การพัฒนาเศรษฐกิจนั้นมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อยกระดับความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตเพื่อให้ประชาชนมีความกินดีอยู่ดีอย่างยั่งยืน นโยบายเศรษฐกิจต่างๆ จึงจำเป็นต้องมีการยึดโยงกับประชาชน
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีความหลากหลายของผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งความหลากหลายในเชิงพื้นที่ แต่ละจังหวัด แต่ละท้องถิ่น มีที่ตั้ง ภูมิประเทศ วัฒนธรรม และโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันออกไป ประชาชนมีอาชีพ มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ความต้องการบริการจากภาครัฐแตกต่างกันออกไปตามภูมิภาคและท้องถิ่นด้วย
แนวทางหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจไทยเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ก็คือ การกระจายอำนาจ (decentralization)
การกระจายอำนาจที่จะตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้นั้นต้องประกอบด้วยองค์ประกอบต่างๆ อย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่
หนึ่ง การกระจายอำนาจทางการเมือง โดยให้ประชาชนในแต่ละท้องถิ่นสามารถเลือกผู้นำของตนเองโดยตรงแทนการแต่งตั้งจากส่วนกลาง ทำให้ผู้นำท้องถิ่นมีความยึดโยงกับประชาชน มีความรู้ความเข้าใจพื้นที่และชุมชน มีความผูกพันและทุ่มเททำงานเพื่อคนในท้องถิ่น
สอง การกระจายอำนาจการบริหาร โดยให้รัฐบาลในส่วนภูมิภาคเป็นตัดสินใจ จัดหา และให้บริการสินค้าสาธารณะต่างๆ แก่ประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ แทนที่จะเป็นนโยบายจากส่วนกลางที่คิดแทนคนในแต่ละพื้นที่
สาม การกระจายอำนาจทางการคลัง เพื่อให้ท้องถิ่นมีงบประมาณที่เพียงพอต่อในการบริหารงานในพื้นที่ของตนเอง
กระแสต่อต้านการกระจายอำนาจที่ผ่านมามักอ้างถึงเหตุผลต่างๆ เช่น คนในชนบทยังขาดความรู้ ไม่ทราบว่าบริการและการลงทุนจากภาครัฐโครงการใดเป็นประโยชน์ต่อตนเองและท้องถิ่น รวมถึงอ้างถึงนักการเมืองท้องถิ่นที่โกงกิน ใช้งบประมาณไม่เหมาะสม มีการซื้อเสียง นำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า การตัดสินใจเรื่องการพัฒนาภูมิภาคยังควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลจากส่วนกลางมากกว่าท้องถิ่น
อย่างไรก็ตาม การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลางก็ไม่ได้เป็นหลักประกันว่าการบริการภาครัฐจะตอบสนองความต้องการท้องถิ่นได้ดีกว่า มีประสิทธิภาพมากกว่า โกงกินน้อยกว่า ในขณะที่การกระจายอำนาจที่แม้ว่าจะมีปัญหาที่ต้องเรียนรู้และติดตามแก้ไขไปด้วยกัน แต่ก็มีข้อดีหลายประการที่ไม่ควรละเลย
ประการแรก รัฐบาลในแต่ละท้องถิ่นทราบความต้องการของประชาชนในพื้นที่ดีกว่ารัฐบาลส่วนกลางในเมืองหลวงที่อยู่ห่างไกล นอกจากนี้ รัฐบาลที่ส่วนกลางอาจไม่ทราบหรือไม่เข้าใจบริบทและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ การสื่อสารของคนในภูมิภาคกับผู้มีอำนาจในการตัดสินใจในส่วนกลางต้องผ่านหลายขั้นตอนทำให้การออกแบบอละการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างเต็มที่
ประการที่สอง ประชาชนในแต่ละพื้นที่สามารถสอดส่องและตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาลท้องถิ่นได้ดีกว่าการใช้งบประมาณของรัฐบาลส่วนกลาง เพราะสามารถติดตามผลการใช้เงินที่มีเป้าหมายที่ชัดเจนและยึดโยงกับการให้บริการกับประชาชนในพื้นที่นั้นๆ
ประการที่สาม เป็นการสร้างการแข่งขันระหว่างท้องถิ่นต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีการสื่อสารและสื่อออนไลน์ต่างๆ ในปัจจุบันที่ทำให้ประชาชนสามารถเปรียบเทียบนโยบาย ความสามารถ และผลงานของผู้นำที่ตนเองเลือกมากับผู้นำท้องถิ่นอื่นๆ ได้ง่ายดาย ซึ่งในที่สุดแล้วเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการภาครัฐให้สูงขึ้น
แน่นอนว่าการกระจายอำนาจไม่ได้แปลว่ารัฐบาลกลางจะหมดบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประสานงานในโครงการพัฒนาที่ครอบคลุมหลายท้องที่ หรือช่วยเหลือท้องถิ่นที่ขาดแคลนบุคลากรและความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค รวมถึงการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณที่ท้องถิ่นได้รับจัดสรร
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่ผ่านมาเร็วๆ นี้ได้ก่อให้เกิดความตื่นตัวในการมีส่วนร่วมในการเมืองระดับท้องถิ่นขึ้นมาอีกครั้ง กระแสความตื่นตัวนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น ประชาชนในส่วนภูมิภาคจำนวนไม่น้อยได้แสดงความคิดเห็นว่าผู้ว่าราชการจังหวัดอื่นๆ ก็ควรมาจากการเลือกตั้งเช่นกัน
การเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการกระจายอำนาจเพื่อให้แต่ละจังหวัดมีอำนาจในการบริหารงานด้วยตนเองมากขึ้น ตอบสนองต่อความต้องการประชาชนในแต่ละจังหวัดได้ดีขึ้น
ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงแค่การให้สิทธิเสรีภาพในการปกครองตนเองแก่ประชาชนเท่านั้น แต่ยังสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับความกินดีอยู่ดีของประชาชนคนไทยอีกด้วย
คอลัมน์ เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ
ศ. ดร กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
University of California San Diego
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ทรงศักดิ์' บอกมหาดไทยมี รมช.หลายคนดีช่วยบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้เร็วขึ้น!
'ทรงศักดิ์' พร้อมสานงานมหาดไทยที่ทำไว้ ชี้มี รมช.แบ่งงานหลายคนเป็นเรื่องดี บำบัดทุกข์บำรุงสุขเร็วขึ้น ยอมรับกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นอาจมีปัญหา เพราะบริบทไทยไม่เหมือนต่างประเทศ
การยึดรัฐ: กำจัดยากแต่ต้องทำ
การทุจริตคอรัปชั่นเป็นปัญหาสำคัญที่ฉุดรั้งการพัฒนาเศรษฐกิจในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
'ชัชชาติ' บอกไม่ได้พีอาร์เกินจริง ส่วนไลฟ์สดเพราะต้องหาแนวร่วม!
'ชัชชาติ' ลั่นไม่ได้พีอาร์โอเวอร์ ชี้เลือกตั้งจบแล้วทำไปก็ไม่มีประโยชน์ มองอนาคตต่างจังหวัดอาจเลือกพ่อเมืองแต่ต้องดูกฎหมายก่อนทำได้หรือไม่!
'นิพิฏฐ์' ใจหาย 'ถวิล' ลาออกจากปชป. เผยสังหรณ์มานานแล้วว่าจะอยู่ในปชป.ไม่ได้
'นิพิฏฐ์'ใจหาย'ถวิล'ลาออกจากปชป.เผยสังหรณ์มานานแล้วว่าจะอยู่ในปชป.ไม่ได้ ชื่นชมนี่แหละปรมาจารย์ด้านการกระจายอำนาจแต่โลกปี 2565 กลับไม่มีที่ว่างให้ได้ยืน ถ้าโทรมาบอกก่อนจะให้เลี้ยวมาพรรคสร้างอนาคตไทย
'ราเมศ' รับ 'ถวิล' ลาออกสะเทือนทีมกฎหมายพรรค!
'ราเมศ' รับ'ถวิล ไพรสณฑ์' ลาออก ทำประชาธิปัตย์เสียบุคลากรสำคัญ โอดทีมกฎหมายพรรคเหลือน้อยเต็มที
นายกฯ ประชุมบอร์ดอีอีซี ก้าวสู่ปีที่ 4 ดึงเงินลงทุนแล้ว 1.7 ล้านล้านบาท
โฆษกรัฐบาล เผย นายกฯ ประชุมบอร์ดอีอีซี รับทราบภาพรวมการดำเนินงานปีที่ 4 อีอีซี ดึงเงินลงทุนแล้ว 1.7 ล้านล้านบาท ย้ำทุกหน่วยงานเร่งดำเนินงานปี 2565 ขับเคลื่อนไทยสู่ประเทศรายได้สูง ยกระดับชีวิต ปชช.ดีขึ้น