การศึกษา-พัฒนาคน ไม่ใช่แค่การสร้างวาทกรรมที่สมเหตุสมผล!

ช่วงเวลาที่ผ่านมาในกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่ หากได้มีการพิจารณาให้ถ่องแท้ถึงความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้า หรือพัฒนาการในการปรับสร้างการศึกษาและการศึกษาพัฒนาคน ที่มุ่งฉุดดึงการศึกษาออกจากโลกใบเก่า ที่จำเป็นต้องยกระดับปรับฐานให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสร้างความก้าวหน้าใหม่ ซึ่งต้องอาศัยความรู้-ความคิด-ความเข้าใจ-ทักษะชุดใหม่ เพื่อเชื่อมกับความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี นวัตกรรม วิศวกรรม และวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ ขับเคลื่อนสังคมโดยรวมเข้าสู่โลกเศรษฐกิจใหม่แบบ Thailand 4.0 นั้น

คงจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “การศึกษา” และ “การพัฒนาบุคลากร” เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เป็นฐานหลักของสังคมที่เป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนสร้างความก้าวหน้าใหม่ ที่จะส่งผลตั้งแต่ตัวตนการดำรงชีวิต สังคม การงาน ไปจนถึงการสร้างเศรษฐกิจใหม่โดยรวม ซึ่งการศึกษานั้นสำคัญยิ่ง! ถ้าไม่อาจปรับรับกับความก้าวหน้าเปลี่ยนแปลงใหม่ สังคม-เศรษฐกิจโดยรวมก็ไม่อาจขยับขับเคลื่อนต่อไปได้!

การปรับสร้างการศึกษาและการพัฒนาคนวันนี้ หากพิจารณาให้ถ่องแท้จะพบว่ามีหลายภาคส่วนที่ความพยายามขยับปรับเคลื่อนการศึกษาไปข้างหน้า ขณะที่มันเคลื่อนไหวอยู่ใต้อำนาจครอบงำของรัฐราชการ ซึ่งทำให้ความเคลื่อนไหวของการศึกษาโดยรวมแม้จะมีการขยับตัวบ้าง แต่ก็ไปได้แบบช้ามาก-มีก็แต่ในจุดเล็กๆ บางจุด-บางกลุ่มที่ก้าวไปได้ไกลทีเดียว!    ความเคลื่อนไหวในสภาพรวมเยี่ยงนี้หากการศึกษาและการพัฒนาคนยังไม่อาจปรับสร้าง-เปลี่ยนแปลงมากกว่าที่เป็นอยู่วันนี้ได้ ความก้าวหน้าของประเทศก็น่าเป็นห่วงยิ่ง! เพราะความรู้ทักษะใหม่ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีวันนี้นั้น เคลื่อนไปข้างหน้าแบบก้าวกระโดด-รวดเร็วทุกวันทีเดียว!

ถ้าเจาะลึกส่องดูเงื่อนปมปัญหา ที่ทำให้การปรับตัวเปลี่ยนแปลงในการปรับสร้างการศึกษาและการพัฒนาคนว่าทำไมมันเคลื่อนไปได้ช้า จะพบว่า หนึ่ง.. ความคิดฝังลึก (mindset) และวิสัยทัศน์ (vision) ของกลุ่มคนที่มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานั้น ยังผูกติดอยู่กับความคิด-ความรู้ในระบบวงจรแบบเก่าๆ ที่มองไม่เห็นหรือขาดความเข้าใจกระจ่างชัดต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ส่งผลให้เกิดสิ่งแวดล้อมใหม่ในระบบชีวิตและสังคม-เศรษฐกิจ ฯลฯ ซึ่งการปรับสร้างวิสัยทัศน์-ความคิด-ความรู้-ความเข้าใจใหม่ ที่จะส่งผลต่อความคิดฝังลึกชุดใหม่ เป็นเรื่องที่ต้องสัมผัสเห็น-มีประสบการณ์-มีความรู้ที่เข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงของโลกใบใหม่ โดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจ-ฐานการผลิตและบริการ-การสื่อสาร-และปฏิสัมพันธ์ที่สังคม-เศรษฐกิจ ที่มีผลต่อกันในโลกแวดล้อมใหม่ โดยความรู้-ความเข้าใจเหล่านี้ หากผู้มีบทบาทหน้าที่ในการศึกษาไม่มีความรู้-ความเข้าใจที่ชัดเจน การขับเคลื่อนการศึกษา-การพัฒนาคนก็จะเกิดขึ้นแบบขาดวิ่น-กระจัดกระจาย จากความเข้าใจขาดๆ เขินๆ ซึ่งจะไม่ส่งผลดีแต่อย่างใดต่อการบริหารจัดการการศึกษาและการพัฒนาคน มากกว่านั้น อาจจะทำให้การพัฒนาการศึกษาหลงทิศ-หลงทาง เข้าใจไปเองว่าได้ปรับสร้างการศึกษาในทิศทางใหม่อีกต่างหาก!

สอง...ระบบการศึกษาที่เคลื่อนไหวอยู่ใต้กลไกอำนาจ-ระบบราชการที่ยิบย่อยอย่างไม่สร้างสรรค์ จะพบว่า พื้นฐานของกลไกเหล่านี้มักเป็นกลไกของการจองจำ กำกับสั่งการ และกำราบลงโทษ มากกว่าที่จะสร้างการคิดริเริ่มสร้างสรรค์-การสนับสนุนให้ปรับตัวเคลื่อนไหวยืดหยุ่นรับความเป็นจริง ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาที่หมักหมมที่บ้านเมืองและผู้คนกำลังเผชิญอยู่ สภาพรวมในการปรับสร้าง-จัดการปัญหาการศึกษา-การพัฒนาคน ที่เคลื่อนไหวอยู่ใต้กฎระเบียบ-กติกาเยี่ยงนี้ จะทำให้การศึกษาได้รับผลไม่ต่างจากการจัดการศึกษา-การพัฒนาคนที่ผ่านๆ มาคือ มากด้วยความสูญเปล่ามหาศาล! ความขัดแย้ง แตกแยก! และการปล่อยให้งานเลื่อนไหลไปตามบงการของระเบียบระบบ! โดยที่สังคมต้องรับภาระความสูญเปล่ามากมหาศาลที่เกิดขึ้นร่วมกัน นี่คือประสบการณ์ที่สังคมไทยได้รับตลอดมา! ซึ่งเรื่องนี้ถึงเวลาแล้วที่ต้องแก้ไขรื้อสร้างระบบระเบียบให้มีทิศทางใหม่ที่สร้างสรรค์ ปลดแอกการกำกับครอบงำที่ไม่โปร่งใสให้พ้นไป! เพราะจะเป็นการสร้างสิ่งแวดล้อมหลักที่สำคัญในการจัดการปัญหาการศึกษาและการพัฒนาคนในบ้านเมืองเราต่อไป!

สาม...การศึกษาและการสร้างคนต้องคำนึงถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมและความโปร่งใส ซึ่งต้องยอมรับว่า สิ่งแวดล้อมในการจัดการศึกษาและการพัฒนาคนที่ผ่านมา ยังเคลื่อนไหวที่อยู่ในโลกใบเก่าที่ตรึงอยู่ในกรอบและฐานที่ไม่เปิดกว้างให้เข้าถึงการเรียนรู้ ความรู้ และการพัฒนาทักษะ ฯลฯ ขณะที่สิ่งแวดล้อมและการจัดการยุคใหม่-ในโลกใบใหม่นั้น เป็นการศึกษา-การจัดการความรู้แบบเปิดกว้าง เข้าถึงได้ง่าย-ไม่จำกัดเวลา สถานที่ ชนชั้น และเขตแดน ผ่านเครือข่ายการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง ก้าวข้ามสภาพแวดล้อมที่ปิดกั้นด้วยระบบระเบียบเก่า-ความคิด-และโลกแวดล้อมเก่า ที่ไม่ช่วยสร้างสรรค์-เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เลย แถมยังเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการเรียนรู้และการพัฒนาคนอย่างยิ่ง ในโลกใบใหม่จึงจำเป็นต้องสร้างสิ่งแวดล้อมใหม่ในการจัดการศึกษา-การเรียนรู้ พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้-การพัฒนาคนเข้าสู่ระบบเปิด ที่เชื่อมโยงกับแหล่งงาน-แหล่งความรู้-เครือข่ายการเรียนรู้-การสร้างความรู้-การพัฒนาทักษะใหม่อย่างจริงจัง

สี่...ในการจัดการศึกษา-พัฒนาคน ไม่ใช่เป็นเรื่องการสร้างความสมเหตุสมผลให้ดูดีและให้กำลังใจกันเอง-หล่อเลี้ยงอีโก้-ขาดการคำนึงถึงผลลัพธ์จริง (ไม่ใช่ผลลัพธ์ลวงๆ) จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างแพลตฟอร์มประสานสร้างให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ เป็นแหล่งการเรียนรู้พัฒนาความรู้-ทักษะใหม่ที่เชื่อมกับพื้นที่ทำงาน-กลุ่มงานที่มีทักษะ-แหล่งความรู้ใหม่ เช่น ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมด้านการผลิต บริการ หรือเชื่อมกับแพลตฟอร์มผู้ประกอบการยุคใหม่ ซึ่งจะช่วยพัฒนาคนให้เกิดการจัดการศึกษาบนฐานของประสบการณ์ใหม่-การเรียนรู้ใหม่ ที่ตอบโจทย์ชีวิต-การงาน-การเรียนรู้-การสร้างทักษะใหม่ ที่ประหยัดเวลาและทรัพยากรได้มากที่สุด

ทั้งหมดนี้คือภาพรวมความเคลื่อนไหวใหม่ ที่ต้องนำสู่การขับเคลื่อนปรับสร้างการศึกษาการเรียนรู้ยุคใหม่ ที่ไม่ใช่เป็นอย่างที่ผู้รับผิดชอบหลายฝ่ายกำลังทำกันอยู่คือแค่ สร้างภาพที่ให้ดูว่ามีการจัดการที่มีความสมเหตุสมผล-ที่ไม่รับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นแต่อย่างใด!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .