เวลาพูดถึง “การศึกษาสร้างชาติ” ผู้คนทั่วๆ ไปก็จะนึกถึงอาชีวศึกษาทุกครั้ง ด้วยเหตุว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยีในช่วงเวลาที่ผ่านมา ล้วนพึ่งพาบุคลากรระดับอาชีวะเป็นสำคัญ อาทิ เยอรมนี ออสเตรีย กลุ่มประเทศในยุโรป จนถึงญี่ปุ่น จีน ฯลฯ การอาชีวศึกษาจึงเป็นเสมือนฐานสำคัญในการผลิตบุคลากรสร้างชาติที่มีความหมายยิ่ง!
สำหรับประเทศไทย การอาชีวะยุคใหม่นั้นเป็นการศึกษาที่มุ่งสร้างประเทศชาติบ้านเมืองและเป็นกำลังสำคัญต่อการสร้างความก้าวหน้าในยุค 4.0 จะมีที่พลัดหลงไปไล่ตีกัน-เถื่อนถ่อยบ้าง ก็เป็นเพียงกลุ่มซากแดนที่เดินตามรุ่นพี่ศิษย์เก่าน้ำเน่าไร้อนาคตที่สิ้นคิด-ไร้สมอง สร้างเรื่องจนเป็นข่าวให้หม่นหมองเท่านั้น ซึ่งจริงๆ ไม่น่าจะนับเป็นกลุ่มอาชีวะ เป็นแค่กลุ่มอันธพาลแฝงในคราบนักเรียน ที่อยากดัง-ดิบถ่อยเท่านั้น!
จากอดีตถึงปัจจุบัน การผลิตกำลังคนระดับอาชีวศึกษานั้นสำคัญมาก เพราะบุคลากรอาชีวะในกระบวนการสร้างเศรษฐกิจและความก้าวหน้าให้บ้านเมือง เปรียบเสมือนเป็นกล้ามเนื้อ-กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจก็ว่าได้ โดยเฉพาะการยกระดับเศรษฐกิจใหม่ที่กำลังเชื่อมโลกให้ไทยแล่นในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี การผลิตกำลังคนระดับอาชีวะนั้นสำคัญมาก ความก้าวหน้าใหม่วันนี้-ต้องการบุคลากรอาชีวะในการขับเคลื่อนสร้าง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย มีสูงถึงร้อยละ 54 ของความต้องการบุคลากรทั้งหมด หรือกว่าสองแสนตำแหน่ง! โดยเฉพาะกลุ่มงานแมคคาทรอนิก ดิจิตอล ออโตเมชั่น หุ่นยนต์ โลจิสติกส์ รวมถึงเทคโนโลยีอัจฉริยะทั้งหลาย เรียกว่าเป็นกลุ่มสำคัญ-มีความต้องการสูงสุด!
โลกของอาชีวะไทยยุคใหม่นั้น ถ้าย้อนดูพัฒนาการของการอาชีวศึกษาในประเทศไทยจะพบว่า เมื่อครั้งเริ่ม โครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่นำประเทศสู่อุตสาหกรรมช่วงกลางทศวรรษ พ.ศ.2530 ดร.เสนาะ อูนากูล ได้นำคณะผู้บริหารไทยประสานการศึกษายุโรป-นำการศึกษาอาชีวะแบบยุโรป เยอรมนี ออสเตรีย มาปรับสร้างกำลังคนอาชีวะใหม่ในแบบทวิภาคี มีการลงนามทำความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับออสเตรีย จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคไทย-ออสเตรีย ขึ้นที่ อ.สัตหีบ ใช้ระบบการจัดการอาชีวศึกษาแบบทวิภาคี-ผลิตบุคลากรป้อนการพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด ช่วงเปลี่ยนประเทศเป็นอุตสาหกรรมในครั้งกระนั้น นี่คือก้าวแรก-ก้าวสำคัญที่ขยับสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับการอาชีวศึกษาไทย!
ต่อมาการอาชีวศึกษาก็ปรับตัว-พัฒนาการหลายมิติ-หลายระบบ ภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ จนถึงปัจจุบันการอาชีวะได้ร่วมพัฒนาการศึกษากับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี สร้างการศึกษาตอบโจทย์ความก้าวหน้ายุค 4.0 โดยต่อยอดการจัดการศึกษาแบบสัตหีบโมเดลสู่การศึกษาแบบอีอีซีโมเดล ในแบบโมเดลเอและโมเดลบี
การศึกษาแบบอีอีซี โมเดลเอ เป็นการจัดการศึกษาที่สร้างบุคลากรอาชีวะสาขาตามต้องการของงานร่วมกับผู้ประกอบการ มีระบบการสร้างบุคลากรให้มีความรู้-ทักษะตรงตามงาน เป็นการศึกษาแบบเรียนฟรี-จบแล้วมีงานทำทันที-รายได้สูง มีการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในหลักสูตรที่มีความรู้-ทักษะตอบโจทย์ความต้องการจริง จัดการเรียน-การสอนทั้งในห้องเรียนและในสถานประกอบการจริง ผลลัพธ์ของผู้สำเร็จการศึกษานี้ เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จที่สุด-ก้าวหน้าที่สุด สามารถหยุดความสูญเปล่าของการศึกษาได้ทั้งหมด! คนจบการศึกษากลุ่มนี้มีงานทำร้อยละร้อย! มีทักษะตรงตามงาน-มีรายได้สูง-มีอนาคตสร้างตัวได้ดี นี่คือทิศทางสำคัญที่เป็นหมุดหมายของอาชีวศึกษายุคใหม่
ส่วนการศึกษาอีอีซี โมเดลบี เป็นการฝึกอบรมระยะสั้น ช่วยเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้-พัฒนาการให้กลุ่มพนักงานในสถานประกอบการหรือบริษัทต่างๆ รวมทั้งกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่งานใหม่ ให้ปรับตัว-ยกระดับความรู้-ทักษะ-ประสบการณ์ทันความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าใหม่ ซึ่งเป็นอีกแบบแผนหนึ่งในการพัฒนาทักษะยุคใหม่ที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของบุคลากรที่เป็นผลิตผลของการอาชีวะศึกษาไทย
การอาชีวะไทยวันนี้มีความเคลื่อนไหว-ปรับตัวมาก มีความร่วมมือกับอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ มีการสำรวจปรับปรุงและยกระดับวิทยาลัยที่มีศักยภาพสูงขึ้นเป็นศูนย์เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ตามแนวนโยบายการพัฒนาการอาชีวะยุคใหม่ ที่เร่งปรับตัวให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยียุค 4.0 และมีการจัดปรับการบริหารจัดการการศึกษาในแบบเครือข่ายที่ช่วยกันพัฒนายกระดับคุณภาพกำลังคนของการอาชีวศึกษาในทุกมิติทุกสาขา นี่คือการอาชีวศึกษายุคใหม่ที่เริ่มขยับขับเคลื่อนจากการทำงานในเขตพื้นที่อีอีซี!
วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย เป็นต้นแบบความก้าวหน้าของการอาชีวศึกษายุค 4.0 ที่มีการจัดการศึกษาแบบอีอีซี โมเดลเอ ทั้งหมดวิทยาลัย! เด็กอาชีวะที่นี่มีราว 3,000 คน/ปี อนาคตสดใสทุกคน วิทยาลัยมีความร่วมมือกับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมกว่า 300 บริษัท จาก 8 ประเทศชั้นนำระดับสูง ทั้งจากอเมริกา เยอรมนี สวิส ออสเตรเลีย เดนมาร์ก ญี่ปุ่น จีน ฯลฯ เข้าร่วมมือผลิตบุคลากรสร้างทักษะตอบโจทย์ตามความต้องการของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรม นักเรียนอาชีวะทุกคนจบการศึกษามีงานทำทันที-มีรายได้สูง-มีเงินเดือนแรกเข้าไม่ต่ำกว่า 2-3 หมื่นบาททุกคน 100% นี่คือตัวแบบสำคัญของอาชีวะสร้างชาติ สร้างอนาคตแบบถ้วนทั่วทุกตัวคนของนักเรียน วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .