การอาชีวศึกษาใหม่ ที่เร่งปรับตัวเบ่งบานก้าวหน้าทันโลก

การจับมือกันของคณะทำงานด้านการศึกษาฯ ใน EEC กับภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันเคลื่อนไหวปรับสร้าง-รื้อสร้างการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรยุคใหม่ในพื้นที่ EEC ช่วงตั้งแต่กว่า 2 ปีที่ผ่านมา วันนี้ได้เห็นการผลิดอก-ออกผล ปรับสร้างความก้าวหน้าขับเคลื่อนการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรที่เท่าทัน-เท่าเทียมความรู้และทักษะยุคใหม่อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งระดับการศึกษาพื้นฐาน การศึกษาอาชีวะ และอุดมศึกษา

ถ้าย้อนไปพิจารณาสภาพการศึกษาที่ต้องการการปรับตัว-ปรับสร้างความคิด การตระหนักรู้ และปฏิบัติการเพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษา-การพัฒนาบุคลากรสู่โลกใบใหม่ในยุคอุตสาหกรรม 4.0 จะพบว่าสภาพการศึกษาของบ้านเมืองเราก่อนหน้าที่จะขับเคลื่อนการศึกษาสู่โลกใหม่ ที่มีการปรับฐานคิด-ความคิดฝังลึก หรือมายด์เซต บนฐานของข้อเสนอเชิงมาตรการในระบบการพัฒนาบุคลากรในแบบอีอีซีโมเดล ที่ปรับทิศทางให้เข้าสู่ระบบที่ตอบโจทย์ความต้องการจริง หรือ demand driven ที่รับรู้กันในปัจจุบันนั้น

สภาพการศึกษาทั้งระบบถูกกดจม-ปิดกั้น-กดทับอยู่ในโลกใบเก่า ที่ลากยาวมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ผ่านเข้าศตวรรษที่ 20 โดยไม่มีท่าทีว่าจะจัดปรับตัวสู่โลกศตวรรษที่ 21 ได้เลย! ไม่ว่าจากสภาวะของความรู้-ทักษะ หรือระบบระเบียบที่รวมศูนย์โดยรัฐราชการ ทำให้การศึกษาที่ก่อรูปจากแก่นแกนของภารกิจในการสร้าง-สะสมทุนให้กับทรัพยากรมนุษย์ ถูกบิดเบือนไปจนกลายเป็นแค่เครื่องประดับของชีวิตในสังคม ที่ต้องการแค่ใบปริญญาเพื่อแสดงตัวตน-โดยไม่มีความรู้และทักษะแท้จริง! สภาพดังกล่าวก่อตัวเป็นค่านิยมที่ส่งผลเสีย-ความสูญเปล่ามากมหาศาลให้สังคมและระบบการศึกษาไทยยิ่ง!

ผู้คนมุ่งไขว่คว้าหาปริญญา-สมาทานปริญญากันเต็มบ้านเมือง แต่ไม่มีงานทำ-ตกงาน ไม่มีความรู้และขาดทักษะในการดำรงชีวิต มีสภาวะบิดเบือนการพัฒนาเศรษฐกิจและความก้าวหน้าของตนเอง สภาพเยี่ยงนี้ขยายกว้างขึ้นจนกลายเป็นหุบเหวปัญหาที่ลึกกว้าง-เวิ้งว้างต้องการการฟื้นฟูเยียวยาอย่างจริงจัง ด้วยว่า โลกเปลี่ยน-ประเทศต้องการสร้างความก้าวหน้าใหม่ให้เท่าทันโลกใหม่ ซึ่งเป็นโลกที่มีพลวัตการเปลี่ยนแปลงใหม่ที่ต่างจากโลกเก่าเกือบจะสิ้นเชิง ไม่พึ่งพาฐานความรู้และทักษะแบบเก่าอีกต่อไป เป็นการเปลี่ยนแปลงจากโลกอนาล็อกสู่โลกดิจิทัล ที่การศึกษาต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยและท้าทายยิ่ง!

ในทุกวิกฤตย่อมมีโอกาสเสมอ การปรับสร้างทิศทางการศึกษา-การพัฒนาคนยุคใหม่ เริ่มขึ้นจากการสำรวจความก้าวหน้าใหม่ของคณะทำงานด้านการพัฒนาบุคลากรใน EEC ที่ศึกษาตามแนวนโยบายการพัฒนาประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนดขึ้น 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยสำรวจระดับความรู้-ความต้องการบุคลากรทั้งในเชิงจำนวนปริมาณและคุณภาพตามความต้องการจริง ซึ่งมีผลสรุปจำนวนความต้องการกว่า 5 แสนคนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มความต้องการระดับอาชีวะราวร้อยละ 54 จากความต้องการบุคลากรทั้งหมด

ตัวเลขจำนวนรวมของความต้องการนี้ ถูกนำเสนอเพื่อกระตุ้นให้สังคมรับรู้ว่าการศึกษาที่ผลิตบุคลากรอยู่ต้องปรับตัวตอบโจทย์ความก้าวหน้ายุคใหม่ที่เป็นจริง ไม่อาจผลิตบุคลากรตามสภาพที่เป็นมา-เคยชินอย่างขาดความรับผิดชอบอีกต่อไป! เพราะจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่ตกงานแต่ละปีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกขณะ ประกอบกับมีความเรียกร้องต้องการเป็นแรงผลักดันจากสถานประกอบการมากมายดังกระหึ่มขึ้น และสะท้อนอย่างตรงไปตรงมาว่าบุคลากรจากสถาบันการศึกษานั้นไม่ตอบโจทย์ความรู้และทักษะที่ผู้ประกอบการต้องการ! ฯลฯ ภาพรวมดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่สั่นคลอนระบบการศึกษายุคเก่าว่าไม่อาจเพิกเฉย-ทำมาหากินแบบเดิมอีกต่อไป!

ในอีกด้านหนึ่งก็มีความเรียกร้องต้องการจากบุคลากรในสถาบันการศึกษาเองหลายกลุ่มมากขึ้น ว่ามีความต้องการปรับตัว-เปลี่ยนแปลงอย่างมาก ที่ต้องการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและความก้าวหน้าใหม่ ที่รุกคืบเข้าสู่วิถีชีวิต-สร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั้งระบบทุกขณะ ทั้งในกลุ่มการผลิตและบริการ รวมถึงการพัฒนาสร้างตนของผู้ประกอบการยุคใหม่ด้วย ผลรวมเหล่านี้ได้นำสู่การปรับตัวขนานใหญ่หลากมิติ ที่เกี่ยวข้องกับการปรับสร้างความก้าวหน้าใหม่-การรื้อสร้างระบบระเบียบใหม่ของการศึกษา ซึ่งก่อตัวขึ้นจากการกระตุ้นอย่างต่อเนื่องและรุนแรงที่ต้องการตอบสนองการพัฒนาบุคลากรในพื้นที่ EEC ที่มาจากความเรียกร้องต้องการจริงของผู้ประกอบการทั้งภาคการผลิตและบริการ เป็นเหมือนลูกไฟก้อนใหญ่ที่โหมกระพือทำให้ทุกฝ่ายเข้ามาร่วมมือกันแก้ปัญหา ร่วมสร้างความก้าวหน้าในโลกใหม่นี้ร่วมกันอย่างจริงจัง

ผลจากการมุ่งมั่นรื้อสร้างการศึกษาโลกเก่าสู่การศึกษา-การพัฒนาบุคลากรโลกใหม่นั้น มีต้นแบบที่ดี-ที่ความก้าวหน้ารวดเร็ว-น่าสนใจ จากบทเรียนของ “วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี” ที่เกิดจากความมุ่งมั่นของผู้นำในการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาการศึกษาอาชีวะยุคใหม่ บนฐานความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงยุคใหม่ ที่ได้เชื่อมประสานสร้างความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการในท้องถิ่นและนานาชาติ เข้าร่วมปรับสร้างกระบวนการการศึกษาของสถาบันใหม่ทั้งระบบ ใช้เวลาราว 3 ปีเปลี่ยนวิทยาลัยคอกหมูเก่าๆ โทรมๆ เป็นวิทยาลัยชั้นนำของประเทศและของภูมิภาคอาเซียน รื้อสร้างใหม่ทั้งระบบตั้งแต่เรื่องความคิด-สำนึก-วินัย-ความรู้-ทักษะ-จนถึงการเรียนการสอน-การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความรับผิดชอบร่วมกันฯ ทุกความเคลื่อนไหวปั้นสร้างขึ้นจากความร่วมมือภาคเอกชน-ผู้ประกอบการทุกสาขา ตั้งแต่สาขาระบบราง ยานยนต์สมัยใหม่ แมคคาทรอนิกส์ หุ่นยนต์ ออโตเมชัน โลจิสติกส์ จนถึงสาขาก่อสร้างฯ

วันนี้ผู้บริหาร ครูอาจารย์ เด็กนักเรียนทุกคนในวิทยาลัยเทคนิคชลบุรี พัฒนาตนสร้างวินัยในการอยู่ร่วมกันและมีการศึกษาแต่ละสาขาวิชาจนก้าวหน้าทันโลก เด็กที่จบจากที่นี่ทุกคนมีงานทำทันที-เป็นที่ต้องการของภาคอุตสาหกรรม-ผู้ประกอบการ เป็นต้นแบบการรื้อสร้างการศึกษาที่สำคัญ-ที่ใช้เวลาสั้นและประหยัดงบฯ มหาศาล!!!

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .