วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ : การศึกษาที่ประสานสร้างอนาคต

ปัจจัยความเคลื่อนไหวในกระแสการเปลี่ยนแปลงปัจจุบันนี้ ทำให้การศึกษา-การพัฒนาคนต้องเร่งปรับตัวให้ทัน! ซึ่งคงไม่ต้องย้อนกล่าวซ้ำอีกว่าการศึกษานั้นสำคัญยิ่งเพียงใด!!! ไม่ว่าเป็นช่วงการสร้างเศรษฐกิจใหม่ การปรับตัวทางสังคมเศรษฐกิจ หรือการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ส่งผลต่ออนาคตของผู้คน-บ้านเมือง!

โลกวันนี้ การศึกษาตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงการศึกษาระดับสูง จำเป็นต้องปรับตัวอย่างอย่างมากทั้งระบบ! ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกที่หมุนเร็วยิ่งในปัจจุบัน! ประเด็นการศึกษาที่จะพูดถึงในที่นี้ เป็นเรื่องการศึกษาระดับอาชีวะ ที่นับเป็นกลุ่มบุคลากรที่เรียกได้ว่าเป็นกลุ่มกระดูกสันหลังของความเจริญก้าวหน้า-แข็งแกร่งของบ้านเมืองที่สำคัญยิ่งในการสร้างชาติ!

ประเทศที่ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม หรือสังคมยุคใหม่ในโลกดิจิทัล ล้วนพึ่งพาบุคลากรที่จบการศึกษาระดับอาชีวะอย่างมีนัยสำคัญ ถ้าย้อนดูพัฒนาการการเติบโต-บทเรียนจากหลายประเทศ ไม่ว่าเยอรมนี ญี่ปุ่น กลุ่มยุโรป จนกระทั่งถึงจีน ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดล่าสุดในโลกดิจิทัล! การจัดศึกษา-การผลิตบุคลากรระดับอาชีวะนั้นเป็นการศึกษา-การสร้างและพัฒนาคนที่มีความสำคัญยิ่ง!

ที่โปรยหัวบทความว่า วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ : การศึกษาที่ประสานสร้างอนาคต ก็ด้วยว่า หากย้อนไปถึงช่วงเวลาที่ปรับสร้างประเทศสู่อุตสาหกรรมนั้น ดร.เสนาะ อูณากูล ท่านเป็นผู้ที่ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องความก้าวหน้าของประเทศ ที่ต้องพึ่งพาคน-บุคลากรที่มีความรู้-ทักษะในจำนวนที่พอเพียงในการสร้างบ้านเมือง ท่านจึงประสานกับทางเยอรมันและยุโรป จนสำเร็จได้จับมือกับกลุ่มยุโรปผ่านประเทศเยอรมนีและออสเตรีย จัดตั้งวิทยาลัยเทคนิคไทย-ออสเตรีย หรือวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบขึ้น ในยุคที่บ้านเมืองปรับตัวพัฒนาสู่อุตสาหกรรมตามโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ส่วนการศึกษาในระดับที่สูงกว่า ท่านก็ได้ขับเคลื่อนสร้างมหาวิทยาลัยบูรพาขึ้นรองรับการพัฒนาบุคลากรควบคู่ไปด้วย นี่คือวิสัยทัศน์ที่แหลมคม กว้างไกล ที่เป็นต้นธารการกำเนิดของสถาบันอาชีวะชั้นนำ-ที่มีคุณภาพอย่างวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ

จากวันนั้นถึงวันนี้ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ หรือไทย-ออสเตรีย ก็สร้างพัฒนาการในการอาชีวศึกษามาโดยตลอด จะทรุดระยะหนึ่ง-ก็ช่วงก่อนหน้าจะมีการขับเคลื่อนพัฒนาพื้นที่อีอีซีนี่แหละ แต่พื้นฐานโดยรวมของวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบก็ยังคงเอกลักษณ์ที่ดีอยู่พอสมควร เนื่องจากได้ทำการจัดการศึกษาร่วมกับหลายกลุ่มอุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีความโดดเด่นในการเรียน-การสอน-การจัดการ จนสามารถผลิตบุคลากรคุณภาพเป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการได้ โดยเฉพาะช่วงที่มีการเชื่อมประสานกับอีอีซี ที่หญิงเก่ง-วิสัยทัศน์กว้างไกล-แข็งแกร่งด้านปฏิบัติการ-มีประสบการณ์การบริหารการศึกษาอาชีวะมาอย่างดีอย่าง ดร.อรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน มานั่งเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยจนปัจจุบัน ที่ได้เข้ามาลุยจัดปรับระบบบริหาร-ขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าใหม่อีกครั้ง!

ขุมกำลังการจัดการศึกษาอาชีวะของรัฐนั้น มีสถานศึกษาอยู่ 16 ประเภท ทั้งแบบวิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวะ วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยการเกษตรและเทคโนโลยี วิทยาลัยประมง วิทยาลัยการพาณิชย์ ฯลฯ รวมทั้งหมด 431 แห่ง ในพื้นที่อีอีซี 20 แห่ง และมีสถาบันอาชีวะภาคตะวันออก-จัดการศึกษาระดับปริญญาตรีอีก 1 สถาบัน! วิทยาลัยอาชีวะในอีอีซีที่โดดเด่นปรับตัวก้าวหน้านอกจากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบแล้ว ยังมีอีกหลายวิทยาลัยที่โดดเด่น อาทิ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี วิทยาลัยเทคนิคระยอง วิทยาลัยเทคนิคบ้านค่าย วิทยาลัยเทคนิคมาบตาพุด วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม วิทยาลัยเทคนิคฉะเชิงเทรา และวิทยาลัยเทคนิคบางแสน ฯลฯ เป็นต้น นี่คือความเคลื่อนไหวของการอาชีวศึกษาในกระแสปรับตัวสู่โลกใบใหม่แบบก้าวกระโดด ในคลื่นอุตสาหกรรม 4.0 ในโลกยุคดิจิทัลที่ต้องการบุคลากรที่มีทักษะ-ความรู้ต่างจากโลกอนาล็อกใบเดิม!

วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบจัดตั้งขึ้นตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับสาธารณรัฐออสเตรีย ซึ่งออสเตรียได้ให้ความช่วยเหลือในเรื่องเครื่องจักรกลและคณะผู้เชี่ยวชาญ เข้าร่วมบุกเบิก-ปรับสร้างการศึกษาอาชีวะในสายช่าง-สายวิศวกรรม-ส่งบุคลากรเข้าสู่ระบบงานในอุตสาหกรรมยุคใหม่ ปัจจุบันมีนักเรียนทุกระดับรวมกว่า 5,000 คน มีความร่วมมือพัฒนาการศึกษาและทักษะร่วมกับภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ 16 แห่ง ที่เป็นบริษัททั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ทั้งด้านยานยนต์ โลจิสติกส์ แมคคาทรอนิก จนถึงด้านอากาศยาน ปัจจุบันวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Man Power management) ให้กับสำนักงานการอาชีวะฯ ในสาขาวิชาแมคคาทรอนิก หุ่นยนต์ และยังได้รับการแต่งตั้งเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางการอาชีวศึกษา (Excellence Center) ในสาขาวิชาช่างอากาศยาน สาขาเทคนิคควบคุมและซ่อมบำรุงระบบขนส่งทางราง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาความก้าวหน้าในหลากหลายสาขาวิชา ไม่ว่าเรื่องของเทคนิคเครื่องกล เทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างเครื่องมือวัดและควบคุมโดยไม่ทำลาย ฯลฯ อีกหลายสาขา ล้วนเป็นการเรียนการสอนที่มีมาตรฐานสากลรองรับแทบทุกสาขาวิชา นี่คือความก้าวหน้าและคุณภาพที่เกิดจากการบริหารจัดการที่ดี-มีความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ หลากกลุ่มมาอย่างต่อเนื่อง

นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งในจากหลายๆ ความเคลื่อนไหวก้าวหน้าของการอาชีวศึกษา ที่มีการปรับตัวมาตั้งแต่ครั้งที่สำนักงานอาชีวะฯ มีเลขาธิการที่ชื่อ ณรงค์ แผ้วพลสง ทำให้การขับเคลื่อนการศึกษา-การสร้างคน-พัฒนาทักษะอาชีวะวันนี้ เปิดให้เห็นแสงสว่างปลายอุโมงค์วาบใหญ่ เป็นการศึกษาที่ประสานสร้างอนาคตที่สัมผัสจับต้องได้จริง!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .