นาโต้2สหรัฐฯ-หนึ่งแถบฯจีน ขยายความแตกแยกคนในสังคมไทย

                                                                     

เวทีสาธารณะ “อย่าชักน้ำลึก อย่าชักศึกเข้าบ้าน”  หัวข้อ ขจัดภัยการกดขี่ ด้วยสามัคคีทั้งแผ่นดิน ถือธงนำโดย นายไพศาล พืชมงคล ผู้ประสานงานกับเครือข่ายจีน  นับว่ามีนัยสำคัญก่อนที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหมจะเดินทางไปสหรัฐฯ

ประเด็นที่มีการหยิบยกขึ้นมาพูดกันในวงเสวนาคือ “นาโต้ 2”  หรือยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก โดยเตือนรัฐบาลอย่านำประเทศไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจส่งผลให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นสนามรบยิ่งกว่ายูเครน พร้อมได้นำท่าทีของจีนในการยืนยันว่า ไม่เคยรุกรานประเทศไหน จึงไม่ใช่ภัยคุกคาม  ตามที่ฝั่งตะวันตกระบุ พร้อมเตือนนายกฯ ไม่ให้บุ่มบ่ามไปทำเอกสารแถลงการณ์ร่วม เช่นที่เคยทำมาแล้วในความร่วมมือทางทางทหารในฐานะของรมว.กลาโหม 

ห้วงเวลาที่น่าสนใจคือการประชุมเอเปคที่ไทยเป็นเจ้าภาพปลายปีนี้ ซึ่ง นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง ซึ่งร่วมเวทีเสวนาด้วย  ตั้งข้อสังเกตว่า สหรัฐฯต้องติดต่อมาร่วมด้วย โดยมีผู้นำอาเซียนตัวจริงสองคนคือไทย และอินโดนีเซียที่จะเป็นประธานประชุมจี 20 เพราะสหรัฐฯต้องการให้มีระเบียบวาระประชุมแทรกไปโดยอ้างเรื่องเศรษฐกิจ

ขณะที่เว็บไซท์ของ “สถานฑูตสหรัฐฯ”ระบุถึงประชุมสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียน สมัยพิเศษ (U.S.-ASEAN Special Summit) โดยประธานาธิบดีไบเดนจะเป็นเจ้าภาพต้อนรับผู้นำประเทศอาเซียน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค.นี้  ไว้อย่างน่าสนใจ

“เป้าหมายสำคัญอันดับต้น ๆ ของรัฐบาลประธานาธิบดีไบเดนและรองประธานาธิบดีแฮร์ริส คือการเป็นหุ้นส่วนที่มั่นคงและพึ่งพาได้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อปี 2564 สหรัฐฯ ได้ประกาศยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก ซึ่งกำหนดกรอบวิสัยทัศน์เชิงนโยบายการต่างประเทศและความมุ่งมั่นที่ประธานาธิบดีไบเดนมีต่อความร่วมมือที่ยั่งยืนและสร้างสรรค์กับพันธมิตร หุ้นส่วน และหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกภูมิภาค”

การที่มหาอำนาจรุกหนัก“อาเซียน”ในช่วงเวลานี้  มีเหตุปัจจัยจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยืดเยื้อ  ซึ่งไม่ค่อยเป็นผลดีต่อจีนเท่าใดนัก  จึงจำเป็นที่จีนต้องมายึดฐานที่มั่นข้างล่างด้วยการไม่ปล่อยให้กลุ่มประเทศในกลุ่ม อินโด-แปซิฟิกไปอยู่กับสหรัฐฯ

เดิมประเทศไทยผูกสัมพันธ์กับสองขั้วมหาอำนาจด้วยพลังอำนาจของชาติต่างกัน โดยฝั่งอเมริกาฯ ไทยจะใช้ความมั่นคง และเศรษฐกิจ ส่วนทางฝั่งจีนจะใช้ สังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ  แต่เมื่อจีนตัดสินใจเดินด้วยความมั่นคง ย่อมเกิดความขัดแย้งขึ้นมาเป็นเรื่องธรรมดา เพราะว่าทหารไทยบางคน และระบบราชการของเรายังฝังรากลึกกับสหรัฐฯ

หลังรัฐประหาร รัฐบาลไม่มีทางเลือก จึงต้องไปซบจีน จึงเป็นแรงกดดันให้ สหรัฐฯ เดินเกมรุกมากขึ้น จีนเองก็กลัวว่าจะเพลี่ยงพล้ำ จึงรุกกลับมากขึ้นเช่นกัน ในที่สุดจึงกลายเป็นความร้อนแรงด้วยภูมิรัฐศาสาตร์ของไทยที่มีความสำคัญสูงยิ่ง

โดยพยามโจมตีจุดอ่อนของจีน ในการทำเรื่อง debt- trap diplomacy  ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศผ่านรูปแบบเงินกู เงินช่วยเหลือ แต่เมื่อถึงเวลาไม่มีเงินก็ยึดครองโครงสร้างพื้นฐาน  เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้น สปป.ลาว ศรีลังกา กัมพูชา ด้วยการปฏิบัติการหน้าฉากของภาครัฐ  และงานใต้ดินที่มีอาชญากรรมข้ามชาติ แก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ รวมไปถึงการรุกคืบการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินด้วยการแต่งงานกับคนไทย

ทั้งความพยายายามเชื่อมโยงต่อเชื่อมยุทธศาสตร์ one belt  one road  หรือ หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน ที่เดิมจะใช้การขุด “คลองไทย”เชื่อมระหว่างท่าเรือเจ้าผิวก์ เมียนมาร์ และฐานทัพเรือเรียม สีหนุวิลล์  มี และสนามบิน dara skor  เกาะกง  แต่จีนก็ขยับรุกคืบเข้ามาที่ไทยไม่ได้ง่ายตามแผน  และมีความพยายามจะเชื่อมต่อปักธงในไทยด้วยแนวทางอื่น

และเริ่มมีการปฏิบัติการข่าวสารให้เครือข่ายจีนในประเทศไทยตอบโต้สหรัฐฯ ตะวันตก และยูเครน อย่างดุเด็ดเผ็ดร้อน ด้วยการผลิต content เผยแพร่ในสื่อฝ่าย แอนตี้สหรัฐฯ

หลังจากรัสเซียยังไม่สามารถชนะในสงครามยูเครนได้อย่างเด็ดขาด  จีนก็ชั่งน้ำหนักว่าศักยภาพทางด้านการทหารของตนเองจะเหนือกว่าสหรัฐฯ หรือไม่หากต้องเผชิญหน้ากันในขณะนี้จีนเองอาจเสียเปรียบได้ จึงจำเป็นต้องใช้ soft power กดลงมาด้านล่างผ่าน cyber dominance  ดังที่เห็นกัน

  หากรัฐบาลไทยไม่ทำให้เกิดสภาวะสมดุลเกิดขึ้นและแบ่งงานในการผูกสัมพันธ์ทั้งสองขั้ว  ก็อาจจะจุดชนวนให้เกิดการกดดันเคลื่อนไหวเพื่อล้มรัฐบาล หรือ ล้มระบอบ เช่นที่เกิดขึ้นในบางประเทศ

สิ่งที่น่าห่วงคือ ปัจจุบันประเทศไทยมีความขัดแย้ง -แตกแยกแบ่งเป็นสองขั้วความคิดอย่างสิ้นเชิง จากฝ่ายอนุรักษ์นิยม -ฝ่ายก้าวหน้า    เอาสถาบัน -ไม่เอาสถาบัน  คนเจนเนอรชั่นเก่า -ใหม่ เชียร์รัสเซีย-เชียร์ยูเครน  ตามมาด้วยเรื่องโปรฯจีน -โปรฯ สหรัฐฯ,ตะวันตก

เป็นความน่าปวดหัวของสังคมไทยที่ต้องเจอกับสถานการณ์เลือกข้างอย่างไร้จุดจบ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วิสาหกิจเพื่อสังคม องค์กรน้ำดีที่รอวันเติบโต

วิสาหกิจเพื่อสังคม (social enterprise) หรือ องค์กรที่ประกอบธุรกิจเพื่อช่วยเหลือสังคม นับเป็นองค์กรประเภทหนึ่งที่มีบทบาทในนำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ไปปฏิบัติอย่างแท้จริงได้ ในช่วงเวลา ๒-๓ ทศวรรษที่ผ่านมา วิสาหกิจเพื่อสังคมในหลายประเทศทั่วโลกที่ได้รับการสนับสนุนอย่างเหมาะสมพิสูจน์ให้เห็นว่า การประกอบธุรกิจขององค์กรสามารถช่วยเหลือสังคมได้จริง ตัวอย่างเช่น ธนาคารกรามีน (Grameen Bank) ในประเทศบังกลาเทศ

รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ

เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก

นโยบายและกฎหมายรัฐบาลดิจิทัล (ตอนที่ 1) : งานหลังบ้านที่ถูกมองข้าม 

ในปี 2562 และ 2565 รัฐบาลได้ออกกฎหมายสำคัญเกี่ยวกับความเป็นรัฐบาลดิจิทัล 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (พ.ศ. 2562) และ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2565) กฎหมายทั้ง 2 ฉบับถูกออกแบบมาโดยเจตนาเพื่อให้กระตุ้นให้เกิดความเป็นรัฐบาลดิจิทัลอย่างยิ่งยวด 

คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!

เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย

ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?

การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก