เจาะลึกส่องความสำเร็จ EEC ผ่าน 4 โครงการโครงสร้างพื้นฐาน

เป็นที่รับรู้กันอยู่ว่าเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือ อีอีซี นั้นเป็นพื้นที่การลงทุนพิเศษแรกของไทย ที่มีกฎหมาย อีอีซี รองรับ มุ่งขับเคลื่อนประเทศสู่ความก้าวหน้าใหม่ ในแบบที่ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง!

การดำเนินโครงการ อีอีซี มุ่งพัฒนายกระดับสังคมเศรษฐกิจของประเทศและคุณภาพชีวิตของผู้คนให้มีศักยภาพปรับตัวเชื่อมโลก สร้างประเทศสู่อนาคตในคลื่นการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นการดำเนินงานด้วยแบบแผนใหม่ ที่มีการร่วมทุน-ร่วมสร้างระหว่างภาครัฐกับเอกชนในกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐาน เพื่อยกระดับประเทศ-ดึงการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อสั่งสมความรู้-ประสบการณ์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรมยุคใหม่ เพื่อสั่งสมให้เป็นต้นทุนพื้นฐานที่จะต่อยอดขับเคลื่อนประเทศให้ก้าวหน้าเติบโตอย่างยั่งยืนอย่างเป็นตัวของตัวเอง

การสร้างบ้านแปลงเมืองในมิติการทำงานของ อีอีซี ที่ดึงการลงทุนจากต่างประเทศเข้ามานั้น การขับเคลื่อนโครงการ อีอีซี มีการเตรียมความพร้อมจัดสร้าง 4 โครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่มีการลงทุนสูงถึง 6.5 แสนล้านบาทในมิติใหม่ที่เป็น การลงทุนของคนไทย-ไม่เป็นหนี้ต่างประเทศ-ไม่ใช้งบประมาณหลวง-ไม่ทำให้เป็นหนี้สาธารณะ! เป็นการดำเนินการที่ใช้เงินไทย-ใช้คนไทย-ใช้บริษัทไทย มุ่งสร้างต้นแบบการพัฒนาที่ยั่งยืน-การพึ่งพาตัวเองอย่างมั่นคง

ทิศทางการดำเนินงานของ อีอีซี ที่ขับเคลื่อนอยู่นี้ ถือเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญที่สร้างความสำเร็จให้ประเทศที่เกิดจากการลงทุนร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชนไทย ซึ่งได้วางรากฐาน-เพิ่มความเข้มแข็งในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม-ยกระดับรายได้ของชุมชน-ทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน อันเป็นทิศทางเป้าหมายหลักของ อีอีซี มิติความสำเร็จนี้สะท้อนจานวัตกรรมการลงทุนของประเทศ บนหลักคิด 4 ประการคือ หนึ่ง ขับเคลื่อนให้ประเทศก้าวสู่การพึ่งพาตนเอง ผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ 4 โครงการในกระบวนการพัฒนาพื้นที่ อีอีซี โดยไม่พึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศ แต่เป็นการลงทุนของรัฐฯร่วมทุนกับเอกชนในประเทศเป็นหลัก สอง หนุนให้เอกชนไทยธุรกิจไทยแข็งแรงมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศด้วยการวางแนวทางใหม่-ใช้บริษัทไทย-ใช้คนไทย-ใช้เงินไทย ลงทุนสร้างงาน-เงินหมุนเวียนในประเทศ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจแบบทวีคูณขึ้นหลายเท่า เป็นการสร้างงาน-สร้างรายได้ให้บริษัทใหญ่-จนถึงบริษัท-กิจการขนาดเล็ก-รวมถึงระดับชุมชน และก่อให้เกิดการสร้างรายได้จากภาษี โดยเฉพาะภาษีทางอ้อมจำนวนมาก สาม รัฐไม่ต้องใช้งบประมาณแต่ได้ผลตอบแทนสุทธิสูงถึง 2 แสนล้านบาท สินทรัพย์ที่นำมาดำเนินการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานร่วมกับเอกชนนี้เป็นการสร้างมูลค่าจากการลงทุนมากกว่า 650,000 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณของประเทศ-สร้างรายได้สุทธิให้กับภาครัฐเป็นมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท และการที่มีเอกชนเข้าร่วมมือกับรัฐฯ ถือเป็นความร่วมมือที่ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการสร้างอนาคตร่วมกันที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนสืบไป โครงสธารณูปโภคพื้นฐานขนาดใหญ่ ประกอบด้วย

โครงการรถไฟความเร็วสูง โครงการนี้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 จะแล้วเสร็จ-เปิดดำเนินการในปี 2569 เป็นเส้นทางความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจากอู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง มีการลงทุนร่วมรัฐ-เอกชนแบบ PPP มูลค่าการลงทุน 276,561 ล้านบาท จากภาครัฐลงทุน 159,938 ล้านบาท เอกชนลงทุน 116,623 ล้านบาท การลงทุนครั้งนี้จะสร้างงานนับแสนอัตราภายใน 5 ปี และจะปรับฐานการคมนาคม-โลจิสติกยกระดับเศรษฐกิจให้เติบโตก้าวหน้าอย่างยั่งยืน

โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นอีกโครงการที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทยและปรับฐานการเชื่อมต่อกับโลก ซึ่งมีการดำเนินการร่วมลงทุนกับภาครัฐและเอกชนในแบบ PPP  ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 204,240 ล้านบาท ภาครัฐร่วมทุน 17,674 ล้านบาท ภาคเอกชนลงทุน 186,556 ล้านบาท โครงการนี้จะช่วยปรับศักยภาพเศรษฐกิจไทยครั้งใหญ่ มีการการจ้างงานเพิ่มเกือบ 20,000 ตำแหน่งในระยะ 5 ปี และจะต่อยอดแตกหน่อสร้างเศรษฐกิจไทย-สร้างรายได้เข้ารัฐหลากหลายรูปแบบ หลังหมดสัญญาสนามบินทั้งหมดก็จะตกเป็นของรัฐฯ

ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาพื้นที่ทั้งหลังและหน้าท่าเรือรวมทั้งปรับภูมิทัศน์-สร้างเขื่อนหิน-ปรับร่องน้ำเดินเรือ ฯ มีท่าเทียบเรือสินค้าเหลว 2 ท่า-ท่าเทียบเรือก๊าซ 3 ท่า-เทียบเรือบริการ-คลังสินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับปิโตรเคมี มูลค่าการลงทุนรวม 64,905 ล้านบาท ภาครัฐลงทุนร่วม 12,900 ล้านบาท ภาคเอกชนลงทุน 52,005 ล้านบาท โครงการนี้นอกจากจะสร้างงานให้ผู้คนแล้วยังสร้างความมั่นคงให้กับพลังงานไทย และขับเคลื่อนให้ไทยก้าวเป็นศูนย์กลางอาเซียนด้านพลังงาน LNG ที่มีนัยสำคัญต่อเศรษฐกิจยุคใหม่

ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 พัฒนาเป็นท่าเรืออัจฉริยะ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของโครงสร้างพื้นฐาน-ระบบโลจิสติกส์ทางทะเลที่เชื่อมไทยเข้ากับโลก เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2564 จะแล้วเสร็จ-เปิดทำการปี 2568 รองรับสินค้าเพิ่มขึ้นราว 2 ล้านตู้ต่อปี ในปี 2572 จะเปิดดำเนินการเฟส 2 ต่อไปอีก มูลค่าการลงทุนรวม 110,115 ล้านบาท ภาครัฐร่วมทุน 48,329 ล้านบาท เอกชนลงทุน 61,786 ล้านบาท เป็นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่จะก้าวเป็นท่าเรือระดับโลกต่อไป

ความเคลื่อนไหวของโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยกมานี้ สะท้อนให้เห็นถึงนวัตกรรมการจัดการใหม่ ที่สร้างฐานความสำเร็จจากการพึ่งตนเอง-กระตุ้นเศรษฐกิจไทย-สร้างความก้าวหน้ายุคใหม่ ที่ไม่ใช่การพึ่งพางบประมาณจากรัฐฯหรือกู้จากต่างประเทศ! แต่เกิดจากการเปิดรับการลงทุนจากภาคเอกชนในประเทศซึ่งต่อยอดสร้างเศรษฐกิจ-พัฒนาสังคมได้อย่างดีทีเดียว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .