รัฐบาลได้ประกาศให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ครัวเรือนใน 8 ประเด็น ได้แก่ การแก้ไขหนี้กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) การกำหนดให้การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ การแก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ การแก้ไขหนี้ข้าราชการ โดยเฉพาะครูและตำรวจ การแก้ไขปัญหาบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล การแก้ไขปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของประชาชนรายย่อยและ SME’s การปรับปรุงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมเพื่อเอื้อให้เกิดการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
บทความนี้เป็นการนำเสนอความเห็น เพื่อเสริมการแก้ไขหนี้ครูโดยใช้สหกรณ์ออมทรัพย์เป็นตัวขับเคลื่อน การขยายผลไปยังสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการ มหาวิทยาลัย ปัญหาด้านข้อมูลหนี้ของประชาชน ปัญหาการรวมหนี้ และการใช้หมอหนี้ช่วยให้คำแนะนำการแก้ไขหนี้
จากการตระหนักหนี้ครัวเรือนเพิ่มขึ้นเป็น 14.58 ล้านล้านบาทในปี 2564 อัตราส่วนหนี้สินครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90.1 ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนการก่อหนี้ที่สูง เมื่อเทียบกับรายได้ ประกอบกับเมื่อโรคโควิด-19 ได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรง ประเทศไทยขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ การเติบโตทางเศรษฐกิจติดลบ ลูกหนี้ประสบปัญหา รายได้ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ จำนวน 4.4 ล้านบัญชี มูลหนี้ 1.66 ล้านบาท ในปี 2564 ต่อเมื่อเกิดวิกฤตสงครามรัสเซียบุกยูเครน ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เชื่อว่าจะมีหนี้จำนวนหนึ่งกลับมาเป็นปัญหาและต้องได้รับการแก้ไข
ลูกหนี้ครัวเรือนมีจำนวนมาก กระบวนการติดตามหนี้ กระชับ รวดเร็ว ถึงแม้จะมีการให้โอกาสในการผ่อนชำระ การแก้ไขหนี้อยู่บ้าง เราก็คงยังเห็นการฟ้องดำเนินคดี ยึดทรัพย์ผู้ค้ำประกันเป็นข่าวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงลูกหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กระทรวงยุติธรรม ได้จัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนไปแล้ว 3 ครั้ง ที่ กทม., โคราช, สงขลา และครั้งล่าสุดที่นครศรีธรรมราช เมื่อ 1 เมษายน 2565 ทำให้หนี้ที่อยู่ในกระบวนการศาล ทั้งก่อนฟ้อง ระหว่างฟ้อง บังคับคดี รวมทั้งสิ้น กว่า 6,000 ราย จำนวนกว่า 1,100 ล้านบาท ได้รับการแก้ไขนับเป็นการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ถูกเจ้าหนี้ฟ้องดำเนินคดี ได้กลับมาใช้ชีวิตตามปกติอีกครั้ง
การแก้ไขปัญหาหนี้ครู เป้าหมายระยะแรก จำนวน 200,000 ราย วิธีการใช้สหกรณ์ออมทรัพย์ครูจำนวน 20 แห่ง เป็นสหกรณ์นำร่อง กำหนดมาตรการช่วยเหลือหลายวิธี ตัวอย่าง เช่น ยุบยอดหนี้โดยใช้ทรัพย์สิน/เงินได้ในอนาคตมาตัดหนี้, รวมหนี้จากแหล่งเจ้าหนี้อื่นมาไว้ที่สหกรณ์, ลดภาระจ่ายดอกเบี้ยที่แพงมาดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า, การลดดอกเบี้ยเงินกู้ไม่เกิน 5% ต่อปี เป็นต้น
หลายปีก่อนข้าราชการครูปรากฏเป็นข่าวมีหนี้สินจำนวนมาก จากหลายแหล่งเงินทุน เช่น หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์ ในขณะที่รายได้แต่ละเดือนหลังการหักหนี้แล้วเหลือไม่เพียงพอต่อการยังชีพ มาตรการรวมหนี้จากแหล่งเจ้าหนี้อื่น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยมักจะแพงที่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 มาไว้ที่สหกรณ์ออมทรัพย์จะเป็นการไขหนี้แบบเบ็ดเสร็จ
นอกจากสหกรณ์ออมทรัพย์ครูแล้ว ยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์อื่นๆ เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ขนาดใหญ่ของราชการ มหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งมีฐานะการเงินที่แข็งแกร่ง ผลประกอบการดี สามารถช่วยแก้ไขปัญหาสมาชิกที่มีภาระหนี้สินจำนวนมากให้บรรเทาเบาบางลง ด้วยการขยายผลการใช้มาตรการช่วยเหลือข้าราชการครู
เงื่อนไขสำคัญที่ลดความเสี่ยงการบริหารหนี้ของสหกรณ์คือ สิทธิการรับชำระหนี้จากเงินเดือนสมาชิก เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินบำนาญ หุ้นสหกรณ์ ซึ่งปกติสามารถนำมาเป็นหลักประกันรวมกับทรัพย์สินประเภทอื่น เช่น บ้านที่ดิน การจัดการงวดผ่อนชำระให้สอดคล้องกับเงินเดือนรายได้ สามารถทำได้ โดยขยายเวลางวดผ่อนชำระให้ยาวขึ้น
รวมทั้งจัดงวดผ่อนได้หลายวิธี เช่น ผ่อนชำระเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆกัน การจัดงวดผ่อนชำระแบบขั้นบันได หรือชำระน้อยในระยะแรกและค่อยๆ เพิ่มจำนวนในงวดถัดๆ ไป การจัดงวดผ่อนชำระแบบ bullet ผ่อนชำระน้อยมาก และชำระหนี้ที่เหลือทั้งจำนวนในงวดสุดท้าย
นอกจากนั้น สหกรณ์สามารถทบทวนแผนการผ่อนชำระได้ทุกๆ 3 หรือ 5 ปี สามารถบริหารต้นทุนได้โดยการลดดอกเบี้ยเงินฝากไม่เกินเพดาน รวมถึงสามารถเพิ่มสภาพคล่องและสร้างความแข็งแกร่งของเงินส่วนทุนโดยการจัดสรรกำไรในแต่ละปีเป็นกำไรสะสมมากขึ้น เช่น ร้อยละ 30-50 ของกำไรสุทธิ
นอกจากหนี้ข้าราชการแล้ว ยังหนี้ครัวเรือนที่เป็นปัญหาในกลุ่มประชาชนทั่วไป ทั้งที่มีเงินเดือนประจำ ผู้ให้บริการในธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ขายของ online อาชีพอิสระอื่น SME’s หรือผู้ตกงานไม่มีรายได้ที่รอรับการช่วยเหลือ ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากจำนวน 4.4 ล้านบัญชี วงเงิน 1.66 ล้านบาท ที่ได้รับการช่วยเหลือโดย ธปท.เมื่อปีที่แล้ว
หนี้ครัวเรือนปกติจะเป็นการเร่งคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เช่น กู้ซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ เพื่อการศึกษา เป็นต้น หากมีการใช้วงเงินกู้ที่เหมาะสมกับรายได้ มีภาระจ่ายหนี้สูงสุดไม่เกินร้อยละ 70 ของรายได้ในแต่ละเดือน และต้องมีเหลือเพื่อการดำรงชีพ ปัญหาหนี้ก็คงไม่เกิด เราจะหยิบยกปัญหาสำคัญขึ้นมา 2 ประเด็น
ปัญหาข้อมูลหนี้เป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่ง ผู้ให้กู้ไม่ทราบภาระหนี้ที่ผู้กู้ต้องจ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน การตรวจสอบข้อมูลยังคงเป็นข้อจำกัดที่ได้จากบริษัทเครดิตบูโร ซึ่งมีแหล่งเงินให้กู้หลายแห่งยังไม่ได้เข้าเป็นสมาชิก เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทเช่าซื้อ เป็นต้น รวมถึงหนี้นอกระบบ ปัจจุบันน่าจะเป็นแหล่งเงินที่พึ่งของผู้มีรายได้น้อย ตัวเลขรวม ๆ น่าจะเป็นแสนล้านบาท
ปัญหาการรวมหนี้จากลูกหนี้ที่มีเจ้าหนี้หลายราย หลายประเภทหนี้ เช่น หนี้บัตรเครดิต 4 ใบ หนี้ส่วนบุคคล 2 แห่ง หนี้เช่าซื้อ 3 แห่ง การจะรวมหนี้ไปอยู่ที่เจ้าหนี้รายใหญ่หรือรายใด ยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทายเจ้าหนี้ พร้อมรับความเสี่ยงที่
เกิดขึ้นหรือไม่ มีอะไรเป็นการชดเชยความเสี่ยง และทำเพื่ออะไรไม่เหมือนกับสหกรณ์ออมทรัพย์หากการแก้ไขปัญหาสมาชิกเป็นหนึ่งในนโยบายที่ต้องทำ ด้วยหลักการดูแลคุณภาพชีวิตของสมาชิก ฤาจะให้ธนาคารประชาชนของรัฐเข้ามาทำหน้าที่นี้
การแก้หนี้ครัวเรือนเป็นเรื่องละเอียดอ่อน กระทบต่อคนจำนวนมาก ปัญหาการก่อหนี้ที่สูงมีมาจากหลากหลายสาเหตุ ควรต้องทำความเข้าใจ เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิผล
สุดท้าย เมื่อคนป่วยไข้ก็ต้องหาหมอเพื่อการรักษาเยียวยา เช่นเดียวกับคนผิดนัดชำระหนี้ครัวเรือนก็สมควรได้รับคำปรึกษา เช่นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดหมอหนี้ ให้คำปรึกษาแก่ลูกหนี้ อย่างน้อยลูกหนี้ก็เข้าใจได้ว่าตนเองไม่ได้ต่อสู้ตามลำพัง วันนี้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิดสะสมในประเทศกว่า 1.5 ล้านรายได้รับการรักษาจากหมอแล้วหายเป็นส่วนใหญ่ การฉีดวัคซีนป้องกัน รัฐบาลต้องใช้ทรัพยากรสูงและหลากหลายในการต่อสู้ปัญหาโควิด ปัญหาหนี้ครัวเรือน รัฐบาลคงต้องจัดสรรทรัพยากรสูงและหลากหลาย เพื่อให้หนี้เข้าสู่ภาวะปกติและเป็นหนี้ที่มีคุณภาพอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน.
งศกร พิธุพันธ์
กลุ่มนโยบายสาธารณะ
เพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อภิสิทธิ์-อดีตนายกรัฐมนตรี มอง 'จุดเสี่ยง' รัฐบาลเพื่อไทย ระเบิดการเมือง วางไว้เองหลายลูก
แม้ขณะนี้จะไม่ได้มีตำแหน่งทางการเมืองใดๆ แต่สำหรับ "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์" การแสดงทัศนะหรือความคิดเห็นทางด้านการเมือง
ความเสื่อม.. ที่ควรเห็น.. ก่อนตาย!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีคำกล่าวเป็นสุภาษิต ว่า ความเสื่อมของมนุษย์ ล้วนมีสาเหตุมาจากมนุษย์.. ความเสื่อมของสิ่งใดๆ .. ก็มีสาเหตุมาจากสิ่งนั้นๆ..
รัฐบาลแพทองธาร อยู่ไม่ครบปี บิ๊กป้อม ยังสู้-พปชร.เดินหน้าต่อ
เหลือเวลาอีกเพียง 3 สัปดาห์เศษ ปี 2567 ก็จะผ่านพ้นไปแล้วเพื่อเข้าสู่ปีใหม่ 2568 ซึ่งภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2567 เป็นอย่างไร และปีหน้า 2568 จะมีทิศทางเช่นไร เรื่องนี้มีมุมมองแนววิเคราะห์จาก
ประมาทไม่ได้เลย คือ จิตของเรา!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. มีพระภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า..
คานถล่ม ผู้บริสุทธิ์จบชีวิต 6 ราย กับ สำนึกของนักการเมืองไทย!
เช้าตรู่วันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน 2567 เกิดโศกนาฏกรรมคานเหล็กยักษ์ที่ใช้สำหรับก่อสร้างทางยกระดับถนนพระราม 2 ถล่ม คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์จำนวน 6 ราย
ศึกเลือกตั้ง อบจ. 1 ก.พ. 68 Generation War พท.-ปชน. บารมีบ้านใหญ่ ขลังหรือเสื่อม?
การเมืองท้องถิ่นกับการเลือกตั้ง "นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด" (นายก อบจ.) ซึ่งที่ผ่านมามีการเลือกตั้งกันไปหลายจังหวัด ได้รับความสนใจจากแวดวงการเมืองอย่างมาก