รถไฟไทยวันนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป มีการพัฒนาเร่งปรับตัว-ปรับระบบ-ปรับบริการ และขยายขีดความสามารถให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในวันนี้อย่างต่อเนื่อง โลกวันนี้ระบบรางพัฒนาขึ้นเป็นระบบคมนาคมและโลจิสติกส์ที่สำคัญ มีต้นทุนที่เสริมสร้างศักยภาพการแข่งขัน-สร้างเศรษฐกิจยุคใหม่ได้ไม่แพ้การคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ในแบบอื่นๆ ซึ่งระบบรางของไทยก็กำลังปรับตัวสร้างความก้าวหน้าใหม่อย่างมุ่งมั่นเช่นกัน!
ถ้าย้อนหลังกลับไปดูจะพบว่า เรามีรถไฟทั้งแรงตั้งแต่สมัยพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 มีการสร้างทางรถไฟสยามจากกรุงเทพฯถึงโคราชตั้งแต่ 1 มีนาคม รศ. 109 หรือพ.ศ 2433 ต่อจากนั้นการรถไฟก็ค่อย ๆ ขยายไปยังภูมิภาคเหนือ กลาง อีสาน ออก ตก ของประเทศต่อมาอย่างช้า ๆ ในช่วงเริ่มแรกก็ใช้หัวรถจักรไอน้ำลากจูงขบวน ต่อมาก็ใช้รถจักดีเซล และมีช่วงสะดุดหยุดพัฒนาไปนานทีเดียวในช่วงที่การรถไฟบริหารจัดการระบบราง
เมื่อสิ้นสุดรัชสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เส้นทางรถไฟเชื่อมโยงขยายตัวใน 5 ทิศทางทั้งสายเหนือกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยาว 752.077 กิโลเมตร
สายใต้ สถานีธนบุรี-สุไหงโกลก นราธิวาส ยาว 1,144.140 กิโลเมตร/ แยกสถานีปาดังเบซาร์ยาว 43.502 กิโลเมตร/ แยกสถานีสุพรรณบุรียาว 78.090 กิโลเมตร/ แยกคีรีรัตน์นิคมความยาว 31.250 กิโลเมตรแยกกันตังความยาว 92.802 กมและแยกนครศรีธรรมราช ยาว 35.081 กิโลเมตร
สายอีสาน กรุงเทพฯ - อุบลราชธานี 575 กิโลเมตรกรุงเทพฯ - หนองคาย 627.5 กิโลเมตร
สายตะวันตก กรุงเทพฯ-ชุมทางหนองปลาดุก สถานีน้ำตกจังหวัดกาญจนบุรียาว 130.989 กิโลเมตร
สายภาคกลางและตะวันออก กรุงเทพ-สถานีอรัญประเทศจังหวัดสระแก้วยาว 260.449 กิโลเมตร สถานีคลอง 19 ชุมทาง แก่งคอย ยาว 81.358 กิโลเมตร ชุมทางเขาชีจรรย์-มาบตาพุดยาว 24.070 กิโลเมตร
สำหรับการตื่นตัวและพัฒนาระบบรางในปัจจุบันของไทยเรา กระทรวงคมนาคมได้จัดตั้ง กรมการขนส่งทางรางขึ้นเมื่อเดือน มีนาคม 2562 และมีการพัฒนาอุตสาหกรรมทางรางทั้งระบบเดิมและระบบรถไฟความเร็วปานกลาง ความเร็วสูง และดูและปรับปรุงระบบรางเดิม ๆ ที่ดำเนินการอยู่ พร้อมทั้งขยายงานบริหารจัดการระบบโลจิสติกทางรางขึ้นอย่างต่อเนื่อง ได้ตั้งสถาบันรางพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีระบบรางและจนถึงการพัฒนาบุคลากรทั้งในส่วนที่เป็นกลุ่มสาขาขาดแคลน และพัฒนายกระดับระบบเดิมขึ้นมาในการบริหารระบบรางไทยยุคใหม่ในวันนี้ด้วย
มีการจัดทำแผนและปฏิบัติการที่มุ่งพัฒนาความก้าวหน้าของระบบรางสู่การคมนาคมที่ยั่งยืน ได้บรรจุไว้ในแผนในยุทธศาสตร์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ที่มุ่งผลักดันให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายรถไฟอย่างจริงจัง ช่วงที่ คสช. ขับเคลื่อนการบริหารประเทศ ได้มีมติเห็นชอบหลักการและยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมขนส่ง ปี พ.ศ. 2558-2565 โดยเห็นชอบให้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานรถไฟทางคู่ในเส้นทางรถไฟเดิม ในช่วงที่มีปัญหาการเดินรถ 6 เส้นทาง และให้ปรับสร้างมาตรฐานใหม่สำหรับการสร้างรถไฟทางคู่ขนาด 1.435 เมตรจำนวน 2 เส้นทาง เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าใหม่-ให้เร่งพัฒนาโครงข่ายระบบราง-ระบบรถไฟ ให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าใหม่-เป็นไปตามนโยบายของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีวงเล็บ 2560 - 2579 และให้ขยายโครงข่ายรถไฟสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ การท่องเที่ยว และการพัฒนาพื้นที่ โดยให้มีโครงข่ายทางรถไฟครอบคลุมการพัฒนาทั่วประเทศ สอดรับกับการพัฒนายุคใหม่และความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และการเชื่อมต่อกับทุกภูมิภาคที่สำคัญ
กระทรวงคมนาคมได้เร่งปรับปรุงมาตรฐานระบบรถไฟ-การพัฒนารถไฟ ตั้งสถาบันรางขึ้นสนับสนุนการพัฒนาบุคลากร โดยมีแผนการลงทุนที่สำคัญคือการก่อสร้างรถไฟทางคู่ 14 เส้นทาง ระยะทางรวม 2,500 กิโลเมตร และได้พัฒนาขยายเส้นทางเชื่อมภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตกให้เชื่อมต่อและขยายเส้นทางต่อเชื่อมกันมากขึ้น
ส่วนที่ 2 ได้เดินหน้าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร 2 เส้นทางคือเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี กับเส้นทางที่จะไปเชื่อมต่อกับเส้นทางที่จีนสร้างลงมาถึง สปป.ลาว
ส่วนที่ 3 มีโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟสายใหม่ในแนวระเบียงเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ เช่นช่วงกาญจนบุรี – กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ ช่วงกาญจนบุรี – กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
รวมการพัฒนาระบบรางของรถไฟยุคใหม่นี้ทั้งหมดรวมทั้งสิ้นราว 4,000 กว่ากิโลเมตร ที่มีการประสานเทคโนโลยีจากทั้ง ญี่ปุ่น ยุโรป และจีน ซึ่งจะสร้างเชื่อมต่อกับทุกภาคของประเทศและเชื่อมภูมิภาคของประเทศเพื่อนบ้านด้วยในขณะเดียวกัน ก้าวใหม่ของรถไฟไทยวันนี้จึงเป็นก้าวกระโดดที่มุ่งสร้างประเทศ-สร้างศักยภาพการแข่งขัน ในช่วงเวลาที่ประเทศต้องเร่งสร้างความก้าวหน้า-เปลี่ยนแปลงให้เท่าทันกับโลกแวดล้อมที่กำลังปรับตัวเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในทุกวันนี้ .
โลกใบใหม่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .