การพัฒนาคน-ทรัพยากรมนุษย์ เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างความก้าวหน้าให้บ้านเมืองและเศรษฐกิจ-สังคม ซึ่งต้องพัฒนาปรับสร้างความรู้-ทักษะใหม่ให้ทันการปรับตัวเปลี่ยนไปของเทคโนโลยี ท่ามกลางความผันแปร-ผันผวนของโลกวันนี้ การพัฒนาคน-ทรัพยากรมนุษย์จึงจะมีมรรคผลขับเร่งบ้านเมืองให้ก้าวหน้าทันโลกได้!
หมุดหมายการปรับเปลี่ยนเศรษฐกิจไทยสู่โลกยุค 4.0 วันนี้ อาจพิจารณาผ่านความเคลื่อนไหวการลงทุนและการพัฒนาคนในอุตสาหกรรมจากพื้นที่การลงทุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ได้ เพื่อใช้เป็นต้นแบบพิจารณาถึงการพัฒนาบุคลากรว่า เราจะก้าวสู่อนาคตในกระแสเปลี่ยนผ่าน-ผันผวนของโลกวันนี้ได้มากน้อยเพียงใด?
การพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมที่เชื่อมกับการพัฒนาคน-ทรัพยากรมนุษย์ จากหน้างานภาคอุตสาหกรรม จะพบว่าปัจจุบันมีผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมในเขต EEC รวม 39 แห่ง ได้รับการยกเป็นเขตส่งเสริมของ EEC 26 แห่ง ที่เหลือเป็นการประกอบการของเขตอุตสาหกรรมทั่วไป ซึ่งมีอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มสหพัฒน์-ที่มีการจ้างงานมาก และมีรูปแบบสวนอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมโรจนะ เป็นต้น กับการประกอบการแบบโรงงานที่โดดๆ ขนาดใหญ่-กลาง-จนถึงกลุ่ม SMEs ทั้งหมดนี้มีการจ้างงานรวม กว่า 6 แสนอัตรา การลงทุนจากญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงไปเป็นสิงคโปร์ จีน และตะวันตก ตามลำดับ
ส่วนใหญ่เป็นฐานการผลิตกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม กลุ่มใหญ่สุดคือ อุตสาหกรรมยานยนต์ รองลงไปก็ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรกรรม ฯลฯ ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมกลุ่มใหม่ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่-ยานยนต์ไฟฟ้า อากาศยาน ระบบราง โลจิสติกส์ และอื่นๆ ยังอยู่ในขั้นเตรียมตัวปรับฐาน ขณะที่มีหลายแห่งกำลังเร่งปรับสู่ระบบโรงงานอัตโนมัติแบบ 4.0 เพื่อยกระดับเป็นโรงงานอัจฉริยะ (ฐานอุตสาหกรรมเราปัจจุบันอยู่ในระดับ 2.0-2.5)
การยกระดับพัฒนาบุคลากรตามสภาพจริงวันนี้ เป็นเรื่องของการมุ่งปรับฐานความรู้-ทักษะให้กลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างความแข็งแกร่ง-เพิ่มขีดความสามารถการผลิตและแข่งขันให้กับทั้ง 2 กลุ่มอุตสาหกรรมคือ กลุ่มอุตสาหกรรมเก่า-ที่ต้องปรับฐานการผลิต และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่-ที่มีการวางรากฐานการผลิตใหม่ ทั้ง 2 กลุ่มการพัฒนาบุคลากรนี้มุ่งยกระดับทักษะความรู้-สร้างความรู้ความเข้าใจการทำงานในโหมดใหม่ เน้นการสร้างทักษะใหม่ให้ตรงตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
การพัฒนาบุคลากรใน EEC มีหน่วยงาน EEC HDC เป็นแกนขับเคลื่อนภารกิจนี้ เริ่มต้นมากว่า 2 ปี โดย EEC HDC ได้วางพื้นฐานสร้างความเข้าใจการพัฒนายุคใหม่-ปรับสร้างทิศทาง-เนื้อหา-วิธีการในการพัฒนาคนยุคใหม่ผ่านความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคอุตสาหกรรม มีการจัดตั้งเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาในพื้นที่ทั้งระดับอุดมศึกษา อาชีวะ และการศึกษาพื้นฐาน และประสานงานกับกระทรวงการอุดมศึกษาฯ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม ควบคู่ไปด้วย การจัดปรับฐานความรู้ ความคิด ทักษะใหม่ให้กับสถาบันการศึกษาประสบผลในการยกระดับการเปลี่ยนแปลงได้ในระดับที่สามารถขับเคลื่อนให้เกิดผลทางปฏิบัติ ที่มีความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการกับสถาบันการศึกษาได้
การปรับยกระดับอุตสาหกรรมจากฐาน 2.0 ถึง 2.5 สู่อุตสาหกรรม 4.0 ต้องการการพัฒนาทักษะ-ความรู้ระบบออโตเมชั่น หุ่นยนต์ แมคคาทรอนิก และการทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิตอลที่เชื่อมกับระบบคลาวด์ที่จะสื่อสารเชื่อมโยงปรับระบบการผลิตใหม่ ฯลฯ ซึ่งต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพตามความต้องการจริงของอุตสาหกรรมแต่ละโรงงาน-แต่ละระบบการผลิต ในเรื่องนี้สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวเรียนรู้ใหม่อย่างมาก ตั้งแต่ฐานความรู้ใหม่ ความคิด-ความเข้าใจใหม่ในหน้างาน ที่ต่างไปจากความรู้แบบเดิมๆ ที่ฝังติดอยู่! จนถึงการจัดการสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้-การทำงานใหม่ให้ตอบโจทย์การทำงานจริง เพราะการพัฒนาคนในโลกแวดล้อมจริง ไม่ใช่การเรียน-การสอนแค่เพื่อเอาคะแนนสอบ! แต่เป็นการปั้นสร้างให้เกิดสัมฤทธิผลจริงในการผลิตและการปรับตัวของการประกอบการ ซึ่งคือการเรียนรู้และวินัยใหม่-โลกแวดล้อมใหม่ที่ต่างจากเดิมเกือบสิ้นเชิง!
การจัดการปัญหาการพัฒนาบุคลากรยุคใหม่ที่ต้องการผลสำเร็จ-ความก้าวหน้าที่จับต้องได้นี้ EEC HDC ได้ประสานเชื่อมเอาความก้าวหน้าจากองค์กรธุรกิจที่มีความก้าวหน้าที่ได้มาตรฐานระดับโลกเข้าเชื่อมต่อการพัฒนาคนให้กับสถาบันการศึกษา เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมมิตซูบิชิ ที่มีความก้าวหน้าในเรื่องระบบออโตเมชั่นและระบบโรงงานอัจฉริยะ หรือจากกลุ่มการผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการเตรียมพร้อมการปรับตัวไว้นานแล้ว อาทิ โตโยต้า นิสสัน บีเอ็มดับเบิลยู ฮอนด้า ฯลฯ เข้ามาเป็นหุ้นส่วนการยกระดับพัฒนาคนยุคใหม่ให้กับอุตสาหกรรม ส่วนความเคลื่อนไหวจากภาครัฐ อย่าง กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ก็มีการเร่งออกกฎระเบียบช่วยปลดล็อกให้สถาบันการศึกษา-หน่วยงานในสังกัด สามารถทำงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ให้ก้าวหน้าทันโลกได้
นอกจากนั้น EEC HDC ยังร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น กลุ่ม SNC กระทรวงศึกษาฯ ขับเคลื่อนการศึกษาอาชีวะสร้างความก้าวหน้าใหม่ ยกระดับวิทยาลัยที่มีคุณภาพขึ้นเป็นกลุ่ม CVM มีการจัดการความรู้ทักษะ-สิ่งแวดล้อมใหม่เชื่อมโยงกับความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีราว 24 แห่ง ทั้งในและนอก EEC และมีการพัฒนาสถาบันการศึกษาแบบจำเพาะเจาะจงปรับสร้างความก้าวหน้าใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยบูรพาด้วย ฯลฯ ภาพรวมความเคลื่อนไหวเหล่านี้ เป็นกระบวนการขับเคลื่อนงานที่ชี้บอกว่า EEC สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาคนได้ดี เพื่อให้ทุกการลงทุนมั่นใจว่า EEC มีการจัดการพัฒนาบุคลากรอย่างเพียงพอทั้งด้านคุณภาพและปริมาณ ที่จะสร้างเศรษฐกิจในวันนี้...แน่นอน.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย
ขึ้นต้นก็(เขียน)ผิดแล้ว ! ว่าด้วยเส้น “ละติดจูด” ที่ 11° “E” ในเอกสารแนบท้าย MOU 2544
เขียนและพูดเรื่อง MOU 2544 มาหลายปี หลากมุมมอง ล่าสุดช่วงนี้ก็จำแนกข้อดีข้อเสีย รวมทั้งส่วนที่จะได้และส่วนที่จะเสียหากเจรจาสำเร็จ ล้วนหนัก ๆ ทั้งนั้น .