1 พ.ค.วันแรงงานแห่งชาติ กับข้อเรียกร้อง ถึงรัฐบาล-นายจ้าง

วันอาทิตย์ที่ 1 พ.ค.นี้ ที่เป็น วันแรงงานแห่งชาติ พบว่าฝ่ายภาครัฐมีการจัดกิจกรรมดังกล่าว    โดยเรื่องนี้มีการเปิดเผยอย่างเป็นทางการจาก ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่บอกว่า พลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นประธานเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2565 ในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องจอมพล ป. พิบูลสงคราม กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานคร

งานดังกล่าวจะเริ่มต้นที่ สุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวรายงานสรุปความคืบหน้าของภารกิจตามข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ จากนั้น สุชาติ  ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ 2565  จะนำเสนอข้อเรียกร้องวันแรงงานแห่งชาติ 2565 และยื่นต่อนายกรัฐมนตรี จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะกล่าวสุนทรพจน์ต่อผู้ใช้แรงงาน และเปิดงานวันแรงงานแห่งชาติ 2565  พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการของกลุ่มผู้ใช้แรงงาน และหน่วยงานสังกัดกระทรวงแรงงาน ณ บริเวณกระทรวงแรงงาน

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี บอกว่า การจัดงานในปีนี้คณะกรรมการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธานสภาองค์การลูกจ้าง 14 แห่ง  ประธานสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย และประธานศูนย์ประสานงานแรงงานนอกระบบ ซึ่งกิจกรรมภายในงานวันแรงงานประกอบด้วย พิธีเปิดวันแรงงานแห่งชาติ  รวมทั้งจะมีการเคลื่อนริ้วขบวนรถเทิดพระเกียรติ และริ้วขบวนรถของผู้ใช้แรงงานออกจากสนามหลวงมายังกระทรวงแรงงาน และมีการเสวนาเรื่อง เศรษฐกิจยุคโควิดกระทบแรงงานและค่าจ้างอย่างไร โดยผู้เข้าร่วมเสวนาประกอบด้วย นายพนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาองค์การลูกจ้างสภาแรงงานแห่งประเทศไทย และศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ นักวิชาการอิสระ

ทั้งนี้ พบว่าเมื่อวันที่ 28 เมษายนที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวจากกลุ่มแกนนำผู้ใช้แรงงานหลายกลุ่ม เช่น  สุชาติ ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ในฐานะประธานการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติประจำปี 2565 เปิดเผยว่า ในการจัดงานวันแรงงานแห่งชาติปีนี้ ข้อเรียกร้องมีด้วยกันทั้งหมด 8 ข้อ ของ 15 สภาองค์การลูกจ้าง ประกอบด้วย

1.ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง  2.ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่าง  พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ... ฉบับแก้ไข เข้าสู่รัฐสภาเร่งด่วน 3.ขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับก้อนสุดท้าย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 4.ให้รัฐบาลเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อาทิ หามาตรการให้สถานประกอบการที่รับเหมาช่วงปฏิบัติตามกฎหมาย

5.ปฏิรูปแก้ไขประกันสังคม อาทิ ปรับฐานการรับเงินบำนาญ ขยายอายุผู้ประกันตนจาก 15-60 ปี เป็น 15-70 ปี 6.เร่งออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ 7.จัดระบบกองทุนสวัสดิการเพื่อเลี้ยงชีพให้แก่ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจให้เทียบเคียงกับระบบสวัสดิการภาคราชการ 8.ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้อง

ด้าน ชาลี ลอยสูง ที่ปรึกษาคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวว่า ในปีนี้ คสรท.ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จัดงานวันแรงงานแห่งชาติ โดยเริ่มขบวนที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และเดินทางไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล

"โดยข้อเรียกร้องหลักคือ ขอให้ปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 492 บาทสำหรับบุคคล แต่สำหรับครอบครัวให้ปรับเป็นวันละ 712 บาท นอกจากนี้ขอให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าให้ได้ เพราะเป็นปัญหากับลูกจ้างมาก เนื่องจากราคาข้าวของปรับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ครั้งนี้ถ้าจะปรับจากวันละ 236  บาท เป็น 492 บาท เพิ่มขึ้นตามสภาพความเป็นจริง 30%  ซึ่งเป็นตัวเลขที่เราได้ทำการสำรวจค่าครองชีพและความจำเป็นต่างๆ ของลูกจ้างแล้ว ยังน้อยกว่าการปรับขึ้นครั้งนั้นอีก  ในวันนั้นถ้าเราไม่พูดถึงตัวเลข 300 บาทก็ยังไม่ได้” นายชาลีกล่าว

ด้าน ดร.แล ดิลกวิทยรัตน์ ประธานมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนา และนักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์แรงงาน ให้มุมมองว่า การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ และไม่มีหลักเกณฑ์ใดๆ การจะได้ขึ้นค่าจ้างหรือไม่ ความหวังเดียวของลูกจ้างคือรัฐบาลเปราะบาง เช่นช่วงก่อนการเลือกตั้ง ยกตัวอย่างสมัยที่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กำลังลงจากรัฐบาล และ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ยังไม่มีความพร้อม จึงมอบให้นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ระดมกรรมกรมาช่วย และทำตามความต้องการของกรรมกร ปีนั้นมีการปรับค่าจ้างขึ้น 2 ครั้ง มีการออกกฎหมายประกันสังคม  สิ่งที่ลูกจ้างได้คือตอนรัฐบาลเปราะบาง

เป็นข้อเรียกร้อง เป็นเสียงสะท้อนที่เกิดขึ้นในวันแรงงาน หลังสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย แต่ปัญหาเศรษฐกิจหลายอย่างที่น่าเป็นห่วงกำลังรออยู่ โดยเฉพาะหลังวันที่ 1 พ.ค. ที่มีการมองกันว่าค่าครองชีพของประชาชนและผู้ใช้แรงงานจะสูงขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตต่างๆ ทั้งสินค้าและบริการจะเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยน้ำมันดีเซล ที่จะมีการปรับราคาจำหน่ายเป็นลิตรละประมาณ 32 บาท หลังภาครัฐเลิกตรึงราคาไว้ที่ 30  บาท และราคาสินค้าหลายอย่างมีข่าวว่าจะปรับตัวสูงขึ้นหลังจากนี้ แต่ก็พบว่ารัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงพาณิชย์, การคลัง, พลังงาน ต่างเร่งหามาตรการมาช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง

กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น

ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

วิปริตธรรม .. ในสังคม!!

เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง

ธุรกิจคาสิโนถูกกฎหมาย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักเกี่ยวพันผู้มีอำนาจทางการเมือง

เมื่อเร็วๆ นี้ ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเผยแพร่ผลการศึกษาผลกระทบของคาสิโนถูกกฎหมายต่อการฆาตกรรมและการข่มขืนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก

แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง