10 ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ 'อีอีซี' มุ่งสร้างอนาคตใหม่

เวลาที่เราเสวนาถึง “การศึกษา&การพัฒนาบุคลากร” ที่มีนัยของมิติของการพัฒนาความรู้-ทักษะ-การเติมเต็มคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ (ไม่ใช่มิติการใช้การศึกษาทำมาหากิน หรือการจัดการเรียน-การสอนที่มีเกลื่อนทั่วไป) คงต้องเข้าใจถึงโลกแวดล้อมที่เปลี่ยนไปทั้งในแง่ความรู้-ทักษะตามความต้องการจริงของงาน ความก้าวหน้าที่เปลี่ยนไปของเทคโนโลยี-การจัดการทักษะในการงาน และการจัดการการเรียนรู้ที่จะนำสู่เป้าหมายที่จะสร้างคุณภาพผู้คน-ที่เป็นผลผลิตของการศึกษา-การฝึกอบรมต่างๆ อย่างสำนึกรับผิดชอบต่อการสร้างความก้าวหน้าในภาพรวม และการที่จะส่งให้แต่ละคนเป็นพลังการขับเคลื่อนตัวเอง-ขับเคลื่อนสังคมเศรษฐกิจด้วยคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น!

สังคม-เศรษฐกิจ เทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ยุคศตวรรษที่ 21 นั้น เป็นสังคมที่เปิดกว้างสำหรับการเรียนรู้ในแบบที่ไร้พรมแดน-ข้ามขีดจำกัดของกาลเวลา การจับปรับสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา-สร้างคน-การบริหารและพัฒนาการศึกษา ต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลงให้เท่าทันโลก! สามารถตอบโจทย์ความต้องการจริง-ทำงานได้จริง-มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองในการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง อยู่ในระบบการเรียนรู้แบบเปิดกว้าง-ไร้พรมแดน-ไร้ขีดจำกัด โดยที่ไม่ต้องเสียเวลา-เสียเงินเสียทองที่จะขวนขวายหาความรู้ เหมือนในโลกยุคก่อนอีกต่อไป!

การศึกษาและการพัฒนาบุคลากรใน EEC มีเป้าหมายชัดในการมุ่งตอบสนองการสร้างเศรษฐกิจใหม่-การขับเคลื่อนความก้าวหน้าใหม่ให้กับประเทศ บนฐาน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยตระหนักถึงความสำคัญในการสนับสนุน-กระตุ้นให้มีการพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ยุคใหม่ร่วมกับหน่วยงาน-สถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดมา เน้นให้การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาผลิตคนที่มีคุณภาพ มีทักษะตรงตามความต้องการของงานที่เป็นจริง สามารถต่อยอดขับเคลื่อนตัวเองในระบบงานที่จะสร้างความก้าวหน้าในแบบการศึกษาตลอดชีพ มีการส่งเสริมจัดปรับการจัดการศึกษาให้มีระบบเครดิตแบงก์ มีหลักสูตรแบบโมดูล มีการฝึกอบรมเสริมทักษะระยะสั้นร่วมกับภาคอุตสาหกรรมกลุ่มต่างๆ ใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นพลังขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าใหม่อยู่ทุกวันนี้!

EEC ใช้การศึกษา-การพัฒนาบุคลากรและการสนับสนุนสิ่งแวดล้อมที่สร้างการเรียนรู้ทักษะบุคลากรยุคใหม่หนุนนำการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมเก่า-สู่อุตสาหกรรมใหม่ โดย EEC HDC สร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาในพื้นที่ จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ยุคใหม่แต่ละสาขาขึ้นเพื่อใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถาบันต่างๆ และร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมผลิตบุคลากร-หนุนเสริมให้อุตสาหกรรมปรับตัวก้าวสู่อุตสาหกรรม 4.0 ไป

ปัจจุบันศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ยุคใหม่ของ EEC สาขาต่างๆ หรือที่เรียกย่อๆ ว่าศูนย์ EEC Net มีทั้งหมด 10 ศูนย์ จัดตั้งขึ้นด้วยงบบูรณาการ กลุ่มแรกตั้งขึ้นมาราวกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ศูนย์แรกคือ ศูนย์ EEC Automation Park ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ตั้งขึ้นจากความร่วมมือกับกลุ่มมิตซูบิชิ อิเลคทริค มีภาระบทบาทในการพัฒนาบุคลากรยุคใหม่-ช่วยปรับสร้างโรงงาน-พัฒนาระบบการผลิตให้ภาคอุตสาหกรรม สอง ศูนย์พัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง หรือ ENTOUR ตั้งขึ้นที่คณะบริหารฯ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อพัฒนาบุคลากรในการท่องเที่ยวสมัยใหม่ และยกระดับคุณภาพการท่องเที่ยว สาม ร่วมมือกับคณะพาณิชย์นาวี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา EEC HDC จัดตั้งศูนย์พาณิชย์นาวี (ENMATE) เป็นศูนย์พาณิชย์นาวีที่ทันสมัยก้าวหน้าที่สุด มุ่งพัฒนาบุคลากรและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีแบบครบวงจร สี่ ศูนย์พัฒนาระบบราง (ENRAIL) มีอยู่ 2 ที่ คือที่มหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญบุรี และ วิทยาลัยเทคนิค ชลบุรี ทั้ง 2 ศูนย์มีภารกิจที่ร่วมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมระบบราง-ผลิตสร้างบุคลากรด้านระบบราง-สนับสนุนการพัฒนาความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมระบบราง ห้า ศูนย์พัฒนาโลจิสติกส์ (ENLOC) มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก มุ่งสนับสนุนเสริมสร้างระบบโลจิสติกส์-ช่วยยกระดับระบบโลจิสติกส์ให้ภาคอุตสาหกรรมทั้งระบบ หก ศูนย์ช่างสาขาขาดแคลน-ช่างเชื่อม เป็นศูนย์ที่เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือกับ มจพ.ระยอง เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนกลุ่มช่างเชื่อมที่เป็นพื้นฐานสำคัญในการก่อร่างสร้างตัวของทุกอุตสาหกรรม เจ็ด ศูนย์การแพทย์ medical Hub ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พัทยา ที่มีภารกิจในการปรับปรุงคุณภาพ-สร้างความก้าวหน้าใหม่ทางการแพทย์ ในการดูแลรักษาและการให้บริการทางการแพทย์ในรูปแบบแพทย์ดิจิทัล และได้จัดสร้างโรงพยาบาลดิจิทัลเพื่อพัฒนาการแพทย์ยุคใหม่

อีก 3 ศูนย์เป็นศูนย์เกิดใหม่ ได้แก่ แปด ศูนย์เชี่ยวชาญ EV conversion (EV con) ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า มหาวิทยาลัยบูรพา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า กับกระทรวงอุดมศึกษา และประสานกับกลุ่มเอกชนที่สนใจด้านรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง เก้า ศูนย์แมคคาทรอนิก (ENMEC) สำนักวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคลตะวันออก มีบทบาทในการพัฒนาบุคลากรด้านหุ่นยนต์ แมคคาทรอนิก และระบบอุตสาหกรรมใหม่ สิบ ศูนย์พัฒนาบุคลากรกลุ่มอากาศยาน ที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เพื่อขับเคลื่อนผลิตสร้างบุคลากร ช่างอากาศยาน-บุคลากรด้านการผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน

ทั้ง 10 ศูนย์เป็นการขับเคลื่อนงานพัฒนาบุคลากร EEC ที่ EEC HDC สร้างสรรค์พัฒนาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา-หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดปรับสิ่งแวดล้อมให้หนุนนำการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรตอบโจทย์ความต้องการจริงของการงานและความก้าวหน้าใหม่ ให้มีศักยภาพที่เท่าทันกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้ทุกอุตสาหกรรมเป้าหมาย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัด บ้านใหญ่ รอเข้าวิน พท.กวาดเยอะ-พรรคส้ม เสี่ยงร่วง

ยิ่งใกล้ถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือนายก อบจ. พบว่าการหาเสียงของผู้สมัครนายก อบจ.ทั้งที่ลงในนามพรรคการเมือง และไม่ได้ลงในนามพรรค

ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน

ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล

ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า