ฐานข้อมูลการสูงอายุในสังคมสูงอายุสำคัญไฉน? (1)

สังคมสูงอายุ: ปัญหาและความท้าทาย

ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านจาก “สังคมวัยเยาว์” เข้าสู่ “สังคมสูงอายุ” เมื่อประมาณ 20 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 ได้กลายเป็น “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” ที่สัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ในประชากรคนไทย 100 คน จะมีผู้สูงอายุ 20 คน และคาดว่า ในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะกลายเป็น “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” ที่สัดส่วนผู้สูงอายุดังกล่าวจะเพิ่มเป็นร้อยละ 28 สำหรับ ในปีปัจจุบัน จำนวนผู้สูงอายุมีประมาณ 13 – 14 ล้านคน ประชากรผู้สูงอายุเมื่อมีอายุมากขึ้นย่อมมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและการเกิดภาวะความจำเสื่อมสูงขึ้น ต้องอาศัยการดูแลบริบาลในระยะยาว (Long term care)  และค่าดูแลรักษาพยาบาลที่สูง ในขณะเดียวกัน ประชากรผู้สูงอายุ ก็ไม่ได้อยู่ในตลาดแรงงาน ไม่มีรายได้อย่างต่อเนื่องจากการทำงาน ดำรงชีวิตด้วยเงินออม หรือ เงินเกื้อกูลจากลูกหลาน หรือ เงินบำนาญ/สวัสดิการเบี้ยยังชีพจากรัฐ

ปัญหาการสูงอายุของประชากรจะแตกต่างไปตามคุณลักษณะทางประชากร เช่น ตามกลุ่มอายุ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มผู้สุงอายุวัยต้น (อายุระหว่าง 60 – 69 ปี) ซึ่งหากพิจารณาจากสถานภาพด้านสุขภาพจะเป็นกลุ่มที่ถูกขนามนามว่า “กลุ่มติดสังคม” (ผู้สูงอายุที่ยังแข็งแรงสามารถออกไปทำกิจกรรมทางสังคมนอกบ้านได้) (2) กลุ่มผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุระหว่าง 70 – 79 ปี) เป็น “กลุ่มติดบ้าน” (ผู้สูงอายุที่เริ่มมีหรือมีปัญหาสุขภาพในระดับที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมทางสังคมนอกบ้าน แต่ยังสามารถช่วยเหลือตนเองทำกิจกรรมต่างๆภายในบ้านได้) และ(3) กลุ่มผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุตั้งแต่ 80 ปีขึ้นไป) เป็น “กลุ่มติดเตียง” (ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองทำกิจกรรมต่างๆได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงมีผู้ดูแลตลอด 24 ชั่วโมง) หรือตามเพศสภาพ ซึ่งเป็นผู้สูงอายุชาย ผู้สูงอายุหญิง หรือเพศทางเลือก หรือแตกต่างไปตามพื้นที่ที่อยู่อาศัย เป็นผู้สูงอายุในเมืองหรือในชนบท เป็นต้น

ระดับและมิติของปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการสูงอายุจะมีหลากหลายเช่นกัน ในระดับส่วนบุคคล (ด้านอุปสงค์ – Demand side) คือ ตัวผู้สูงอายุเอง  จะเกี่ยวข้องกับมิติด้าน (1) ความสัมพันธ์และการเกื้อกูลกันในครอบครัวและในชุมชน (2) สุขภาพทางกาย สุขภาพจิต (ความเหงา ความซึมเศร้า) ความจำ (Cognition) และการเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข (3) การมีทำงาน การเกษียณ (4) รายได้และรายจ่าย (5) ทรัพย์สินและหนี้สิน และ (6) ความคาดหวังและความพึงพอใจในชีวิต ในระดับสังคมหรือระดับประเทศ (ด้านอุปทาน – Supply side) จะเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการของภาครัฐหรือการกำหนดนโยบาย เพื่อตอบสนองต่ออุปสงค์หรือความต้องการของผู้สูงอายุ ได้แก่ (1) นโยบายทางสังคม วัฒนธรรม และสภาพแวดล้อม เช่น การสร้าง/สนับสนุนเครือข่ายทางสังคม การสร้าง/สนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางจากบ้านไปยังแหล่งกิจกรรม/สถานบริการต่างๆ การสร้าง/สนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านอยู่อาศัย หรือการช่วยเหลือสนับสนุนสมาชิกในครอบครัวในการดูแลบริบาล โดยเฉพาะการดูแลระยะยาวแก่บุพการีที่มีปัญหาสุขภาพกายและ/หรือสมอง (2) นโยบายทางด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการเงิน เช่น การสร้าง/ส่งเสริมโอกาสการมีงานทำที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ การจัดการทรัพย์สินหรือหนี้สินสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น และ(3) นโยบายการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้สูงอายุ เพื่อความเสมอภาค นโยบายเหล่านี้จะทำให้ผู้สูงอายุไม่เกิดความแปลกแยกทางสังคม (Social isolation) หรือถูกเลือกปฏิบัติจากอายุ (Age-related discrimination) สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในสังคม (Social inclusion) เป็นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี (Quality of life) และความอยู่ดีมีสุข (Well beings)

ข้อมูลเพื่อประกอบการติดตาม ประเมินผลนโยบายในประเทศและพันธะระหว่างประเทศ

ประเด็นสำคัญในการเข้าสู่สังคมสูงอายุ คือ รัฐต้องเพิ่มเป้าหมายในการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับคุณลักษณะประชากร ระดับและมิติหลากหลายที่จะให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความอยู่ดีมีสุข การกำหนดนโยบายที่สอดคล้องและทันกาลต่อความต้องการของผู้สูงอายุจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับการสูงอายุของประชากรมาประกอบ เพื่อติดตาม/ประเมินผลและปรับปรุงนโยบาย ในปัจจุบัน ข้อมูลที่สามารกประเภท (Disaggregated data) ตาม เพศ อายุ เชื้อชาติ ชาติพันธ์ รายได้ การย้ายถิ่น พิการ และสถานที่ทางภูมิศาสตร์ และคุณลักษณะอื่น ก็สอดคล้องกับแนวทางที่ องค์การสหประชาชาติ (United Nations – UN) ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกได้ใช้ข้อมูลดังกล่าวในการติดตามประเมินผลในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (UN Sustainable Development Goals – SDGs) ในปี ค.ศ. 2030 รวมไปถึงแนวทางการศึกษาวิถีชีวิต (Life course approach) ขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization – WHO) ในการติดตามการบรรลุเป้าหมายของโครงการทศวรรษแห่งการสูงอายุอย่างมีสุขภาพดี ปี ค.ศ. 2020 – 2030 (The Decade of Healthy Ageing 2020-2030) ที่ให้ความสำคัญกับการใช้ข้อมูลในระยะยาวด้วยกลุ่มตัวอย่างซ้ำ (Longitudinal panel data) ในการศึกษานโยบายสาธารณสุขของประเทศสมาชิกที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพที่ดีตลอดช่วงชีวิตของคนตั้งแต่การอยู่ในครรภ์ถึงวัยสูงอายุ สำหรับสังคมสูงอายุนั้น สุขภาพในวัยสูงอายุขึ้นอยู่กับประวัติการส่งเสริม/ป้องกัน/ดูแลของแต่ละบุคคล เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจหรือการเกิดเหตุการณ์ในอนาคตได้ ดังนั้น แนวทางการศึกษาวิถีชีวิตคนจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลของบุคคลคนเดียวกันที่มีการเก็บรวบรวมเป็นระยะยาว (Longitudinal panel data)

ฐานข้อมูลการสูงอายุระยะยาวจากกลุ่มตัวอย่างซ้ำในทุกรอบสำรวจ (Longitudinal Panel Data)

ฐานข้อมูลการสูงอายุของประชากรของหน่วยงานสถิติของรัฐในประเทศต่างๆ เป็นข้อมูลที่สำรวจจากกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มใหม่ในแต่ละรอบสำรวจหรือเป็นข้อมูลภาคตัดขวาง (Cross-sectional data) ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในการศึกษาวิเคราะห์ตามแนวทางวิถีชีวิตได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้ในแต่ละรอบสำรวจมาจากบุคคลคนละคนกันมีประวัติชีวิตแตกต่างกัน การวิเคราะห์ข้อมูลภาคตัดขวางสามารถวิเคระห์ให้เห็นถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุ/ปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงในชีวิตจากการตัดสินใจในอดีตและการคาดการณ์ในอนาคต หรือวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบายที่มีต่อกลุ่มเป้าหมายโดยเปรียบเทียบในลักษณะก่อนมีและหลังมีนโยบายได้

ฐานข้อมูลการสูงอายุระยะยาวจากกลุ่มตัวอย่างซ้ำ ส่วนใหญ่จะมาจากสถาบันการศึกษา ที่สำคัญได้แก่ โครงการศึกษาการสูงอายุ Health and Retirement Study (HRS) ของ Institute for Social Research (ISR), University of Michigan เป็นโครงการที่มีการดำเนินการมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992  โดยได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยสถาบันการสูงอายุแห่งชาติ (National Institute on Aging – NIA) ร่วมกับหน่วยงานของรัฐบาลกลางอีก 3 แห่ง ได้แก่ สำนักงานความมั่นคงทางสังคม (Social Security Administration – SSA) สำนักงานเลขานุการสนับสนุนการวางแผนและการประเมินผล ภายใต้กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ ( The Office of the Assistant Secretary for Planning and Evaluation – ASPE in the U.S. Department of Health and Human Services) และสำนักงานการบริหารบำเหน็จบำนาญและผลประโยชน์สวัสดิการในกระทรวงแรงงาน (The Office of Pension and Welfare Benefits Administration in the Department of Labor)

โครงการ HRS เป็นแม่แบบในการสร้างฐานข้อมูลการสูงอายุระยะยาวในประเทศต่างๆทั่วโลก ได้แก่ บราซิล เมกซิโก อังกฤษ ไอร์แลนด์  สก๊อตแลนด์ ยุโรป 28 ประเทศ เกาหลี ญี่ปุ่น อินโดเนเซีย จีน อินเดีย มาเลย์เซีย และไทย รวมทั้งสิ้น 17 โครงการ โครงการเครือข่าย HRS เหล่านี้ ได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือสำรวจในกรอบเดียวกันกับโครงการ HRS ในหลากหลายมิติของชีวิตจากกลุ่มตัวอย่างซ้ำในแต่ละรอบสำรวจ ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ HRS และเครือข่าย ได้มีการจัดเก็บรวบรวมไว้ในแพลทฟอร์ม Gateway to Global Aging Data (https://g2aging.org/) ที่มีการประสาน (Harmonization) และการเข้าถึง (Open access) เพื่อประโยชน์ของนักวิจัยในการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของการสูงอายุข้ามประเทศได้

สำหรับ WHO ปัจจุบันได้เริ่มโครงการการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการศึกษาการสูงอายุระยะยาวที่มีการดำเนินการอยู่ในประเทศสมาชิก เพื่อประสานข้อมูลสำหรับเก็บไว้ในห้องข้อมูล WHO Data Warehouse เพื่อใช้ในการวิเคราะห์รายงาน The Decade of Healthy Aging, 2020 – 2030

เวทีพิจารณ์นโยบายสาธารณะ สําหรับ

ดร ดารารัตน์ อานันทนะสุวงศ์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยัน พม.มีสวัสดิซ่อมบ้านคนแก่-ปรับสภาพที่อยู่คนพิการ!

'รัดเกล้า' เผย พม.มีสวัสดิการซ่อมบ้านผู้สูงอายุ - ปรับสภาพที่อยู่อาศัยคนพิการตามขั้นตอน ระบุแม้งบน้อย แต่ประสานหน่วยอื่น-เอกชนมาช่วยเสริมได้

เช็กเงื่อนไข 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ รับเดือนละ 3 พัน

'รองโฆษกรัฐบาล' เผยเงื่อนไขคุณสมบัติ 'ครอบครัวอุปถัมภ์' ผู้สูงอายุ มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเดือนละ 3 พันบาท เริ่มยื่นเรื่องได้ตั้งแต่เดือน พ.ค.

ญาติเผยสาเหตุ ตาวัย 74 ตายในรถขณะเดินทางกลับบ้าน ไม่เกี่ยวแอร์ไม่เย็น

ลูกหลานตาวัย 74 ชาว อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.บุรีรัมย์ ที่นั่งเสียชีวิตในรถยนต์ขณะพาเดินทางกลับบ้านเกิดในวาระสุดท้ายตามความประสงค์ของญาติ ยืนยันเสียชีวิตด้วยโรคชราที่สภาพร่างกายอ่อนแอร์อยู่แล้ว

รัฐบาล เน้นย้ำความปลอดภัยเส้นทางก่อสร้างรถไฟฟ้า ช่วงสงกรานต์ ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ขึ้นฟรี

รัฐบาล เน้นย้ำ ความปลอดภัยเส้นทางก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าทุกสาย ให้ ปชช.เดินทางสะดวกและปลอดภัยช่วงเทศกาลสงกรานต์ เปิดบริการให้ผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ขึ้นรถไฟฟ้า MRT ฟรี ระหว่าง 13 – 15 เมษายน

'กลุ่มผู้สูงวัย' จี้ 'วราวุธ' เพิ่มเบี้ยคนชรา 1,000 บาทถ้วนหน้าในปีนี้ จ่อบุกทำเนียบฯหลังสงกรานต์

กลุ่มเครือข่ายผู้สูงอายุประมาณ 35 คน นำโดย น.ส.อรุณี ศรีโต ประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบแห่งชาติ ได้เดินทางไปยังกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ตั้งแต่เวลา 10.00 น. โดยได้มีการชูป้ายเรียกร้องให้รัฐเห็นความสำคัญของการเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุ