โลกที่เหลื่อมล้ำกับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

โทมัส พีเก็ตตี (Thomas Piketty) นักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศสชื่อก้องโลก อดีตอาจารย์เอ็มไอที ที่ทุ่มเททำงานศึกษาวิจัยเรื่อง “ทุนนิยมในศตวรรษที่ 21” ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในงานวิจัยที่น่าสนใจนี้ ว่า...พวกเรา ผู้อยู่ในจุดเริ่มต้นของศตวรรษที่ 21 นี้ ก็มีสภาพเดียวกับที่บรรพบุรุษของเราเคยเป็น เมื่อช่วงศตวรรษที่ 19 นั่นเอง คือเรากำลังพบเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในด้านเศรษฐกิจทั่วโลก และเป็นเรื่องยากมากที่เราจะรู้ว่า นับจากนี้อีกหลายทศวรรษมันจะขยายขอบเขตไปมากแค่ไหน หรือการกระจายความมั่งคั่งของโลกจะเป็นอย่างไร ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ...

การเผชิญความเปลี่ยนแปลงในวันนี้ทั่วทั้งโลกต่างเผชิญความผันผวนเปลี่ยนแปลงที่รุนแรงรวดเร็ว ซึ่งทุกฝ่ายให้ความสนใจกับโลกใหม่ของการเปลี่ยนแปลง-เติบโต และปัญหาความเหลื่อมล้ำที่กำลังขยายถ่างช่องว่างมากขึ้นในสังคมโลก โดยเฉพาะการเติบโตยุคศตวรรษที่ 21 ที่ “ทุน” ได้ผนวกผสานกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งขยายช่องว่างความเหลื่อมล้ำรุนแรงขึ้นทุกขณะ!

หนึ่งในปัจจัยการค้นพบกลไกทุนนิยมที่คืบคลานจากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน โทมัส พีเก็ตตี พบว่า “ทุน” มีบทบาทสำคัญที่เป็นกลไกสร้างให้เกิดความไม่เท่าเทียมและทางช่องว่างขึ้น และขยายสร้างความเหลื่อมล้ำในสังคมขึ้น จนปรากฏรูปแบบความเหลื่อมล้ำในหลายมิติ ไม่ว่ามิติชนชั้นทางเศรษฐกิจในสังคมต่างๆ หรือการเกิดความต่างระหว่างเมือง-ชนบท หรือในสถานะการจัดการทางเศรษฐกิจระหว่างผู้บริหาร-ผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ เป็นต้น ความเหลื่อมล้ำที่ว่านี้ปรากฏขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก

มีการศึกษาเรื่องนี้ในหลายประเทศพบว่า สัดส่วนรายได้ในสหรัฐอเมริการาวร้อยละกว่า 80 แต่ละปี-ตกอยู่ในมือของคนจำนวนน้อยนิดไม่ถึงร้อยละ 10 ซึ่งทิศทางความเคลื่อนไหวของกลไกเศรษฐกิจทุนนิยมนี้ เป็นเหมือนๆ กันในเกือบทุกภูมิภาคของโลก เป็นทิศทางการกระจายตัวของรายได้ที่ไม่เอื้อต่อการจัดการความเหลื่อมล้ำ ซึ่งหนึ่งในนั้นเกิดจากผลตอบแทนของ “ทุน” ที่สูงกว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งมันซ้ำเติม-ขยายช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจนให้กว้างออก จนสร้างปัญหาความเหลื่อมล้ำไปทั่วโลก!

สำหรับประเทศไทยก็ไม่ต่างจากบ้านเมืองสังคมอื่นๆ ที่เผชิญปัญหาความเหลื่อมล้ำนี้เช่นกัน มักปรากฏขึ้นทั้งจากการพัฒนาแนวราบ ที่สร้างช่องว่างระหว่างการเข้าถึงทรัพยากรของเมืองกับชนบทและในแนวดิ่ง จากการพัฒนาที่พึ่งพา “ทุน” ซึ่งขาดการออกแบบ-การสร้างสิ่งแวดล้อมและการจัดการที่ดี จนทำให้มันขยายช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนกว้างมากขึ้น!

ภาพรวมของสังคมไทยศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบัน เศรษฐกิจสังคมของประเทศไทยต้องปรับตัวรับกับความเปลี่ยนแปลงก้าวหน้าใหม่อย่างหนัก โดยใช้เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี เป็นพื้นที่การขับเคลื่อน-กระตุ้นสร้างความก้าวหน้าใหม่ ที่ต้องการปรับสร้างความก้าวหน้าใหม่ให้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนไป ปรับลดความเหลื่อมล้ำ และมุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจให้ปรับเปลี่ยนรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี-นวัตกรรม เศรษฐกิจ-การค้า-การลงทุน และการดำเนินชีวิตยุคใหม่ ผ่านการดึงการลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อใช้เป็นฐานสร้างการขยายตัวทางเศรษฐกิจ-สั่งสมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี-ความรู้ยุคใหม่ ผ่านกระบวนการพัฒนาบุคลากรและการร่วมทุน ในการที่จะพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมที่เป็นตัวของตัวเองในระยะยาวที่ยั่งยืนต่อไป

เป้าหมายการลงทุน 2.4 ล้านล้านบาท ตามภารกิจของอีอีซีนั้น มีการขยายตัวดึงการลงทุนยุคใหม่ การพัฒนาและการปรับสร้างความร่วมมือประสานให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะเทคโนโลยี วิศวกรรมและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูงโดยลำดับ ได้สร้างให้เกิดความร่วมมือขึ้นกับหลากหลายผู้ประกอบการและสถาบันที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ ซึ่งทั้งเทคโนโลยีความก้าวหน้าจากญี่ปุ่น จีน เกาหลี กลุ่มโลกตะวันตก เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิส และสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ซึ่งนับเป็นการขยับก้าวปรับฐานเศรษฐกิจของประเทศในเชิงบวกที่ดีมากทีเดียว

ในด้านการจัดการท้องถิ่นและกลุ่มสังคมฐานรากของประเทศ โดยเฉพาะในชุมชนในอีอีซี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำก็มีการขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลง และสร้างกิจกรรมความก้าวหน้าใหม่ควบคู่ไปกับการลงทุนใหม่ และมีการกระตุ้นปรับปรุงเศรษฐกิจสังคมในชุมชนท้องถิ่นไปด้วยกันหลากหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมด้านการท่องเที่ยวฐานชุมชน การพัฒนาการท่องเที่ยวกลุ่มสุขภาพ-เวลเนส การพัฒนาการศึกษาพื้นฐานของโรงเรียนในสังกัดเมืองพัทยา อบจ.ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา การสร้างงานสมาร์ท ฟาร์ม และสร้างเครือข่ายการตลาด e-commerce ให้กับชุมชนและกลุ่มเกษตรกร รวมถึงกระตุ้นสร้างการมีส่วนร่วมในฐานของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาในพื้นที่ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวของกิจกรรมด้านสังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและการพัฒนายุคใหม่หลากหลายรูปแบบ

ทั้งหมดนี้คือความเคลื่อนไหวจากอีอีซี ที่มีการขับเคลื่อนงานหลากหลายกิจกรรมในพื้น นอกจากนั้นยังได้รับความร่วมมือที่ดีจากภาคอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการภาคเอกชนหลากกลุ่ม เข้าร่วมพัฒนาความก้าวหน้าใหม่ จากระบบโรงงานจนถึงกลุ่ม SMEs ในห่วงโซ่อุปทานของแต่ละสาขาการผลิต ที่ช่วยกันยกระดับประเทศไทยสู่ Thailand 4.0 ที่จัดปรับทิศทางให้เกิดสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนให้ผู้คน ชุมชน สิ่งแวดล้อม และความก้าวหน้าใหม่ในการดำเนินชีวิตในท้องถิ่น ที่จะขยายตัวสู่สังคมไทยโดยรวมต่อไป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .