะเชิงเทราเมืองน่าอยู่ แสนสุข Smart City ที่บางแสน นครระยอง เมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ ฯลฯ ส่วนกลุ่มเมืองพัฒนาใหม่จะมี EECh ศูนย์สถานีระบบรางที่ศรีราชา EECa เมืองการบินอู่ตะเภาระยอง EECd ดิจิตอลปาร์กชลบุรี EECi วังจันทร์วัลเลย์ระยอง ฯลฯ

ส่วนศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะ กำลังออกแบบวางแผนพัฒนาเป็น smart City ที่ให้สิทธิประโยชน์ มีการจัดการให้มีพื้นที่สีเขียวมากกว่าร้อยละ 30 เป็นเมืองคาร์บอนต่ำ มีความเป็นอัจฉริยะครบทั้ง 7 ด้านตามที่ DEPA วางไว้ ซึ่งศูนย์ธุรกิจ EEC และเมืองใหม่น่าอยู่อัจฉริยะนี้ ตั้งอยู่ที่บางละมุง พื้นที่ 15,000 ไร่ เริ่มพัฒนา 5,000 ไร่ อยู่ห่างจากสนามบินอู่ตะเภา 15 กิโล ห่างพัทยา 10 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพฯ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาพัฒนาประมาณ 10 ปี 2565-2575 รองรับผู้คนช่วงแรก 350,000 คน สร้างตำแหน่งงาน 2 แสนตำแหน่ง มูลค่าการลงทุน 1.34 ล้านล้านบาท สัดส่วนการลงทุนภาครัฐร้อยละ 2.8 รัฐร่วมกับเอกชนร้อยละ 9.7 เอกชนร้อยละ 87.5 เป้าหมายคือเป็นศูนย์สำนักงานใหญ่ของธุรกิจในภูมิภาคและศูนย์ราชการ ศูนย์กลางการเงิน ศูนย์กลางการแพทย์แม่นยำ ศูนย์ศึกษาวิจัยพัฒนานานาชาติ ศูนย์ธุรกิจอนาคต รวมทั้งที่อยู่อาศัย นี่เป็นส่วนหนึ่งของเหลียวหลังแลหน้า EEC จากการขยับขับเคลื่อนงานช่วง 5 ปีที่ผ่านมา.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .