EEC ร่วม 10 สถาบัน ถอดรหัสศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ยุคใหม่

การพัฒนาบุคลากรและการศึกษาในกระแสการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี การปรับตัวของโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคม และการดำเนินชีวิต ในความเชี่ยวกรากจากการจัดปรับภูมิรัฐศาสตร์-ภูมิเศรษฐกิจของโลกวันนี้ ย่อมเป็นงานยาก-ท้าทายยิ่ง โดยเฉพาะในพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่ต้องสร้างความเคลื่อนไหวหลายมิติไปพร้อมๆ กัน! ทั้งปรับโครงสร้างพื้นฐานคมนาคม-โลจิสติกส์-สร้างพื้นฐานการสื่อสารยุค 5จี และระดมสร้างการลงทุนตามเป้าหมาย 2.4 ล้านล้านบาท ในเวลาที่กำหนด ซึ่งทุกมิติดำเนินไปในความผันผวนทางการเมืองทั้งในประเทศและการเมืองระหว่างประเทศ!!!

การพัฒนาในคลื่นความแตกแยกปรับตัว 2 แพร่งในโลกวันนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใส่ใจ-รอบรู้ที่จะวางบทบาท-ตำแหน่งแห่งที่-จัดความเชื่อมโยงสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ-การเมือง กับโลกที่ต้องเอาตัวรอดให้ได้-ยึดประโยชน์ของผู้คน-ประเทศเป็นหลัก มันเป็นโจทย์หินทีเดียว!

การลงทุน การกำหนดเป้าหมายเคลื่อนไหวสร้างการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี วันนี้ ส่วนใหญ่มีทิศทางค่อนข้างชัดว่าเป็นการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีทิศทางในแบบอุตสาหกรรม 4.0 ที่มีนัยความต้องการทักษะ สมรรถนะ ความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงระบบนิเวศของระบบงานบนฐานความคิด-ความเข้าใจใหม่ที่ต่างจากโลกเก่าสิ้นเชิง! ซึ่งเป็นอีกความท้าทายในการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ที่ต้องตระหนักถึงการผลิตสร้างบุคลากร-การศึกษาให้ตอบโจทย์โครงสร้างเศรษฐกิจใหม่ ที่จะสร้างสัมฤทธิผลได้อย่างต่อเนื่อง-ยั่งยืน พร้อมจะสั่งสมความรู้-ทักษะจากเทคโนโลยีใหม่ของการลงทุน เพื่อนำไปต่อยอดสร้างอนาคตของประเทศต่อไปได้!

คณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากรการศึกษาของอีอีซี ที่เรียกว่าคณะทำงาน EEC HDC เป็นกลุ่มงานที่รับผิดชอบขับเคลื่อนงานด้านนี้ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา อีอีซีได้ตั้งเป้าหมายการสร้างบุคลากรป้อน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายรวมกว่า 5.6 แสนคน เป็นระดับอาชีวะ 54% ที่เหลือเป็นกลุ่มทักษะ-ความรู้ที่สูงกว่า EEC HDC ได้วางรากฐานการพัฒนาบุคลากร ทั้งการพัฒนาทักษะความรู้โดยตรงร่วมกับ 24 สถาบันอุดมศึกษาและ 40 วิทยาลัยระดับอาชีวะ รวมทั้งกลุ่มโรงเรียนในพื้นที่ที่จัดการศึกษาพื้นฐานกว่า 840 แห่ง รวมทั้งสนับสนุนให้จัดตั้งศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ยุคใหม่ ผ่านงบบูรณาการเพื่อปรับสร้างประสบการณ์-ทักษะ-การเรียนรู้ยุคใหม่-และประสบการณ์ โดยวางแนวการบริหารจัดการในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน หวังจะสร้างสัมฤทธิผลหนุนการพัฒนาบุคลากรป้อนกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับอุตสาหกรรมในขณะเดียวกัน

3 วันที่ผ่านมา EEC HDC ได้จัดสัมมนาถอดรหัสความเคลื่อนไหวของการพัฒนาบุคลากรจาก 10 ศูนย์เครือข่าย ที่ขับเคลื่อนการเรียนรู้-สร้างทักษะยุคใหม่ ซึ่งมีผลรวมพบว่า ทุกศูนย์มีความเคลื่อนไหวก้าวหน้ามาก-มีความร่วมมือรวมกันกว่า 400 บริษัท/ผู้ประกอบการ มีการปรับฐานการผลิตให้กับอุตสาหกรรมนับร้อยโรงงาน-และกำลังเชื่อมต่อปรับปรุงกลุ่ม SMEs ด้วย! ขณะเดียวกันก็มีการผลิตบุคลากรที่ใช้งบประมาณจากกระทรวงการอุดมฯ กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และจากอีอีซี ผลิตบุคลากรยกระดับทักษะ-ผ่านการฝึกอบรมระยะสั้นไปรวมกว่า 40,000 คน ทั้งยังสร้างความร่วมมือผลิตบุคลากรเต็มหลักสูตรระดับอาชีวะและปริญญาตรี-โท รวมอีกกว่า 20,000 คน ไม่รวมการผลิตบุคลากรของสถาบันอุดมศึกษา-อาชีวศึกษา ที่มีการปรับสู่แนวทางการศึกษายุคใหม่ของกระทรวงในระดับทั้งมหาวิทยาลัยและอาชีวะที่ผลิตบุคลากรรวมกว่า 5 แสนคนในแต่ละปี!

กลุ่มการผลิตบุคลากร-การจัดการศึกษาที่ปรับตัวมากที่สุดเป็นกลุ่มทักษะด้านแมคคาทรอนิก หุ่นยนต์ ออโตเมชั่น ยานยนต์สมัยใหม่ ดิจิตอล และโลจิสติกส์ ซึ่งเป็นไปตามกรอบความต้องการของการประกอบการ-อุตสาหกรรมยุคใหม่ และเป็นไปตามแผนการผลิตบุคลากรของ EEC HDC ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปถึงงานการจัดปรับพื้นฐานระบบโรงงาน-ยกระดับศักยภาพการผลิตคู่ไปด้วย การศึกษาและพัฒนาคนของสถาบันการศึกษาในเครือข่าย EEC HDC ที่ก้าวหน้าในการผลิตบุคลากรและเป็นที่พึ่งพาของระบบโรงงานของอุตสาหกรรม/สถานประกอบการมีอยู่หลายศูนย์/หลายสาขา อาทิ ศูนย์แมคาทรอนิก สำนักวิศวกรรม มหาวิทยาลัยราชมงคล ตะวันออก ศูนย์เชี่ยวชาญ EV conversion/ศูนย์ automation Park/ศูนย์การท่องเที่ยวคุณภาพสูง มหาวิทยาลัยบูรพา ศูนย์พาณิชยนาวี มหาวิทยาลัยเกษตรฯ ศรีราชา ศูนย์ระบบราง วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ศูนย์แมคคาทรอนิก และศูนย์อากาศยาน วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ ฯลฯ เป็นต้น

ความก้าวหน้าในการพัฒนาคุณภาพบุคลากร-ระบบการบริหารจัดการ-ระบบนิเวศการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่ถอดรหัสจากความเคลื่อนไหวของศูนย์การเรียนรู้ทั้ง 10 ศูนย์ ในอีอีซีนี้เป็นพื้นฐานที่บอกถึงความมั่นใจในการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ การลงทุนในอีอีซีจะมีบุคลากรเพียงพอทั้งปริมาณและคุณภาพ รวมทั้งมีการปรับตัวเคลื่อนไหวก้าวหน้าทันโลกแน่นอน!!! ที่สำคัญศูนย์บางแห่งเป็นกลไกที่จะสร้างเศรษฐกิจกลุ่มโอกาสใหม่ขึ้นด้วย เช่น กรณีอุตสาหกรรม EV conversion ที่ศูนย์เชี่ยวชาญ EV conversion ม.บูรพา ร่วมมือกับ 20 วิทยาลัยอาชีวะ ธนาคารออมสิน และภาคเอกชนที่เข้าร่วม ขับเคลื่อนสร้างเศรษฐกิจใหม่ให้กลุ่มสังคมฐานรากกว่า 30,000 มูลค่าเศรษฐกิจมากกว่า 2 ล้านล้าน ภายใน 5 ปีนี้! ซึ่งเป็นการพัฒนาโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยให้กลุ่มเศรษฐกิจสังคมฐานล่างลืมตาอ้าปากได้ นี่คืออีกความก้าวหน้าใหม่ของประเทศ ที่คณะทำงาน EEC HDC ขับเคลื่อนในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

วิปริตธรรม .. ในสังคม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง

ธุรกิจคาสิโนถูกกฎหมาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกี่ยวพันผู้มีอำนาจทางการเมือง

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบของคาสิโนถูกกฎหมายต่อการฆาตกรรมและการข่มขืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก

แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง

ความเสื่อม.. ที่ควรเห็น.. ก่อนตาย!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีคำกล่าวเป็นสุภาษิต ว่า ความเสื่อมของมนุษย์ ล้วนมีสาเหตุมาจากมนุษย์.. ความเสื่อมของสิ่งใดๆ .. ก็มีสาเหตุมาจากสิ่งนั้นๆ..

รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ

เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก