ปี 2563-2564 ถือเป็นปีแห่งวิบากกรรมซ้ำซ้อนของพี่น้องชาวนาและเกษตรกรอย่างแท้จริง เนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่ทันจางหาย ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ข้าวราคาตกต่ำ วิกฤตระลอกใหม่จากปัญหาอุทกภัยก็เข้ามาซ้ำเติม จากลมมรสุมพายุ 6 ลูก ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2564 ได้สร้างความเสียหายและกระทบพื้นที่การเกษตรทั่วประเทศกว่า 5.37 ล้านไร่ คิดเป็นมูลค่า 8,000 ล้านบาท ซึ่งมูลค่าความเสียหายส่วนใหญ่ร้อยละ 83 เป็นมูลค่าความเสียหายต่อผลผลิตข้าว ซึ่งอยู่ในที่ลุ่ม และพืชผักร้อยละ 17 คาดว่า GDP ภาคเกษตรปี 2564 ลดลงประมาณ 4,190-5,730 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.2-0.5 (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร)
ทั้งนี้ภาครัฐได้กำหนดหลักเกณฑ์เงื่อนไขการช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วมหรือภัยพิบัติ ในปี 2564 เฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยจะสรุปข้อมูลความเสียหายและจ่ายเงินเยียวยาภายใน 2 เดือนหลังน้ำลด ดังนี้ กรณีพื้นที่ทำการเพาะปลูกมีพืชตายหรือเสียหายจนไม่สามารถฟื้นฟู หรือเยียวยาให้กลับสู่สภาพเดิมได้อีก ให้ช่วยเหลือตามจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เสียหายจริง ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ อาทิเช่น ข้าวไร่ละ 1,340 บาท พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท ไม้ผลไม้ยืนต้น และอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือและเยียวยาชาวนาและเกษตรกรผู้ประสบภัยน้ำท่วม ต้องไม่หยุดเพียงแค่เยียวยาความเสียหายบางส่วน ซึ่งอาจไม่ถึงครึ่งของต้นทุนการผลิต ค่าไถ ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าหว่าน ค่าปุ๋ย ค่ายา ที่ชาวนาได้ลงทุนลงแรง เฉลี่ยไร่ละ 3,000-4,000 บาท กรณีชาวนาเช่าเฉลี่ยไร่ละ 5,000-6,000 บาท ความเสียหายจากภัยพิบัติของชาวนาหมายถึงภาระหนี้สินและดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทันที และชาวนาไม่ต้องการผิดนัดชำระหนี้ รู้สึกวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก กลัวว่าเจ้าหนี้จะฟ้องและถูกยึดที่นา จึงเลือกก่อหนี้ใหม่เพื่อใช้หนี้เก่า ชาวนาบางรายในภาวะปกติ ก็จ่ายได้เพียงดอกเบี้ย พอไม่มีกินก็ต้องไปกู้มาใหม่อีก
เมื่อสำรวจมาตรการและนโยบายช่วยเหลือภาระหนี้สินชาวนาและเกษตรกรในภาวะวิกฤตของภาครัฐ ทั้งผลกระทบโควิด และผลกระทบน้ำท่วมที่ผ่านมา หนึ่งในมาตรการสำคัญที่ภาครัฐนำมาช่วยเหลือและเยียวยาเกษตรกร คือ การพักชำระหนี้ โดยการพักชำระหนี้และสนับสนุนสินเชื่อเพิ่มเติม อาทิเช่น ล่าสุด ธ.ก.ส. ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วม ปี 2564 ดังนี้ 1) มาตรการพักชำระหนี้ โดยการพักชำระหนี้ไม่เกิน 12 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยปรับ 2) มาตรการสนับสนุนสินเชื่อฉุกเฉิน วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 0% ต่อปี เป็นระยะเวลา 6 เดือน และระยะเวลาผ่อนชำระไม่เกิน 3 ปี
จะเห็นได้ว่าโครงการพักชำระหนี้ในสถานการณ์วิกฤตและเศรษฐกิจไม่ดีของภาครัฐที่ผ่านมา เป็นเพียงการช่วยให้ชาวนามีโอกาสพักหนี้ ช่วยยืดเวลาการชำระหนี้เงินต้น แต่ระหว่างหยุดพักก็จำเป็นต้องจ่ายดอกเบี้ยต่อไป สำหรับชาวนาบางรายช่วงเวลาปกติก็สามารถชำระได้เพียงดอกเบี้ยอยู่แล้ว ซึ่งเท่ากับอาจจะไม่ใช่ทางออกที่เหมาะสมสำหรับการแก้ปัญหาหนี้สินของชาวนาโดยตรง โดยเฉพาะชาวนาที่มีหนี้เดิมอยู่แล้ว ยิ่งทำให้ไม่สามารถหลุดพ้นจากภาวะหนี้สินได้เลย หลายครอบครัวต้องเข้าสู่ระบบการขอสินเชื่อเพิ่มหรือขอปรับโครงสร้างหนี้ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง นั่นเป็นเพราะชาวนาไทยส่วนใหญ่มองว่าตนเองนั้นมีทางเลือกที่จะสร้างรายได้ไม่มากนัก และมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาและขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกทั้งภาครัฐและเอกชน
ขณะที่ตัวชาวนาเองก็ไม่สามารถปลดหนี้ของตนเองได้ และขาดศักยภาพในการพึ่งพาตนเองอย่างแท้จริง (สูงวัย มีปัญหาสุขภาพ ต้นทุนสูง หนี้สูง รายได้ต่ำ) ดังนั้นการช่วยเหลือภาระหนี้ชาวนาในภาวะวิกฤต จำเป็นที่ภาครัฐต้องมีแนวทางนโยบายการพักชำระหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ที่มีประสิทธิภาพกับเกษตรกร และสอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงมีเป้าหมายไกลไปถึงการฟื้นฟูอาชีพและรายได้ สร้างความมั่นคงในชีวิตให้ชาวนาและเกษตรกรผู้ประสบภัย มีแผนสนับสนุนการปลูกพืชระยะสั้นหลังน้ำท่วม เพื่อเป็นรายได้ชดเชยความเสียหายของพืชผลจากน้ำท่วมได้โดยเร็ว โดยให้สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด รวมไปถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำระดับไร่นา การปรับระบบการผลิต การปรับตัวเพื่อรับมือและเท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นในระยะยาว
อารีวรรณ คูสันเทียะ
มูลนิธิชีวิตไท
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?
การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก
ขบวนการแพทย์ชนบท กับรางวัลแมกไซไซ ปี 2024 ทิศทางพัฒนาระบบสุขภาพไทย
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา คือวันเสาร์ที่ 16 พ.ย. คณะผู้แทน”ขบวนการแพทย์ชนบท” ได้เดินทางไปรับรางวัลแมกไซไซ ประจำปี 2024
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้