การประชุมเอเปกที่ไทยเป็นเจ้าภาพที่เพิ่งจบลง การประชุมครั้งสำคัญนี้ผ่านไปได้ด้วยดี เป็นงานที่ประทับใจของผู้เข้าร่วมงานทุกฝ่ายและจากแขกทุกประเทศ แม้จะจัดขึ้นในช่วงของวิกฤตการณ์ความผันผวนขัดแย้งทางการเมืองอย่างซับซ้อนก็ตาม แต่ประเทศไทยก็ได้แสดงให้ชาวโลกเห็นถึงศักยภาพที่มากมายจากการจัดการประชุมเอเปกด้วยสันถวไมตรีและความสงบเรียบร้อย พร้อมกับข้อเสนอ BCG ต่อที่ประชุม ที่เป็นหมุดหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและดูแลสิ่งแวดล้อม หนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนร่วมกันกับประชาคมโลก ถือเป็นผลงานชั้นเลิศของรัฐบาลนี้อีกชิ้นนึงที่ต้องยกเครดิตให้
จากการประชุมเอเปก ก็หันมาสู่ประเด็นการเปลี่ยนผ่านผู้นำองค์กร EEC หรือเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ EEC ยุคบุกเบิกหมดวาระลง โดยส่งมอบงานไว้ตามที่โฆษกทำเนียบฯ ได้แถลงให้ทราบหลังการประชุมบอร์ดวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
“...นายกรัฐมนตรีแสดงความพอใจต่อผลสำเร็จของการดำเนินการโครงการ EEC ที่มีความก้าวหน้าอย่างมากและเป็นไปตามเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล ในการที่จะทำให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากรายได้ปานกลางและยกระดับความเป็นอยู่ให้ประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่ EEC มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของอีอีซี ในช่วง 4 ปีแรก (2561-2565) มีการเติบโตครบทุกมิติ เกิดผลประโยชน์ตรงถึงประชาชนทุกกลุ่ม ได้แก่
1) เกิดการอนุมัติงบลงทุนสูงถึง 1.8 ล้านล้านบาท เกินเป้าหมาย 1.7 ล้านล้านบาทใน 5 ปีที่เป็นแผนแรกของอีอีซี 2) สามารถดึงเทคโนโลยีใหม่ผ่านการลงทุน โดย 4 ปีที่ผ่านมา การอนุมัติการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 S-curve มีสัดส่วน 70% ของการส่งเสริมการลงทุนทั้งหมด และ 5 New S-Curve มีสัดส่วนการลงทุน 36% และเพิ่มขึ้นเป็น 49% ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 3) สร้างระบบการพัฒนาบุคลากรตามความต้องการของตลาด (Demand Driven) แก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่ทำงานกับนวัตกรรมใหม่ อบรมไปได้แล้ว 16,114 คน สิ้นปี 66 จะดำเนินการได้ 100,000 คน และ 4) ผลประโยชน์ตกถึงประชาชนและมีระบบดูแลอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย (1) ผลประโยชน์ทางตรง โครงสร้างพื้นฐานระดับโลก ระบบสาธารณสุขทันสมัย สาธารณูปโภค (น้ำ ไฟฟ้า ขยะ) ทันสมัยเพียงพอ มีโอกาสมีงานทำ รายได้ดี (2) การพัฒนาตรงถึงประชาชน พัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ยกระดับคุณภาพชีวิต บูรณาการการลงทุนในชุมชน ผ่านแผนเกษตร แผนพัฒนาเชิงพื้นที่ Neo Pattaya-บ้านฉาง-บ้านอำเภอ-มาบตาพุด-ระยอง (3) โครงการลงถึงระดับชุมชน เกิดการมีส่วนร่วมทั้งพลังสตรีดูแลสิ่งแวดล้อม อีอีซีสแควร์ บัณฑิตอาสา เยาวชนต้นแบบ โครงการต้นแบบสวนภาษาอังกฤษ และจีน หลักสูตรอีอีซีกับการบริหาร อปท. (4) โครงการสินเชื่อพ่อค้า-แม่ขาย และ SMEs หลังสถานการณ์โควิด กับ 9 สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (ปล่อยไปแล้ว 51,420 ราย เป็นสินเชื่อ 34,548 ล้านบาท)
นอกจากนี้ยังได้เปิดแนวทางงานใน 5 ปีข้างหน้าแบบก้าวกระโดด (2566-70) ด้านต่างๆ ได้แก่ (1) 5G ของไทยเร็วที่สุด ครอบคลุมมากที่สุดในอาเซียน นำหน้าประเทศอื่นๆ ราว 2 ปี ทำให้บริษัทชั้นนำด้านดิจิทัลมาลงทุนใน EEC อนาคตจะสร้างธุรกิจไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี (2) EV นโยบาย EV ของรัฐบาลไทยนำหน้าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนและเป็น Hub การผลิตของอาเซียนต่อไป ทำให้บริษัทรถยนต์ที่ตั้งใจจะผลิต EV เข้ามาลงทุนใน EEC รวมทั้งธุรกิจแบตเตอรี่ ระบบไฟฟ้า และชิ้นส่วนรถ EV (3) เทคโนโลยีการแพทย์ และ Wellness การที่ EEC ได้จัดระบบสาธารณสุขและการแพทย์ลงตัว โดยแบ่งงานกันทำทั้งในภาครัฐและเอกชน รวมทั้งการเปิดฉากการพัฒนาการแพทย์สมัยใหม่ทั้ง จีโนมิกส์ และ Digital Hospital ทำให้มีความสนใจการลงทุนทางการรักษาพยาบาลระดับสูง ระบบที่เชื่อมโยงดังกล่าวจะนำไปสู่เครือข่ายธุรกิจ Wellness ทั้ง รพ.ชั้นนำ เวชสำอาง ศูนย์พักฟื้น ธุรกิจโรงแรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และการแพทย์ อุตสาหกรรมยา อุปกรณ์การแพทย์ (4) ศูนย์นวัตกรรมสำคัญ เริ่มดำเนินการ ได้แก่ EECi เสร็จระยะแรก กำลังทำหน้าที่เป็นศูนย์วิจัย พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ เกษตร ดิจิทัล หุ่นยนต์ โดรน EV แบตเตอรี่ EECd ส่วน Digital Valley เปิดดำเนินการแล้ว และจะรับการลงทุน DATA Center แรกปลายปี 65 และ (5) โครงสร้างพื้นฐาน 4 โครงการหลัก เข้าสู่ช่วงการก่อสร้างปลายปีนี้ และจะแล้วเสร็จในปี 2568-2569 ซึ่งจะทำให้ EEC ก้าวเข้าสู่ระยะการขยายตัวที่สำคัญในปี 2569 เป็นต้นไป เป้าหมายของอีอีซีในช่วง 5 ปีต่อไป (2566-70) คือเป้าหมายการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท (2566-70) โดยจะมีเงินลงทุนประมาณปีละ 400,000-500,000 ล้านบาท และ EEC น่าจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ 7-9% ต่อปี ทำให้ประเทศไทยขยายตัวได้ประมาณ 5% ตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป...”
การสรรหาเปลี่ยนแปลง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษ ที่เป็นผู้นำ EEC ในช่วงนี้ (ช่วงที่การเมืองชุลมุนพอสมควร) โดยที่ EEC เป็นองค์กรสร้างความก้าวหน้าขับเคลื่อนผลประโยชน์ประเทศชาติเป็นสำคัญ การเข้ามาเป็นผู้นำในการบริหารจัดการ EEC จึงต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ประเทศตามทิศทางที่ EEC วางรากฐาน-สร้างผลงานไว้! หากมีการเมืองแทรกแซง-มีกลุ่มทุนเข้าครอบงำ EEC ที่กำลังสร้างความเติบโตก้าวหน้าให้แก่ประเทศ (ซึ่งวันนี้เป็นเสมือนเครื่องยนต์ที่เหลืออยู่เครื่องเดียว-ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของประเทศ) ก็น่าเป็นห่วงยิ่ง! เพราะองค์กรนี้อาจเผชิญการชี้นำ-แสวงประโยชน์จนพิกลพิการ-กลืนกลายเป็นกลไกแสวงประโยชน์ได้อย่างน่าวิตก! ถึงวันนี้แล้วคงต้องตามดูกันต่อไปว่า ใครจะเข้ามาเป็นผู้นำ-บริหารจัดการ ขับเคลื่อนองค์กรนี้ต่อไป!!!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง
ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า