อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า EV กับอนาคตเศรษฐกิจไทย

ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังมาแรง โดยล่าสุด ครม.มีมติสนับสนุนลดภาษี 1.5 แสนต่อคันให้รถยนต์ไฟฟ้า ทำให้ความต้องการรถไฟฟ้ามีสูงมากขึ้นแบบก้าวกระโดด จากรูปแบบการใช้งานและความสะดวก-ปลอดภัยจากเทคโนโลยีใหม่ จากการลดค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงต่อกิโลเมตร จากราคาความคุ้มค่า และการเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจแบบ BCG รวมถึงช่วยลดโลกร้อน-ที่ประเทศไทยร่วมในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก!

อย่างไรก็ดี การเปลี่ยนผ่านจากยานยนต์แบบเดิมสู่รถไฟฟ้า หรือ EV ของไทยในวันนี้มี 2 โหมดที่สำคัญคือ กลุ่มแรกเป็นกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าใหม่ ที่ประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่การเป็นฮับของรถยนต์ไฟฟ้า จากการลงทุนของยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนหลายกลุ่มด้วยกัน ทั้ง BYD MG GWM รวมทั้งจะมีการลงทุนโรงงานแบตเตอรี่ไฟฟ้าขนาดใหญ่ในอีกไม่นานนี้ด้วย

ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องแบตเตอรี่ ซึ่งวันนี้มีมูลค่าสูงถึงร้อยละ 50 ของราคารถทีเดียว! แต่เดิมนั้นไม่มีใครคิดว่าความต้องการรถไฟฟ้าจะสูงมากมาย-โลกมีความต้องการรถ EV ปีละ 22 ล้านคัน! แต่กำลังการผลิตและการตอบสนองในทุกองค์ประกอบการผลิต-ทำให้มีกำลังการผลิตสูงสุดราว 8 ล้านคันเท่านั้น!!!

แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้ามีความต้องการมากที่สุด ปัจจุบันเป็นกลุ่มแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนเช่นที่รถยนต์ Tesla ใช้อยู่ ซึ่งกรณีแร่ลิเทียมนั้นนับเป็นแร่ที่หายากของโลก กระบวนการผลิตก็ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม-กว่าจะได้ลิเธียม 1 ตัน ต้องใช้น้ำราว 2 ล้านลิตร-น้ำเสียที่ปล่อยทิ้งจากระบบการผลิตลิเทียมก็เต็มไปด้วยสารพิษ ทั้งบอแรกซ์ โปแตสเซียม แมงกานีส ทำลายแม่น้ำลำคลอง ใช้ดื่มกินไม่ได้ แถมราคาก็ผันแปรสูง-ระยะเวลา 8 เดือนที่ผ่านมา ราคาลิเทียมพุ่งสูงถึง 80,000 เหรียญฯ ต่อตัน-สูงขึ้นกว่า 800% ในระยะเวลาเพียง 8 เดือนเท่านั้น ทำให้แบตเตอรี่ราคาเพิ่มขึ้น 500% ภายในปีเดียว! นี่คือข้อจำกัดและอุปสรรคในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า! ทั้งยังมีการคาดกันว่าลิเธียมจะขาดแคลนอย่างมากนับแต่ปี 2026 หรือว่าอีก 4 ปีข้างหน้า!

องค์ประกอบการผลิตแบตเตอรี่ลิเธียมนั้น ไม่ได้ทำจากลิเทียมเพียงอย่างเดียว แต่เป็นส่วนประกอบเพียง 14 เปอร์เซ็นต์-ส่วนที่ขาดไม่ได้คือแร่นิกเกิลที่สูงถึง 74% ที่เหลือเนี่ยเป็นโคบอลต์และอลูมิเนียมประมาณ 13% แร่ลิเธียมมีสำรองมากที่สุดที่อินโดนีเซียประมาณ 21 ล้านตัน หรือว่าเป็น 23% หลายค่ายรถยนต์ไฟฟ้าหลายค่าย รวมทั้ง Tesla จึงมุ่งไปตั้งฐานการผลิตที่อินโดนีเซีย! เพราะหวังพึ่งแหล่งแร่ในการผลิตแบตเตอรี่

ภาพรวมของอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ผูกติดกับฉันทามติโลกเรื่องการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและการปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจ BCG มีผลให้ EU ประกาศว่า ปี 2035 หรืออีก 13 ปีจะยกเลิกการผลิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมัน! แต่ราคาแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้าที่พุ่งสูงขึ้น-ส่งผลให้ราคารถยนต์ไฟฟ้าต้องขึ้นราคาไปด้วย แม้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมจะเป็นแบตเตอรี่เทคโนโลยีเก่า-ที่ใช้มากว่า 50 ปี-ตั้งแต่ช่วงปี 1970 ที่มีการคิดค้นขึ้นมาเพื่อทดแทนการใช้น้ำมัน

กรณีนี้ทำให้มีการพัฒนาแบตเตอรี่รุ่นใหม่-เทคโนโลยีที่ต่างไปจากลิเธียม-เพื่อใช้แทนแบตเตอรี่ลิเธียม คือการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าของ CATL บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านแบตเตอรี่จากจีน ปัจจุบัน CATL มีส่วนแบ่งการตลาดแบตเตอรี่ 1 ใน 3 ของโลก เป็นแบตเตอรี่โซเดียมไอออนที่เปิดตัวไปเมื่อปี 64 มีข้อดีคือชาร์จเร็ว 80% ภายในระยะเวลาแค่ 15 นาที และปลอดภัยสูง ไม่ระเบิด เนื่องจากทำมาจากเกลือ

ส่วนการพัฒนานวัตกรรมด้านนี้ของนักวิจัยไทย ที่มองความมั่นคงของพลังงานไทยในส่วนของเทคโนโลยีเพื่อความมั่นคงของประเทศและการประยุกต์เชิงพาณิชย์ หรือว่า NSD ได้ทำการวิจัยและพัฒนาแบตเตอรี่จากวัสดุทางเลือก-แหล่งทรัพยากรไทย-ที่มีความปลอดภัยสูง โดยจัดตั้งและก่อสร้างโรงงานต้นแบบวิจัยแบตเตอรี่วัสดุทางเลือก-ความปลอดภัยสูงเพื่อความมั่นคงที่ EECi วังจันทร์ วัลเลย์-ระยอง ซึ่งร่วมวิจัยและพัฒนากับมหาวิทยาลัย 3 แห่ง เพื่อพัฒนาแบตเตอรี่ 3 ประเภท คือ แบตเตอรี่ไอออนร่วมกับจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย-แบตเตอรี่โซเดียมไอออนร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น-แบตเตอรี่โพแทสเซียมไอออนกับ VISTEC การวิจัยมีความก้าวหน้าได้ผลค่อนข้างน่าพอใจ-มีแบบต้นแบบออกมาทดลองใช้งานกันบ้างแล้ว

ทั้งยังมีการพัฒนาในแบบโซเดียมไอออนจากแร่หินเกลือ ที่ประเทศไทยมีวัตถุดิบมากมายมหาศาล มีการนำมาทดลองใช้ในรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบครั้งแรกในอาเซียนแล้ว สร้างความฮือฮาในวงการรถยนต์ EV และวงการแบตเตอรี่มากทีเดียว การสร้างสรรค์นี้เป็นองค์ประกอบให้ประเทศไทยสร้าง Eco System ในอุตสาหกรรมการผลิตแบตเตอรี่ที่สำคัญและใหญ่ที่สุดในเอเชียต่อไป!

อนาคตการปรับตัวสู่โครงสร้างเศรษฐกิจที่สร้างผลลัพธ์ที่มูลค่าและค่าสูงในกลุ่มอุตสาหกรรมนี้ จะเปิดประตูความก้าวหน้าครั้งใหญ่ที่ส่งผลรวมคืนกลับสู่ผู้คน-สังคมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าใหม่และอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ที่กำลังเร่งสร้าง-สนับสนุนคู่กันในวันนี้จะส่งผลลัพธ์ต่อผู้คน สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม อย่างมหาศาลไปด้วยกันจากวันนี้สู่อนาคต.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง

ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค

ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า