ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม สร้างทักษะแห่งอนาคต

งานวันสหกิจศึกษา (CIWIE Day) ที่กระทรวงการอุดมฯ จัดทุกปี ปีนี้จัดต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นเจ้าภาพ เป้าหมายก็คือมุ่งสร้างการเติบโตขยายตัวของระบบการศึกษาและพัฒนาบุคลากรยุคใหม่ โดยอาศัยความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการต่างๆ ในปัจจุบันมาขับเคลื่อนความก้าวหน้าใหม่ในศตวรรษที่ 21

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ในกระแสการเคลื่อนไหวในการพัฒนาบุคลากรของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ส่งผลให้การอุดมศึกษาไทยได้ปรับสร้างความก้าวหน้าการพัฒนาบุคลากรในทิศทางใหม่ มีการพัฒนาความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการขยายเพิ่มมากขึ้น ทั้งกับกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ ทำให้การพัฒนาบุคลากรขยับปรับทิศทางตอบสนองการมีงานทำจริง และตอบโจทย์นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่มุ่งปรับตัวเปลี่ยนสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างมีนัยสำคัญ

การศึกษายุคใหม่มีความสำคัญยิ่ง ต้องพัฒนาปรับตัวให้ทันความเปลี่ยนแปลง ซึ่งต้องเร่งระยะเวลา-ประหยัดงบประมาณ-และจัดปรับใหม่ทั้งระบบเข้าสู่การพัฒนายุคใหม่ ที่อาศัยความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับสถานประกอบการอุตสาหกรรม ในฐานที่เป็นแหล่งทรัพยากรและความเชี่ยวชาญที่สำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมเคลื่อนไหวอยู่ในโลกที่เป็นจริงมาตลอด มีการปรับตัวด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม และความก้าวหน้าใหม่อยู่ตลอดเวลาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง-เท่าทันมาตรฐานการผลิต-มาตรฐานผลผลิตโดยรวม ที่เป็นปัจจัยนำสู่การปรับสร้างศักยภาพการแข่งขันในยุคดิจิตอล หากปรับตัวไม่ได้ก็มีแนวโน้มที่จะสูญพันธุ์!!!

การที่สถาบันการศึกษาอาศัยความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมปรับความก้าวหน้า-สร้างความรู้-ทักษะแห่งอนาคตนั้น นับเป็นโอกาสดีที่จัดปรับเรียนรู้ถ่ายโยงความก้าวหน้าจากภาคอุตสาหกรรมสู่สถาบัน เพื่อจะได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี วิศวกรรม และนวัตกรรมยุคใหม่โดยรวมที่ประหยัดเวลาและประหยัดงบประมาณได้มหาศาล!

ความก้าวหน้าการพัฒนาบุคลากรร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมในอีอีซีวันนี้ จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงฐานสำคัญในเรื่องระบบออโตเมชั่น หุ่นยนต์ แมคคาทรอนิก งานด้านไอที-การสื่อสาร 5 จี ความรู้ทักษะด้านคลาวด์ คอมพิวติ้ง ฯลฯ นับได้ว่ากำลัง “จุดติด” มีการพัฒนาบุคลากรด้านต่างๆ ที่กล่าวมานี้อย่างต่อเนื่องในอีอีซี โดยอีอีซีได้จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือ-เชี่ยวชาญ เข้าเสริมช่วยพัฒนาความรู้-ทักษะใหม่หลายแห่ง เช่น ศูนย์ออโตเมชั่น ปาร์ก มหาวิทยาลัยบูรพา หรือการพัฒนาระบบโรงงาน 4.0 ที่กลุ่มอุตสาหกรรม SNC ได้จัดตั้งศูนย์ ARAI Academy ขึ้นเพื่อร่วมมือผลิตบุคลากรพัฒนาคนกลุ่มต่างๆ ในด้านทักษะแห่งอนาคต

ปัจจุบันผู้ประกอบการในอีอีซีกว่า 80 บริษัท เข้าร่วมมือพัฒนายกระดับทักษะบุคลากรกับ EEC HDC มีการจัดฝึกอบรมยกระดับทักษะร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรมมากกว่า 200 หลักสูตร ให้กับคนทำงานกว่า 2 หมื่นคนในอีอีซี

ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่กำลังปรับตัวก้าวหน้า ได้แก่ กลุ่มทักษะด้านอากาศยาน ด้านระบบราง ด้านโลจิสติกส์ ด้านสมาร์ท อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ กลุ่มที่ต้องยกเครื่องขนานใหญ่คือ กลุ่มอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวี ซึ่งในการพัฒนาบุคลากรด้านนี้ อีอีซีได้สนับสนุนให้มีศูนย์เชี่ยวชาญพาณิชย์นาวี ตั้งขึ้นที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา ซึ่งคืบหน้าไปพอสมควร แต่โครงสร้างอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีเองยังล้าหลัง ติดกับดักผลประโยชน์ที่เป็นเหมือนภูเขาน้ำแข็งก้อนมหึมาถ่วงอยู่! เกิดจากการบริหารงานจากหลายหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง! ทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสมหาศาลทั้งในแง่เศรษฐกิจและโอกาสใหม่!!!

รัฐบาลต้องมีมาตรการใหม่สร้างการเติบโตในอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีทั้งระบบ ปลดพันธนาการความล้าหลังและผลประโยชน์จากเห็บหมัดที่รุมสูบเลือดออกไป ซึ่งอุตสาหกรรมพาณิชย์นาวีจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจหลายแสนล้าน และสร้างโอกาสให้ผู้คนจำนวนมาก รวมทั้งประเทศไทยจะมีตำแหน่งแห่งที่ในเศรษฐกิจพาณิชย์นาวีของโลกอย่างมีนัยสำคัญในมิติของสมุทรานุภาพ!

เศรษฐกิจใหม่อีกกลุ่มที่ต้องเร่งสร้างคือ อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง  (EV conversion) เป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่สร้างโอกาสใหม่ให้กับประเทศ จากฐานความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์เดิม แม้ต้องปรับตัวด้านเทคโนโลยีมากพอสมควรก็ตาม! แต่อุตสาหกรรมนี้มีมูลค่ามหาศาล นอกจากเป็นอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่บนฐานความพร้อมของห่วงโซ่อุปทานเดิมแล้ว ที่ตั้งของประเทศยังอยู่บนจุดตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ได้เปรียบกลุ่มประเทศอาเซียน อุตสาหกรรมนี้จะช่วยปรับระบบเศรษฐกิจสู่เศรษฐกิจ BCG ในแง่ของการนำกลับมาใช้ใหม่และเศรษฐกิจสีเขียว ที่เป็นแกนในการปรับลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ลดหนี้สินครัวเรือนจากการดัดแปลงรถเก่านำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งช่วยสร้างโอกาสใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างมีนัยสำคัญ

วันนี้อุตสาหกรรมแบบ EV City ต้องเร่งสร้างให้เกิดขึ้น ปักหมุดเป็นโอกาสใหม่เพื่อเร่งยกระดับเศรษฐกิจความก้าวหน้าและคุณภาพชีวิต รวมถึงการดูแลจัดการสิ่งแวดล้อมของประเทศในศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะเป็นฐานการพัฒนาความก้าวหน้าของเศรษฐกิจใหม่ สร้างบุคลากรยุคใหม่ จัดการบริหาร จัดการสิ่งแวดล้อมใหม่ให้กับประเทศ รวมทั้งลดหนี้ครัวเรือนและปรับสร้างศักยภาพในการแข่งขัน นี่คือความสำคัญของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลงและยานยนต์สมัยใหม่ ที่ต้องสร้างทักษะแห่งอนาคตขึ้นมาร่วมกัน!!!.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้

คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544

ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั

'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?

นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???

อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย

ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544

เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .