จากสุวรรณภูมิ.. สู่แคว้นคันธาระ (ปากีสถาน).... (ตอนที่ ๑๑) พรรษาประวัติศาสตร์ (ปี ๒๕๖๕) .. ณ นครตักกศิลา

  • สู่     .. ร่องรอยอารยธรรมพุทธศาสนา ในอาณาจักรกุษาณะ (เปศวาร์/ปุรุษปุระ)

 

               ..ร่องรอยแห่งความเจ็บปวดแสนสาหัส..

               กำลังคืนกลับ ผลิเป็นดอกผลบานสะพรั่ง

               เพื่อส่งคืนกลับแก่เจ้าของผู้กระทำ..

               ผู้ร่วมกระทำ .. ผู้ยินดีในการกระทำ

               ภายใต้ กฎแห่งกรรม.. อำนาจแห่งธรรม..

                                             บันทึกบนเส้นทาง Khyber journey

                                                            อารยวังโส ภิกขุ

                                                                           ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕

 

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... จากที่ได้กล่าวมาในตอนที่แล้ว... เมื่อได้ติดตามศึกษาเส้นทางของหลวงจีนฟาเหียนหรือพระภิกษุฟาเหียน ที่ออกจากเมืองจีน จาริกไปเพื่อแสวงหาคัมภีร์พระไตรปิฎกในชมพูทวีป (อินเดีย-ปากีสถาน) ในระหว่าง พ.ศ.๙๔๒-๙๕๗ รวม ๑๕ ปี ดังบันทึกในหนังสือจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักร.. จึงได้ทราบเรื่องราวอีกหลายประการที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงไปสู่สมัยพุทธกาล อันควรนำมาพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเป็นการบันทึกจากการเผชิญกับเรื่องราวต่างๆ ด้วยตนเองในพื้นที่ร่องรอยอารยธรรมทางพุทธศาสนา.. สมัยคันธาระอย่างแท้จริง ดังปรากฏเรื่องราวในตอนนี้ เมื่อหลวงจีนฟาเหียนพร้อมเพื่อนภิกษุจีนเดินทางบรรลุถึงราชธานีปุรุษปุระ แห่งอาณาจักรกุษาณะ ที่พุทธศาสนารุ่งเรืองที่สุดในฝ่ายเหนือของชมพูทวีป.. หลังจากสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชผ่านไปแล้ว.. โดยมีผู้รู้ได้แบ่งห้วงเวลาของพุทธศาสนาภายหลังพุทธปรินิพพานไว้ ๔ ระยะ ได้แก่

               ระยะที่ ๑ ระหว่าง พ.ศ.๑๐๐–พ.ศ.๔๐๐ (หินยานแปลงรูป)

               ระยะที่ ๒ ระหว่าง พ.ศ.๔๐๐–พ.ศ.๗๐๐ (มหายานตอนต้น)

               ระยะที่ ๓ ระหว่าง พ.ศ.๗๐๐–พ.ศ.๑๒๐๐ (มหายานตอนกลาง)

               ระยะที่ ๔ ระหว่าง พ.ศ.๑๒๐๐–พ.ศ.๑๗๐๐ (มหายานตอนปลาย สู่ความสูญสลายของพุทธศาสนาในชมพูทวีป)

               จากห้วงเวลาทั้ง ๔ ระยะ จะเห็นได้ถึงความเปลี่ยนแปลงผันแปรของพระพุทธศาสนาที่ดำเนินไปโดยพุทธบริษัทสี่.. ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เพื่อการส่งสืบต่อพระพุทธศาสนาไปตามทัศนะ.. ทิฏฐิ.. แห่งตนและหมู่คณะ จนถึงที่สุดแห่งความสูญสลาย อันแสดงความเป็นปกติของความจริง ที่ว่า... “สัพเพ สังขารา อนิจจัง สัพเพ ธัมมา อนัตตาติ!”

สำหรับการปรับตัวเปลี่ยนแปลงของพุทธศาสนาที่แบ่งเป็นนิกายต่างๆ มากถึง ๑๘ นิกาย ย่อมสะท้อนให้เห็นความเป็นจริงของความล้มเหลวในการปรับเปลี่ยนตัวเอง (พุทธศาสนาในความเป็นคณะและนิกาย) ไปตามสภาวะความกดดันที่เกิดจากทั้งภายนอกและภายใน.. กระทำต่อพุทธศาสนาในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะความกดดันจากปัญหาภายใน.. ที่สรุปให้เห็นได้จริงตามลักษณะที่ปรากฏว่า...

มี ๒ คณะใหญ่ ที่แตกย่อยไปสู่ความเป็นนิกายย่อยๆ ถึง ๑๘ นิกาย ที่ทำให้เห็นถึงความล้มเหลวในการปรับเปลี่ยนตนเอง (พุทธศาสนาในความเป็นคณะและนิกาย) ไปตามสภาวะสังคมที่ส่งพลังกดดัน.. กระทำต่อพุทธศาสนาในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะความกดดันจากปัญหาภายใน..

จึงควรอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายในองค์กรพุทธศาสนา จะได้พิจารณา ทบทวน ตรวจสอบ ศึกษา ค้นหาความจริงดังกล่าว ว่า... “เหตุปัจจัยอันใดหนอ.. ที่ทำให้พุทธศาสนาสูญสิ้นไปจากชมพูทวีป.. แผ่นดินเกิดพระพุทธศาสนา...!!”

..บนร่องรอยเส้นทางของหลวงจีนฟาเหียนที่ถูกบันทึกไว้ว่า.. เป็นการเดินทางเผชิญสืบเรื่องราวความเป็นจริงต่างๆ ดังที่ปรากฏในบันทึกของหลวงจีน.. ซึ่งนับว่ามีคุณประโยชน์ยิ่ง... แต่เมื่อมาผสมผสานกับความคิดเห็นของตนเองและคณะ.. ในความเป็น พุทธปฏิรูป.. จึงควรระวังต่อการเสพข้อมูล ด้วยได้เห็นปรากฏการณ์จากเรื่องราวต่างๆ ที่ออกจะผิดเพี้ยนไปจาก สัจธรรม ที่เป็น อริยสัจธรรม ๔ อันเป็นแก่นธรรมสาระความรู้แท้จริงของความเป็นพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และประกาศหรือแสดงไว้ดีแล้ว ซึ่งสามารถนำสืบค้นหาความเป็น สัจธรรม แท้จริงได้อย่างชัดเจน.. ตรงตามหลักการ อุดมการณ์ และข้อปฏิบัติในพระพุทธศาสนา.. ที่มีแบบแผนตรงตามพระสัทธรรมดั้งเดิม ไม่ใช่ สัจธรรมปฏิรูป ที่เกิดขึ้นมาในภายหลังจากคณาจารย์ต่างๆ

ดังนั้น จึงควรพิจารณาตรวจตราให้ละเอียดในเรื่องราว.. ความคิดเห็นที่ถูกผูกขึ้นมานำเสนอ โดยเฉพาะการอ้างหลักธรรมคำสั่งสอนหรือลักษณะธรรมในวิถีพุทธศาสนา ดังปรากฏในบันทึกจดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรที่มีความโน้มเอียงไปทาง เทวนิยม ผู้ศึกษาจึงควรระมัดระวัง ควรรู้จัก “โยนิโสมนสิการ” ในทุกๆ เรื่อง.. และพึงคำนึงถึง หลักกาลามสูตร ที่พระพุทธเจ้าประทานให้ไว้ว่า... “อย่าเพิ่งเชื่อในสิ่งนั้นๆ... ก่อนพิจารณาตรวจตราโดยแยบคายให้เห็นตามความเป็นจริง (ที่เป็นสัจธรรม) ว่า... มีประโยชน์และเหมาะควรหรือไม่...” ดังที่ได้ตรัสไว้ว่า...

               ..อย่าถือ โดยการฟังตามๆ กันมา

               ..อย่าถือ โดยการปฏิบัติสืบกันมา

               ..อย่าถือ โดยการบอกกล่าวเล่าลือกันมา

               ..อย่าถือ โดยการอ้างอิงตำรา .. พระไตรปิฎก

               ..อย่าถือ โดยการเดา

               ..อย่าถือ โดยการคาดคะเน             

               ..อย่าถือ โดยการตรึกตรองตามอาการ

               ..อย่าถือ โดยชอบใจว่าตรงตามความคิด (ทิฏฐิ) ของตน

               ..อย่าถือ โดยผู้พูดเป็นคนน่าเชื่อถือ

               ..อย่าถือ โดยการนับถือว่าสมณะนี้เป็นครูของเรา

               หลักความไม่เชื่องมงาย ๑๐ ประการนี้.. มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการศึกษาค้นคว้าในทุกเรื่องราว มิใช่เฉพาะเรื่องคำสั่งสอนในพระพุทธศาสนาเพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะในสังคม Social Media .. โลกไอทีปัจจุบัน...

..จริงๆ แล้ว ในเรื่องราวต่างๆ ของพุทธศาสนาที่ปรากฏในบันทึกของหลวงจีนฟาเหียน นับว่ามีประโยชน์มากในด้านความมีอยู่จริงของสถานที่สำคัญของพุทธศาสนาในยุคสมัยนั้น.. (พุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐) ที่ส่งสืบต่อกันมา...

จึงทำให้เห็นร่องรอยความเป็นจริงในทุกด้าน โดยเฉพาะในการสืบค้นของฝ่ายโบราณคดี ที่ส่วนใหญ่ได้อ้างอิงอาศัยบันทึกของพระภิกษุชาวจีน ไม่ว่าจะพระภิกษุฟาเหียน.. พระภิกษุถัมซัมจั๋ง.. เป็นต้น

ดังในห้วงเวลาที่อาตมา (MV. Arayawangso) ได้รับนิมนต์ (กระทำสัตตาหกรณียะฯ) มาปฏิบัติศาสนกิจที่เปศวาร์ .. โดยออกเดินทางมาตั้งแต่วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๕ จากนครตักศิลา สถานที่อธิษฐานจำพรรษาประจำปี ๒๕๖๕ จึงได้ถือโอกาสในช่วงเวลาดังกล่าวจาริกทัศนศึกษามรดกโลกทางพุทธศาสนาในเขต Khyber Pakhtunkhwa หรือรัฐเคพี ในปากีสถานด้วย ซึ่งนอกจากแหล่งพุทธศาสนามรดกโลก เช่น ศาสนสถานตักอิบาหิ (Takht-e-Bahi) ที่นิยมเรียกสั้นๆ ว่า ตัก-ไบ แล้ว... เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๖๕.. ยังได้เดินทางไปเยี่ยมชม-สักการะ Buddhist Stupa ที่ตั้งโดดเด่นอยู่บนภูเขาลูกเล็กๆ ใกล้ Khyber Pass ชาวบ้านในย่านนั้นจึงเรียกพระสถูปดังกล่าวอีกชื่อหนึ่งว่า Khyber Top.. ซึ่งเป็นมหาสถูปหนึ่งเดียวของพระพุทธศาสนาในยุคราชวงศ์กุษาณะ อันเป็นศิลปะคันธาระ ที่ตั้งตระหง่านบนภูเขา ติดทางรถไฟ (เป็นเส้นทางเชื่อมการคมนาคมระหว่างอัฟกานิสถานกับปากีสถานในอดีต สร้างสมัยที่อังกฤษปกครอง..) ที่ในปัจจุบันถูกปล่อยทิ้งร้างไปอย่างน่าเสียดาย ด้วยผลพิษทางการเมืองระดับโลก ที่เป็นเหตุให้เกิดขบวนการก่อการร้ายขึ้นในพื้นที่เชื่อมโยงรอยต่อระหว่างสองประเทศสืบเนื่องมายาวนาน...

จึงไม่แปลก หากได้ไปเห็นการเร่งทำงานบูรณะพระมหาสถูปที่ใช้ชื่อว่า Buddhist Stupa” ที่อยู่ท่ามกลางกองกำลังของฝ่ายทหารรัฐบาลปากีสถาน ที่ตั้งกองกำลังรักษาการณ์บนภูเขาลูกนั้น.. ซึ่งเป็นที่หวงห้ามมิให้คนโดยทั่วไปหรือนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปได้.. โดยมีการวางกองกำลังเฝ้ารักษาความปลอดภัยหลายแห่งบนถนนที่ทอดยาวผ่านเข้าไปในหุบเขาที่สลับซับซ้อนมากมาย... (ติดตามอ่านตอนต่อไป)

 

เจริญพร

[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!

เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย

ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?

การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั