พิมพ์เขียวนโยบาย พปชร. สู้เลือกตั้ง-ชู 3 เสาประชารัฐ

ช่วงนี้พรรคพลังประชารัฐมีความเคลื่อนไหวออกมาเป็นระยะ ในเรื่องการเมือง-การเตรียมการเลือกตั้ง เช่นการที่พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค มีการแบ่งโซนพื้นที่ให้แกนนำพรรคแต่ละคนรับผิดชอบดูแลอย่างเป็นทางการ เพื่อเตรียมเซตสรรพกำลังให้พร้อมสำหรับการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น  ขณะเดียวกัน พรรคก็จะจัดกิจกรรมเดินสายเปิดเวทีพบประชาชนในหลายจังหวัดทั่วประเทศเพื่อรณรงค์-สร้างกระแสพรรค โดยเริ่มตั้งแต่ 10 กรกฎาคม ที่หน้าศาลากลางจังหวัดชลบุรี ตามยุทธการเตรียมพร้อมเข้าสู่โหมดเลือกตั้ง ภายใต้ แคมเปญ "พลังประชารัฐ พลังเพื่อชาติไทย"

นอกจากนี้ ในเรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับนโยบายพรรคที่จะใช้ในการรณรงค์หาเสียง ก็เป็นเรื่องสำคัญไม่น้อย เพราะการเมืองยุคปัจจุบันคนให้ความสำคัญกับเรื่องนโยบายในการหาเสียงมากขึ้น จนกลายเป็นปัจจัยหนึ่งในการจะลงคะแนนเสียงเลือกผู้สมัคร ส.ส.และพรรคการเมืองในช่วงการเลือกตั้ง

เรื่องดังกล่าว แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ เหรัญญิกพรรคพลังประชารัฐและหัวหน้าทีมนโยบายพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงความคืบหน้าในการเตรียมพร้อมเรื่องนโยบายพรรคที่จะใช้ในการหาเสียง โดยมีรายละเอียดดังนี้

- จุดแข็งของนโยบายพลังประชารัฐเป็นอย่างไร จะเน้นเรื่องเศรษฐกิจ?

โดยรวมแล้วพรรคพลังประชารัฐมีโครงสร้างของนโยบายอยู่ 3 เสาด้วยกัน ตั้งแต่เริ่มต้นก่อตั้งพรรค เรามองว่า          

1.ต้องมีสวัสดิการประชารัฐ

คือประชาชนคนไทยต้องเข้าถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน เพราะในสังคมก็มีคนหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มเปราะบาง ที่ต้องไปดูว่าสวัสดิการที่เหมาะสมควรจะเป็นอะไร เพื่อให้เขาไม่ต้องมากังวลว่าพรุ่งนี้เขาจะเอาอะไรกิน เจ็บปวดจะไปรักษาที่ไหน ตรงนี้เป็นคำว่าสวัสดิการประชารัฐ

วันที่เราร่างนโยบายเรื่องสวัสดิการประชารัฐ ไม่ใช่ดูเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยหรือเรื่องบัตรสวัสดิการอย่างเดียว จริงๆบัตรสวัสดิการประชาชนคนไทยควรจะมีทุกคน ที่ควรจะเป็นบัตรประชาชนเรา อย่างเรามี 1 ใบ และอีกคนมีอีก 1 ใบ แต่สวัสดิการของเราไม่เหมือนกัน ถ้าเรามี Big Data ของสวัสดิการสำหรับคนไทยทั้งประเทศที่รวมอยู่ในฐานเดียว เราจะ customize สวัสดิการที่เหมาะกับแต่ละคนได้ เช่น เด็กแรกเกิดควรจะได้สวัสดิการอะไร สมมุติเข้าอยู่ในโครงการมารดาประชารัฐ ได้รับยาได้รับอะไรต่างๆ จนเมื่อเข้าโรงเรียนแล้วได้รับสิทธิอย่างอื่น และเข้าสู่วัยทำงาน สมมุติเป็นแรงงานในระบบไปอยู่ในมาตรา 33 สวัสดิการก็แบบหนึ่ง เป็นรายงานนอกระบบสวัสดิการก็อีกแบบหนึ่ง รวมถึงกลุ่มผู้เกษียณ-ผู้สูงอายุก็บัตรประชาชนใบเดียว ที่ก็คือทุกคนควรจะได้รับสวัสดิการจำเป็นขั้นพื้นฐาน

สมมุติเราเป็นแรงงานอยู่ในตัวเมืองรายได้เราอาจจะเกิน แสนบาทต่อปี เราไม่ใช่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่เราอาจจะเป็นคนจนในเมือง เพราะค่าครองชีพมันสูง ขึ้นรถไฟฟ้าแล้วก็ต้องต่อรถมอเตอร์ไซค์กว่าจะถึงที่ทำงาน ค่าโดยสารในการเดินทางไป-กลับต่อวันเกิน 20% ของรายได้ และยังมีค่าเช่าบ้าน-ค่าน้ำค่าไฟ เลยกลายเป็นคนจนในเมือง

สวัสดิการสำหรับคนในเมืองควรจะเป็นอะไร ซึ่งมองว่าไม่น่าจะไปขีดเส้นแค่ 100,000 บาทต่อปี ใช้ได้ไม่เกินแสนบาทต่อปีถึงจะได้สวัสดิการเท่านั้น มันไม่ใช่ มันต้อง customize ได้ ถ้าเรามีฐานข้อมูลตรงนี้ เราจะสามารถจัดสวัสดิการที่เหมาะกับประชาชนคนไทยได้ อันนี้คือแนวคิดสวัสดิการประชารัฐของเรา พอประชาชนคนไทยพูดถึงสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานได้แล้ว จึงจะต่อยอดไปเป็นเศรษฐกิจประชารัฐได้ ที่เป็นเสานโยบายที่สอง

2.เศรษฐกิจประชารัฐ

แนวทางก็เช่น ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ย้ายแรงงานภาคการเกษตรไปยังภาคอุตสาหกรรม-ภาคของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมมากขึ้น แล้วก็ส่งเสริมเรื่องเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมในเรื่องของการที่จะให้ ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผ่านกองทุนต่างๆ หรือรูปแบบอื่นใดก็ตาม ซึ่งมีหลายเรื่องที่เราเขียนเอาไว้ในเรื่องของเศรษฐกิจประชารัฐ

เสาที่ 3.สังคมประชารัฐ

เพราะสวัสดิการดี เศรษฐกิจไปได้ สังคมก็จะดีตาม แต่ว่าเราก็ต้องวางนโยบายไว้เช่นเดียวกัน เช่นเรื่องยาเสพติด เราต้องจริงจังกับเรื่องของสังคมประชารัฐสีขาวที่ตอนนั้นเราเขียนเอาไว้ เรื่องของสิ่งแวดล้อมที่เราให้ความสำคัญ สังคมประชารัฐสีเขียว เพื่อสะท้อนเรื่องของการเอาจริงเอาจังกับเรื่องความปลอดภัย ชีวิตความเป็นอยู่-สิ่งแวดล้อมของประเทศ

ก็เป็น 3 เสาของนโยบายหลักๆ 3 เรื่อง แต่ว่ารายละเอียดที่จะเอาไปใส่ในแต่ละเรื่องจะให้สอดรับกับแต่ละบริบทของพื้นที่ ซึ่งก็จะแตกต่างกันไป คงไม่ใช่นโยบายกลางอย่างเดียว เช่น ภาคเหนือ ก็ต้องการเรื่องหนึ่งอาจจะเป็นเรื่องของที่ทำกิน สินค้าเกษตรที่เป็นของภาคเหนือ เช่น ลำไย จะเอายังไง หรือภาคอีสานก็จะเป็นเรื่องการบริหารจัดการน้ำ ภาคใต้อาจจะเป็นเรื่องของประมงก็จะแตกต่างกันไป ซึ่งน้ำหนักของแต่ละนโยบายจะแตกต่างออกไปในแต่ละพื้นที่เช่นเดียวกัน

ศ.ดร.นฤมล กล่าวว่า หลังเกิดโควิด ผลกระทบในทางเศรษฐกิจที่หนัก ทำให้นโยบายพรรคพลังประชารัฐก็จะไม่เหมือนกับช่วงปี 2561-2562 ที่อยู่ในช่วงการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว เพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องของการสานต่อนโยบายที่ได้ทำมาแล้ว และจะทำต่อยอด ที่เมื่อวันนี้สถานการณ์มันเปลี่ยนไปตามเศรษฐกิจ พรรคต้องปรับนโยบายกันใหม่

....สิ่งที่เราต้องทำก็คือ ต้องทำทั้งสองระดับ นั่นก็คือ เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ที่จะพาประเทศไปข้างหน้าเพื่อที่จะทำให้ประเทศหลุดจาก Middle Income Trap ตรงนี้ได้ ซึ่งเราเป็นกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางมานานมาก โดยการที่จะหลุดจากตรงนี้ได้ เราต้องใช้การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ

การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจไม่ใช่แค่การเยียวยากลุ่มเปราะบาง หรือเยียวยากลุ่มเกษตรกร แต่ต้องจัดกันใหม่หมดเลยว่า แล้วถ้าเราจะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง นั่นหมายความว่าเราต้อง Move จากภาคเกษตรกรรม ไปเป็นภาคอุตสาหกรรม แล้วต้องเป็นภาคอุตสาหกรรมฐานนวัตกรรม ซึ่งมันไม่ใช่แค่เรื่องของการหานักลงทุนต่างชาติมาลงทุนอย่างเดียว แต่ต้องเตรียมความพร้อมของแรงงานของบุคลากรในประเทศ ที่ว่ากันตั้งแต่การปฏิรูปการศึกษาเพื่อที่จะรองรับตรงนี้ รวมถึงตลาดแรงงานที่ต้องเปลี่ยนไป

ประกอบกับที่สำคัญอย่างยิ่งคือสัดส่วนของ labour force ของแรงงานทั้งหมด ที่พบว่าสัดส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ภาคการเกษตร ที่เราก็รู้กันว่าภาคการเกษตรรายได้น้อย ที่เป็นผลทำให้การคำนวณออกมาแล้วในตัวของ Per Capita Income รายได้เฉลี่ยต่อบุคคลของประชากรไทย จึงยังขยับขึ้นไม่ได้ เพราะว่าเรายังปล่อยให้เขาทำการเกษตรแบบเดิมแล้วก็จำนวนของแรงงานภาคการเกษตรก็เยอะมาก

               สิ่งที่เราจะเสนอคือต้องกล้าที่จะปรับเปลี่ยนสัดส่วนของแรงงานภาคการเกษตรจากที่ทุกวันนี้อยู่ที่ประมาณกว่า 40% ของแรงงานทั้งหมด ซึ่งสัดส่วนที่เหมาะสมจะค่อยๆปรับโดยเป้าหมายจะอยู่ที่ประมาณสัก 25% ก็เพียงพอ แล้วขยับแรงงานกลุ่มนี้ไปทำภาคอื่นๆ

เพราะว่าถ้าเราไปดูจริงๆ แรงงานภาคการเกษตร 40% ที่บอก ทุกวันนี้อายุของเกษตรกรเกิน 60 ปีค่อนข้างเยอะแล้วเราบอกว่าให้ทำเกษตรแบบอัจฉริยะ smart farmer เขาก็ปรับยาก ในขณะที่เด็กที่จบใหม่ สมมุติว่าเป็นลูกหลานของเกษตรกร ก็อาจจะไม่อยากทำการเกษตร เราต้องเปิดโอกาสให้เขาไปทำอย่างอื่นได้ เขาอาจจะอยากทำความเจริญให้กับบ้านเกิดเมืองนอนของเขา แต่มันอาจจะเป็นในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่การเกษตรอย่างเดียว โดยอาจจะไปต่อยอดจากอุตสาหกรรมการเกษตรในจังหวัดหรือในหมู่บ้าน ทำเป็นธุรกิจเพื่อสังคมหรือวิสาหกิจชุมชน      

ตรงนี้เป็นนโยบายทั้งหมดที่พรรคเราจะเข้าไปสนับสนุน แต่ต้องปรับที่โครงสร้างก่อนคือ เราจะต้องกล้าวางโครงสร้างใหม่ เพราะว่าสัดส่วน GDP ของประเทศ ส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ภาคการส่งออก อย่างภาคการเกษตรที่เราบอกว่าแรงงานมีอยู่ กว่า 40% ของเราอยู่ในภาคการเกษตรแต่รายได้ของภาคการเกษตรนับเป็นสัดส่วนของ GDP อยู่ที่แค่ประมาณ 10% แรงงานเกือบครึ่งหนึ่งของประเทศสร้างรายได้ GDP ไม่ถึง 10% ตรงนี้มันจะไม่ไปด้วยกัน ถ้าตราบใดเราไม่ได้ปรับตรงนี้ เราก็ยังอยู่ในกลุ่มของรายได้ปานกลาง อยู่อย่างนี้ไปเรื่อย เผลอๆ จะถดถอยด้วยซ้ำ เพราะว่าประเทศอื่น ก็ปรับกันหมดแล้ว

สมมุติว่าเราขยับไปได้ถึง 25% ของแรงงานในภาคการเกษตร แค่นี้พอแล้ว จากนั้นก็ต้องทำการเกษตรแบบใหม่ ที่มี Productivity เพิ่มขึ้น คือต้องไปคู่กันเพราะจำนวนแรงงานน้อยลง แต่พอ Productivity เพิ่มขึ้น เราก็สามารถแปรรูปต่อยอดเพื่อให้มูลค่าของสินค้าทางการเกษตรสูงขึ้น ไม่ใช่แค่ขายข้าวหรือขายข้าวโพดอย่างเดียว แต่สามารถต่อยอดเป็นธุรกิจ Bio economy ได้ เช่นไปเป็นกลุ่มยา ก็จะทำให้ยอดรายได้ของสินค้าภาคการเกษตรจะสูงขึ้น และก็จะได้มีสัดส่วนแชร์ใน GDP มากขึ้นโดยไม่ต้องพึ่งพิงแรงงานตรงนี้เยอะไป 

- ฟังดูเหมือนว่าการหาเสียงครั้งหน้าพรรคพลังประชารัฐจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการปฏิรูปเกษตรและเรื่องที่ดินเกษตรกร?

ก็ด้วย และเรื่องโครงสร้างของเศรษฐกิจทั้งหมด แต่ในขณะเดียวกันเรื่องอื่นอย่างเช่น เศรษฐกิจ-ฐานนวัตกรรม ที่บอกไว้ตอนต้น ต้องสนับสนุนให้เกิดขึ้น รวมถึงต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของคนในประเทศ หรือการที่จะสานต่อโครงการ EEC หรือเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะไปทำตรงพื้นที่ส่วนใดอีก ที่จะส่งเสริมให้พวกที่เป็นเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม ได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษตามหลักของ BOI ที่ปรากฏว่าพอนักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุน อย่างเช่นเกาหลีใต้ บางโรงงานที่เป็นเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมเขาจะเข้ามาลงทุน เขาถามคำถามแรกเลยว่ามีวิศวกรสาขาต่างๆ มีจำนวนเท่าไหร่ แล้วพอฝ่ายไทยตอบกลับไป เขาบอกมีไม่พอ คงไม่มา คือมันไม่ใช่แค่แรงจูงใจในเรื่องของสิทธิประโยชน์หรือ BOI เพราะเวลานักลงทุนต่างชาติจะเข้ามาลงทุน เขามองหลายอย่าง เช่นเรื่องความพร้อมของภาคแรงงาน-โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ว่ามีความพร้อมหรือไม่ รวมถึงความมั่นคงทางการเมืองด้วย เพราะว่าถ้าเกิดประเทศไทยมีนโยบายปรับเปลี่ยนไปตามการเมือง การลงทุนของเขาก็จะเสี่ยงมาก.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

“รมว.นฤมล”นำถก อนุฯ นบข.ด้านการผลิต มีมติยกเลิกโครงการปุ๋ยคนละครึ่ง เปลี่ยนเป็นช่วยชาวนาไร่ละ 500 บาท ไม่เกิน 20 ไร่

ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติด้านการผลิตครั้งที่ 1/2567

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย