ผมเป็นคนที่ชอบคิดสิ่งใหม่ตั้งแต่เด็ก เมื่อใช้สิ่งของแล้วรู้สึกยังไม่ดีพอ ผมจะคิดเสมอว่า ‘น่าจะทำให้ดีกว่านี้ได้’ โดยนวัตกรรมทางความคิดที่ผมเคยคิดเมื่อยังเป็นเด็ก ขณะนี้มีคนทำให้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะเป็น กระเป๋าแบบมีล้อรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น แต่ผมได้เสนอไม่เพียงนวัตกรรมที่เป็นสิ่งประดิษฐ์ แต่ยังเสนอนวัตกรรมทางนโยบาย ซึ่งหมายถึง นโยบายแบบใหม่ที่สามารถจัดการกับปัญหาใหม่ ๆ และเป้าหมายใหม่ภายใต้บริบทการพัฒนาแบบใหม่
ปัจจุบันทั่วโลกให้ความสำคัญกับนวัตกรรมทางนโยบายมากขึ้น เห็นได้จากความพยายามค้นหาแนวคิด เครื่องมือ วิธีการใหม่ ๆ ที่นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมทางนโยบาย อย่างไรก็ตามแม้ว่าโลกได้พัฒนาการกำหนดนวัตกรรมทางนโยบาย แต่ไทยยังค่อนข้างขาดแคลนนวัตกรรมทางนโยบาย เนื่องจาก รูปแบบหรือวิธีคิดในการกำหนดนโยบายค่อนข้างเป็นอุปสรรค
ในช่วงที่ผ่านมาผมได้เสนอนวัตกรรมทางนโยบายให้กับสังคมไทยจำนวนมาก ในบทความนี้ผมขอเสนอหลักการและตัวอย่างบางประการ โดยพิจารณาจากตัวอย่างที่ผมนำเสนอไว้ อาทิ
1) เทคโนโลยี (Technologization)
การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่ เพื่อแก้ปัญหาหรือทำให้บรรลุเป้าหมายเชิงนโยบาย หรือใช้ในกระบวนการกำหนดนโยบาย เช่น บัตรกำนัลดิจิทัล (Digital Voucher) เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มีการออกแบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อทำให้เงินหมุนหลายรอบ รวดเร็ว มีตัวทวีคูณสูง ผมได้เสนอมานานเพื่อให้ภาครัฐพัฒนาบัตรกำนัลดิจิทัล (Digital Voucher) ซึ่งเป็นการให้เงินช่วยเหลือแก่ประชาชนในรูปดิจิทัล โดยการสร้างเงื่อนไขให้ผู้ได้รับไปใช้ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ ภายใน 14 วัน เป็นต้น แทนที่วิธีการเดิมของภาครัฐที่ใช้วิธีโอนเงินเข้าแอป เป๋าตัง เป็นต้น
2) ความร่วมมือ 3 ภาคกิจ (Tri-sector Collaboration)
ผมเชื่อว่าการสร้างชาติ เกี่ยวกับ 3 ภาคกิจ ซึ่งได้แก่ รัฐกิจ ธุรกิจ ประชากิจ โดยแต่ละภาคกิจ มีจุดอ่อน จุดแข็ง ของตัวเอง ภาครัฐกิจอาจใช้วิธีสร้างสรรค์ในการสนับสนุนภาคกิจอื่น ๆ ใช้ทรัพยากรจากภาคกิจอื่นมากขึ้น แทนที่รัฐเล่นบทนำเป็นหลัก เช่น ทำแผนและมอบหมายกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) เจาะจง ภาครัฐควรร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ สร้างเครือข่ายภาคธุรกิจและประชากิจที่ดูแลประเด็นต่าง ๆ มอบหมายประเด็นให้เจาะจง เพื่อทำให้แน่ใจว่า ทุกประเด็นทุกภาคส่วนรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ทำกระจัดกระจาย และ ไม่เป็นยุทธศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ได้ผลลัพธ์ไม่เต็มที่
3) การใช้ประโยชน์ทรัพยากร (Resource Utilization)
ผมคิดว่าเราควรต้องพยายามใช้ประโยชน์ทรัพยากรทุกอย่างที่มีในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินทุกตารางนิ้ว คนทุกคน หานวัตกรรมที่จะนำเอาทรัพยากรเหล่านั้นมาใช้ ผมจึงได้นำเสนอนวัตกรรมทางนโยบาย อาทิ ตั้งหน่วยงาน “กองทุนเวลาเพื่อสังคม”[1] (คิดและทำมานาน 30 กว่าปี), เนอร์สเซอรี่สองวัย (2551)[2], เปลี่ยนเงินหวย เป็น “สลากออมทรัพย์” (2551)[3], ใช้ประโยชน์เครือข่ายคนไทย (2562) เช่น ทูตไทย คนไทยโพ้นทะเล ทำการตลาดเชิงรุกเพื่อช่วยภาคธุรกิจในการส่งออก และ Jump Start ประเทศไทย (2562)[4] ดึงดูดคนต่างชาติจากทั่วโลกเข้ามาทำงานและเกษียณในประเทศไทย เป็นต้น
4) แปลงทุกอย่างเป็นทุน (Capitalization)
ผมให้ความหมายคำว่า ทุน คือ พลังเอกอุ ประเทศไทยจะขับเคลื่อนไปได้มาก หากสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ แปลงให้เป็นทุน เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งผมเคยเสนอให้ตั้ง “บรรษัทส่งเสริมการแปลงทรัพยากร ให้เป็นทุน” ช่วยประชาชนและผู้ประกอบการ ให้เข้าถึงทุน แก้ปัญหาการขาดสภาพคล่อง โดยบรรษัทนี้จะทำหน้าที่ช่วยประเมินทรัพยากรที่แปลงให้เป็นทุนได้ และจับคู่บุคคลหรือชุมชนที่มีทุนเพื่อนำไปใช้ให้ประโยชน์ รวมถึงช่วยค้ำประกัน หรือ อุดหนุนเงินทุนให้บุคคลต่างๆ
5) ออกแบบจูงใจ (Motivation)
การดำเนินนโยบายที่ดีควรใช้วิธีการจูงใจ มากกว่าบีบบังคับ และ ไม่ทำให้คนเกิดนิสัยที่ไม่ถูกต้อง รอรับความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียว เช่น ภาษีเงินได้แบบติดลบ (Negative Income Tax)[5] การให้สวัสดิการแบบมีเงื่อนไข เช่น การปลดหรือลดหนี้อย่างมีหลักเกณฑ์ บุคคลที่เข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้จึงจะได้รับการช่วยเหลือ การช่วยเหลือครัวเรือน ที่เข้าโปรแกรมแก้ไขหนี้ หรือ การให้ผู้รับสวัสดิการต้องทำงานหรือรับการฝึกอบรมแรงงาน เพื่อจะพัฒนาตัวเองให้มีสมรรถนะสูงขึ้น
6) Indexization and Signaling
ถ้าวัดไม่ได้ก็บริหารจัดการไม่ได้ ดังนั้นผมจึงเชื่อว่าเราควรทำตัวชี้วัด โดยสร้างดัชนีครอบคลุมเป้าหมายเชิงนโยบายทั้งหมด เช่น 1) สมุดพกดี เก่ง กล้า (คิดเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว)[6] 2) การทำตัวชี้วัด CNB ในองค์กรประเภทต่างๆ, Wellness CNB, ดัชนีโรงเรียนสร้างชาติ, วัดสร้างชาติ ฯลฯ 3) Rating & Ranking Tourist Destination
7) Internationalization
ผมเสนอแนวคิดที่ไม่เคยมีใครเสนอมาก่อน เพื่อให้ไทยได้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายประเด็น แต่ขอยกตัวอย่าง 1 เรื่อง คือ ยุทธศาสตร์หัวเข็มขัด (One Belt One Buckle)[7] ผมได้เสนอให้จีนร่วมมือกับไทย สนับสนุนให้ไทยเป็นหัวเข็มขัด (Buckle) ของโครงการ BRI อาทิ การสร้างเมืองใหม่ในไทยที่มีมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของจีนเข้ามาตั้งอยู่ สนับสนุนให้ไทยรีบเป็นคล้ายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษลำดับที่ 7 ของจีน นอกประเทศจีนเพิ่มเติมจาก 6 แห่งที่มีอยู่แล้วในจีน (เซินเจิ้น จูไห่ ซัวเถา เซียะเหมิน คาสือ และ ไห่หนาน) เป็นต้น
นวัตกรรมทางนโยบายมีความจำเป็นต่อการสร้างชาติให้สำเร็จ ช่วยเร่งความเร็ว ลดต้นทุน ในการแก้ปัญหา และ การพัฒนา อย่างไรก็ตามผมคิดว่านวัตกรรมทางนโยบายเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ที่จะช่วยสร้างชาติให้ประสบความสำเร็จ การสร้างชาติอย่างครบวงจร ไม่เพียงต้องปฏิรูปกระบวนการนโยบายของประเทศ แต่ต้องปฏิรูปครบวงจร ทั้งคน ระบบ และ บริบท สิ่งนี้เป็นภารกิจ และ ความมุ่งมั่นของผมมาตลอดชีวิต ที่จะสร้างประเทศต้นแบบของนานาอารยประเทศ ผมและสถาบันการสร้างชาติ ขอเชิญชวนทุกท่าน เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างชาติไทยให้ก้าวหน้าต่อไปร่วมกันครับ
ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
นักวิชาการอาวุโส มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ประธานสถาบันการสร้างชาติ (NBI)
ประธานสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา(IFD)
[email protected],www.drdancando.com
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรน้ำดีที่รอวันเติบโต
วิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise) หรือ องค์กรที่ประกอบธุรกิจเพื่อช่วยเหลือสังคม นับเป็นองค์กรประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในนำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ไปปฏิบัติอย่างแท้จริงได้ ในช่วงเวลา ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา วิสาหกิจเพื่อสังคมในหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมพิสูจน์ให้เห็นว่า การประกอบธุรกิจขององค์กรสามารถช่วยเหลือสังคมได้จริง ตัวอย่างเช่น ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ในประเทศบังกลาเทศ
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
นโยบายและกฎหมายรัฐบาลดิจิทัล (ตอนที่ 1) : งานหลังบ้านที่ถูกมองข้าม
ในปี 2562 และ 2565 รัฐบาลได้ออกกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (พ.ศ. 2562) และ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2565) กฎหมายทั้ง 2 ฉบับถูกออกแบบมาโดยเจตนาเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างยิ่งยวด
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?
การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก