DEMAND Driven : ถอดรหัสการศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการจริง

เมื่อคณะกรรมาธิการการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม วุฒิสภา นำคณะโดยพลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการพัฒนาการศึกษาและบุคลากรใน EEC ที่วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ (ไทย-ออสเตรีย) และเยี่ยมดูงานพัฒนาบุคลากรของกลุ่มอุตสาหกรรม SNC ที่ร่วมมือกับคณะทำงานประสานงานการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC HDC ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา

ย้อนหลังไปช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ที่ประเทศเริ่มขับเคลื่อน “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก” หรือ EEC มุ่งปรับฐานการพัฒนา-ดึงการลงทุนและเทคโนโลยยุคใหม่-ปรับตัวจากความขัดแย้งอึมครึม สู่การพัฒนาเศรษฐกิจยุคใหม่-ในโลกดิจิทัลและการพัฒนายุค 4.0 นั้น การผลิต-เทคโนโลยี-การศึกษา-การพัฒนาคนของเรายังวนอยู่ในโลกใบเก่า ที่เป็นเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระดับ 2.0 อยู่เกือบทั้งประเทศ!

การพัฒนาบุคลากร 3 การศึกษาที่เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศนั้น ต้องจัดปรับตัวอย่างรวดเร็ว เพราะการเปลี่ยนผ่านจากโลกใบเดิมสู่โลกใบใหม่ในวันนั้น การศึกษา-การพัฒนาบุคลากรยังมีสภาวะถดถอย-ล้าหลัง-อยู่ในโหมดที่กำลังถูกดิสรัปจากความก้าวหน้าใหม่ ซึ่งเราเผชิญกับความสูญเปล่า-สูญเสียมหาศาลจากระบบการศึกษาแต่ละปี! มีบุคลากรที่จบการศึกษาทุกระดับต้องตกงานปีละกว่า 5 แสนคน! เป็นสัญญาณอันตรายยิ่งต่อความก้าวหน้าของประเทศ!!!

ในประเทศที่มุ่งปรับสร้างความก้าวหน้าทุกมุมโลกมีคำกล่าวที่ชัดเจน-รับรู้ร่วมกันว่า “เราไม่อาจใช้ความรู้ในอดีต-มาจัดการศึกษาพัฒนาคนในปัจจุบัน เพื่อสร้างอนาคตให้ชาติบ้านเมืองได้เลย” นี่คือข้อสรุป-ความเป็นจริงที่โลกทั้งใบรับรู้อยู่! หากย้อนไปวันที่บ้านเมืองเริ่มขยับใช้ EEC ขับเคลื่อนสร้างประเทศสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่นั้น การศึกษา-การพัฒนาบุคลากรยังไม่ขยับไปไหน ยังจมอยู่ในหลักคิด-วิสัยทิศน์เก่า ที่มีภาคปฏิบัติแบบยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง (self center) อยู่ไม่เปลี่ยนแปลง!

ขณะที่การสร้างการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรยุคใหม่ต้องมุ่งตอบโจทย์ความก้าวหน้าใหม่ อย่างน้อยใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลปักธงไว้! ซึ่งการพัฒนาคนโดยรวมต้องเชื่อมประสานภาคเศรษฐกิจที่เป็นจริง ตั้งแต่ภาคการผลิต บริการ จนถึงการยกระดับปรับสร้างสิ่งแวดล้อมในโลกดิจิทัล การปรับสร้างระบบปฏิบัติการรับเศรษฐกิจใหม่ และการสร้างความก้าวหน้าใหม่ในระบบดิจิทัล-การสื่อสารยุคใหม่ทุกมิติ ฯลฯ ล้วนแตกต่างเกือบสิ้นเชิงกับสิ่งแวดล้อมและโลกใบเก่าที่เคยชินของระบบการศึกษา-การผลิตบุคลากรที่เคลื่อนไหวอยู่อย่างวังเวง!

การศึกษาที่ตอบโจทย์ความต้องการจริง หรือ Demand driven Education จึงเป็นแนวทางใหม่ของการศึกษาที่ถูกกำหนดวางเป็นเป้าหมายสำคัญที่ใช้ปรับทิศสร้างการศึกษาใหม่ หนุนสังคม-เศรษฐกิจ-การดำรงชีวิตที่กำลังเคลื่อนเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม 4.0 และโลกดิจิทัลทุกขณะอย่างเข้มข้น!

นัยของ Demand driven Education ที่วันนี้กำลังพูดถึงกันมากในวงการศึกษา-การพัฒนาคนยุคใหม่นั้น มีนัยสำคัญของการเป็นกระบวนระบบการศึกษาที่เป็นการจัดปรับระบบ-ทิศทางการศึกษาทั้งกระบวนระบบ มุ่งสร้างให้คนมีความรู้-ทักษะ-สมรรถนะโดยรวม ตรงตามความต้องการของงานและสิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เมื่อผู้คนจบการศึกษา-การฝึกอบรมแล้วจะมีงานทำทันที-รายได้สูง! ซึ่งจะลดความสูญเสียในระบบการศึกษาลงอย่างมีนัยสำคัญ!

รากฐานและเป้าหมายของการศึกษาตอบโจทย์ความต้องการจริง (Demand driven Education) มีนัยสำคัญอยู่หลายประการ กล่าวคือ ประการแรกคือ เป็นการศึกษาที่มุ่งหยุดความสูญเสีย-สูญเปล่า-หยุดการตกงานจากผลิตผลของระบบการศึกษาทั้งหมดลง! ขยับปรับให้การจัดการศึกษาที่สั่งสมความผิดพลาด-ความสูญเสียมายาวนานของการศึกษาไทย ซึ่งมักติดยึดในการเอาสถาบัน-ความรู้จากครูอาจารย์เป็นศูนย์กลาง มาสู่โหมดความต้องการจริงของปัจจุบัน เพื่อขับเคลื่อนให้การศึกษาปรับไปตามการพัฒนาเศรษฐกิจ-การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าที่เป็นจริง

ประการที่ 2 ขับเคลื่อน-จัดปรับให้มีการจัดการศึกษาที่ตอบโจทย์สมรรถนะ-ความรู้-ทักษะ-สิ่งแวดล้อมใหม่ ให้ตรงตามความต้องการจริงในการงาน-การอาชีพ-การประกอบการยุคใหม่ ไม่ใช่การจัดการศึกษาแค่ให้มีการเรียนการสอน-มีห้องเรียน ที่เวียนว่ายไปตามหลักสูตร-วิชาเรียนที่เคยชินกันมาแต่เนิ่นนาน! แต่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดกระบวนการศึกษาให้มีความตื่นตัว-ร่วมมือกับโลกที่เป็นจริงในการปรับสมรรถนะ-ความรู้-ทักษะให้ตรงตามการงาน-ความรู้-โลกแวดล้อมใหม่ที่เป็นจริง-นำไปใช้ได้

ประการที่ 3 สร้างแพลตฟอร์มการเชื่อมประสานรับผิดชอบร่วม ระหว่างฝ่ายที่ต้องการบุคลากรสถานประกอบการต่างๆ (ทั้งภาคอุตสาหกรรม-บริการ) กับสถาบันการศึกษาให้มีความร่วมมือ ทั้งในมิติของเป้าหมาย-หลักสูตร-วิธีการเรียนการสอน-สิ่งแวดล้อม-และการปรับตัวสื่อสาร ในกระบวนการพัฒนาที่ต่อเนื่องมุ่งตอบโจทย์การงานที่แท้จริง เพื่อให้การศึกษามีความก้าวหน้าต่อเนื่อง-เป็นหนึ่งเดียวกับการพัฒนากิจการ เศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืนสืบไป

การศึกษาต้องไม่ถูกทำให้เป็นแค่ “วาทกรรม” หรือการปั้นสร้างเหตุผลให้เกิดความชอบธรรมกับใคร-หน่วยงานใดทั้งสิ้น รวมทั้งไม่ใช่การสร้างพื้นที่การยอมรับทางสังคม แต่เป็นภาระบทบาทในภารกิจร่วมกันในความรับผิดชอบต่อชีวิตและความก้าวหน้าของผู้คนและสังคมโดยรวม.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .