การปรับตัวในโลกใหม่ของการศึกษา

ช่วงที่ผ่านมามีการพบหารือกับหน่วยงานหลายคณะ ได้รับการเยี่ยมพบกับกรรมาธิการหลายชุด ทั้งคณะกรรมาธิการแรงงาน กรรมาธิการการอุดมศึกษา และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งอนุกรรมการหลายชุด ทั้งชุดปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา แรงงาน การลงทุน อุตสาหกรรม ฯลฯ รวมถึงภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาหลายกลุ่ม เป็นการพบปะหารือ-ประชุมในงานด้านการยกระดับทักษะความรู้ ให้การผลิตบุคลากรสามารถตอบโจทย์ความต้องการการลงทุนของประเทศในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นส่วนใหญ่

เรื่องที่หารือกันบ่อยๆ คือเรื่องการพัฒนา-การสร้างคนเข้าสู่ระบบงานยุคใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้ง 12 อุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐ และประเด็นการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตบุคลากรในระบบการศึกษาของไทย ทั้งระดับพื้นฐาน อาชีวะและอุดมศึกษา รวมทั้งประเด็นปัญหาอุปสรรค-แนวทางแก้ไขในงานการผลิตบุคลากรที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการที่แท้จริงในแบบของการศึกษาในโลกใบใหม่!

โดยสภาพพื้นฐานปัจจุบัน เราผ่านช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมจากเครื่องจักรไอน้ำสู่พลังงานไฟฟ้า เครื่องยนต์สันดาป และการปฏิวัติเครื่องจักรกลเพื่ออุตสาหกรรมมาแล้ว วันนี้เป็นช่วงของการที่ต้องเข้าสู่โหมดการเรียนรู้ใหม่ที่ประกอบด้วยการอ่าน การเขียน การคำนวณ การมีความคิดสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกัน-รวมกลุ่ม การเขียนโค้ด ที่ต้องพัฒนาทักษะตนเองโดยอาศัยการเรียนรู้ตลอดชีวิต ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสร้างความอยู่รอดในการแข่งขัน-ทำให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่ทั้งผู้คนและรัฐบาลต้องเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้าได้เลย!

ในโลกของความเป็นจริง ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไม่ได้นำไปสู่การว่างงาน! แต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีจะเพิ่มความต้องการใหม่ๆ ที่ทำให้เกิดการจ้างงานใหม่ขึ้น หากวัฏจักรของเศรษฐกิจทั้งระบบดำเนินไปได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของการงาน ทักษะความรู้ สิ่งแวดล้อมของการเรียนรู้ และระบบการจัดการความรู้ในวันนี้เปลี่ยนไปมาก การพัฒนาบุคลากร-การศึกษาจึงจำเป็นต้องปรับตัว-กลับหัวกลับหางใหม่ที่ไม่ใช้แนวคิด-แนวทางเดิมอีกต่อไป!

การพัฒนาบุคลากร-การศึกษาวันนี้ ต้องเร่งสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการเป็นสำคัญ วันนี้ภาคการผลิต-บริการ-การประกอบการโดยรวมกำลังปรับตัวสู่โลกดิจิตอลในคลื่นการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ที่สะดวก-รวดเร็ว-ประหยัดต้นทุน-คุณภาพดี-ราคาถูก การปรับตัวนี้ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่! ระบบการผลิตและบริการในโลกดิจิตอลและการสื่อสารใหม่จะช่วยให้อยู่รอด-เติบโตไปต่อได้ ซึ่งมันหมายถึงการศึกษา-การพัฒนาความรู้ทักษะต้องตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการ-อุตสาหกรรม-และผู้ให้บริการยุคใหม่ ที่การผลิตบุคลากร-การศึกษาแบบเดิมไม่สามารถตอบโจทย์เศรษฐกิจในโลกใบใหม่ได้อีกต่อไป!

การพัฒนาบุคลากร-การศึกษาต้องปรับมาสู่การยึดความต้องการตามระบบการงานยุคใหม่ในโครงสร้างงานและสิ่งแวดล้อมใหม่ ที่ไม่ยึดสถาบันการศึกษาเป็นศูนย์กลางต่อไป! แต่เป็นการศึกษา-การฝึกอบรมความรู้-ทักษะตามความต้องการของการงานเป็นสำคัญ โดยนำเอาทักษะ-ความรู้จากแหล่งงาน มากำหนดสร้างการเรียนรู้-ทักษะให้เกิดขึ้นตามที่สถานประกอบการและอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องการ และจัดการศึกษา-การฝึกอบรมให้ตรงความต้องการจริงในการทำงานแต่ละสาขาอาชีพ

สำนักการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาของ สกพอ. (EEC HDC) ได้ออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ที่มุ่งประสานเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคผู้ประกอบการ-อุตสาหกรรมกับสถาบันการศึกษาให้มีการเชื่อมประสานกัน-สร้างความร่วมมือการพัฒนาหลักสูตร-การจัดการศึกษาทั้งระบบ-และการฝึกอบรมระยะสั้นร่วมกัน มุ่งให้การผลิตบุคลากรเป็นไปอย่างแม่นตรง ตรงตามความต้องการของการงานและการประกอบการ หรือแม้การที่จะไปเป็นผู้ประกอบการเองในสาขาการผลิตและบริการต่างๆ ซึ่งวันนี้โครงสร้างเศรษฐกิจโดยรวมกำลังเคลื่อนสู่โลกใบใหม่ที่เรียกรวมว่า โลกยุคอุตสาหกรรม 4.0!

ปัญหาการผลิตบุคลากรและการศึกษาในทิศทางนี้ที่เผชิญอยู่คือ ส่วนแรก ต้องเร่งช่วยกันปรับวิธีคิด มุมมอง-มายด์เซต และวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร ครู อาจารย์ ในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและในสถานศึกษา ที่จะนำสู่การจัดการ-การสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ให้การศึกษาทั้งระบบ ส่วนที่ 2 ต้องมีการปรับระบบระเบียบการบริหารจัดการ รวมทั้งพัฒนาระบบงบประมาณใหม่ ที่ต้องปรับทั้งวิธีคิด-การจัดการ-จนถึงการติดตามประเมินผล ให้สอดคล้องกับระบบการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรใหม่ ที่พึงได้ทั้งด้านคุณภาพ ปริมาณ และพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง

ที่ผ่านมาภาพรวมของการศึกษาและการพัฒนาคนตามคลื่นความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีหน่วยงานที่ไปได้ไกลคือ กระทรวงการอุดมศึกษา ซึ่งมีความหนักแน่นชัดเจน-ปรับระบบระเบียบรับการพัฒนาบุคลากรและการศึกษาใหม่-ตอบโจทย์ความก้าวหน้าไปมากทีเดียว ส่วนที่ต้องเร่งปรับให้มากขึ้นคือ กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงแรงงาน ที่เชื่อมโยงอย่างมีนัยสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรและการสร้างความก้าวหน้าใหม่ หากไม่สามารถปรับสู่โลกใบใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ วิธีคิด และการปฏิบัติใหม่ได้ ก็จะกลายเป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าในกระแสการเปลี่ยนแปลงในโลกใบใหม่วันนี้ไปโดยปริยาย!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .