การทบทวนยุทธศาสตร์ชาติ

วันที่ 13 ตุลาคม 2565 นี้ พระราชโองการยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ.2561- 2580) หรือที่เรียกกันว่า ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี จะมีอายุครบ 4 ปี และย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ต้องทำการทบทวนทุก 5 ปี (จริงๆ แล้วถ้าสถานการณ์โลกหรือของประเทศเปลี่ยนแปลงมากจนเกิดความไม่เหมาะสมที่จะดำเนินการ ก็สามารถแก้ไขก่อนครบกำหนดห้าปีได้) แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงสิ่งที่ควรปรับปรุง เราลองมาทบทวนความเป็นมาและเนื้อหาของยุทธศาสตร์ชาติกันสักเล็กน้อย

​​รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้เขียนไว้ในมาตรา 65 ว่า “รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ...” ต่อมาสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่ทำหน้าที่รัฐสภาก็ได้ผ่านพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2560 ควบคู่กับพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ.2560

ในกฎหมายฉบับแรก ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นกรรมการและเลขานุการ หลังจากนั้นได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติขึ้นรวม 6 คณะ เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านต่างๆ ซึ่งหลังจากดำเนินการและผ่านขั้นตอนตามที่กฎหมายกำหนด ได้มีการประกาศใช้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อ 13 ตุลาคม 2561 โดยมีวิสัยทัศน์หลัก คือ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เนื้อหาสำคัญๆ แบ่งออกเป็น 

1.ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง เนื้อหามุ่งให้ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข 

2.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน เนื้อหาเน้นการ ต่อยอดอดีต ปรับปัจจุบันและสร้างคุณค่าใหม่ในอนาคต 

3.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เนื้อหาเกี่ยวกับการพยายามทำให้คนไทยเป็นคนดี คนเก่ง สำหรับวิถีชีวิตในศตวรรษที่ 21 

4.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เนื้อหากล่าวถึงการสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในทุกมิติ

5.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื้อหามุ่งการเติบโตที่สมดุลและยั่งยืน 

 6.ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุล และพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ เนื้อหาเน้นการพัฒนาระบบราชการให้ทันสมัย โปร่งใส เป็นภาครัฐของประชาชน เพื่อประชาชน และประโยชน์ส่วนรวม

ยุทธศาสตร์ชาติคือ กรอบการพัฒนาระยะยาว เพื่อให้ประเทศบรรลุวิสัยทัศน์ ที่ตั้งเป้าหมายเอาไว้ ถือเป็นแผนระดับหนึ่งสูงสุดของประเทศ แผนระดับสองรองลงมา ได้แก่ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

ส่วนแผนของกระทรวง กรม จังหวัด ฯลฯ ถือเป็นแผนระดับสาม โดยแผนทุกระดับต้องมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แผนระดับสองและสามล้วนต้องตอบโจทย์หรือเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติทั้งสิ้น 

โดยเหตุที่ยุทธศาสตร์ชาติมีสถานะเป็นตัวบทกฎหมาย มีสภาพบังคับและมีบทลงโทษ หากรัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐไม่ปฏิบัติตาม จึงทำให้เมื่อเริ่มประกาศใช้ยุทธศาสตร์ชาติฉบับนี้ เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากพอสมควร โดยเฉพาะจากฝ่ายการเมืองตรงข้ามรัฐบาล 

เราคงไม่มาโต้แย้งเหตุผลว่า ควรมีการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาวสำหรับประเทศหรือไม่ แต่จะขอกล่าวถึงสิ่งที่ควรพิจารณาทบทวนเมื่อเข้าระยะปีที่ห้า ตามที่กฎหมายกำหนด 

1.คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ควรถือโอกาสจัดให้มีเวทีการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะฝ่ายเอกชน ฝ่ายประชาชน รวมทั้งตัวแทนพรรคการเมืองทั้งหลาย อันอาจนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาให้ดีกว่าเดิม เกิดความรู้สึกของการมีส่วนร่วมหรือความเป็นเจ้าของร่วมมากกว่าเดิม

2.ควรแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความหลากหลายทั้งความเชี่ยวชาญ อาชีพ อายุ มาร่วมกันทบทวนเนื้อหาสาระของยุทธศาสตร์ชาติเสียใหม่ตามที่กฎหมายได้ให้โอกาสไว้

3.ควรพิจารณาว่ายุทธศาสตร์ชาติฉบับปัจจุบันมีประเด็นยุทธศาสตร์มากเกินไปหรือไม่ เป้าหมายชัดเจนและเป็นสาระสำคัญ (relevant) มากน้อยเพียงใด ควรตัดทอนให้สั้นลง น้อยประเด็นลง แต่มีผลกระทบ (impact) ต่อประเทศมากขึ้น

4.ควรพิจารณาอย่างจริงจังว่า ในห้วงระยะเวลา 4-5 ปี ที่ผ่านไป สถานการณ์ของโลกและของประเทศเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยแค่ไหน ทิศทางยุทธศาสตร์ของประเทศควรปรับเปลี่ยนเตรียมตัวรับสถานการณ์ในอีกแต่ละห้วง 5 ปีข้างหน้าอย่างไร 

โดย พงศ์โพยม วาศภูติ กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

“ศาสนกิจในอินเดีย .. ณ นครปูเน่” น้อมถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๗๒ พรรษา ๒๘ ก.ค.๖๗ ในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ระหว่างวันที่ ๑๒-๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ได้เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่ นครปูเน่ รัฐมหาราษฏระ อินเดีย เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการสร้างวัดแห่งแรกของชาวพุทธในอินเดีย

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๗)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. พระพุทธเจ้าได้ตรัส หลักการปกครองตามแบบธัมมิกสูตร ว่า..

ดร.มานะ-ว่าที่ สว. 2567 ความเป็นอิสระไม่มีอยู่จริง เรื่องใบสั่งก็คงมีบ้าง ไม่มีบ้าง

หนึ่งในผู้ผ่านการคัดเลือก 200 รายชื่อให้เตรียมเข้าไปทำหน้าที่ "สมาชิกวุฒิสภา" (สว.) ชุดใหม่ ที่น่าสนใจ ก็คือ "ดร.มานะ มหาสุวีระชัย อดีต สส.ศรีษะเกษ" ที่เคยสังกัดพรรคพลังธรรมและพรรคประชาธิปัตย์ตามลำดับ

บทธรรมถวายเป็นพระราชกุศล .. ในมหามงคลครบ ๖ รอบ “ราชธรรม .. สู่การเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย” (ตอนที่ ๖)

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ได้เขียนคำกล่าวสอนใจไว้บทหนึ่งว่า.. ถึงมีอำนาจ วาสนา สักปานไหน