ถ้ามองภาพของอุตสาหกรรม 4.0 ที่วันนี้กำลังกลายเป็นฐานสำคัญในภาคการผลิตและบริการ เป็นที่พึ่งพาใหม่ของทุกกลุ่มผู้ประกอบการ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่อย่างเข้มข้นทุกขณะ หากเข้าใจสังคมอุตสาหกรรม 4.0 ในมิติของสภาพแวดล้อม ความเคลื่อนไหว และพลังขับเคลื่อนที่มีต่อโลกวันนี้และอนาคตข้างหน้า จะพบว่าความเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรม 4.0 นั้น เป็นเหมือนโลกใบใหม่ที่ต่างจากโลกเก่าอย่างสิ้นเชิงในแทบทุกบริบทของกลไกความเคลื่อนไหว โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้างความคิด ระบบงาน-ลักษณะงาน ทักษะ-สมรรถนะความรู้และการทำงาน รวมทั้งผลลัพธ์โดยรวมที่พึงมี-พึงได้จากโลกของอุตสาหกรรม 4.0!!!
กลไกความเคลื่อนไหวในระบบการผลิตและบริการแบบ 4.0 มีโครงสร้างเฉพาะที่ต้องเข้าใจเพื่อการออกแบบระบบการผลิตสินค้าและบริการให้เป็นไปตามรูปแบบและเป้าหมายที่ต้องการ! ซึ่งนัยสำคัญของกลไกความเคลื่อนไหวของระบบดังกล่าว จะเปลี่ยนจากความเคลื่อนไหวและการงานที่เคยพึ่งพาความคิด-ขั้นตอนการงาน-แรงงาน ที่ใช้มนุษย์เป็นหลัก สู่การปรับสร้างยุคใหม่ที่เชื่อมต่อความต้องการและความสามารถของคนเข้ากับโครงสร้างระบบดิจิตอล ที่มีหุ่นยนต์กลไก ระบบข้อมูล การออกแบบระบบ ที่จะสร้างผลลัพธ์เป็นผลผลิตและบริการตามเป้าหมาย จากการเชื่อมต่อกันของระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์กลไก ที่มีลักษณะโครงสร้างการจัดการและการงานแบบใหม่ ที่ต่างจากระบบเดิมๆ ในกลุ่มอุตสาหกรรมยุคเก่าที่ขับเคลื่อนการผลิตและบริการของบ้านเมืองอยู่!!!
ระบบการผลิตและบริการในอุตสาหกรรม 4.0 ผู้คน-บุคลากรจะมีภารกิจการงานหลัก นอกจากการออกแบบระบบแล้ว ก็จะทำงานในกลุ่มการขับเคลื่อน ควบคุม และซ่อมบำรุงในระบบวงจรงานตามระบบและแบบแผนที่วางไว้ การผลิตและบริการในอุตสาหกรรม 4.0 จะพึ่งพาเทคโนโลยี และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพแบบ 5G ต้องการใช้ผู้คนที่มีความรู้-ทักษะ-สมรรถนะที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และการทำงานบนแพลตฟอร์มดิจิตอล ที่จะทำให้มีผลิตผลและประสิทธิภาพโดยรวมจะสูงกว่า/ดีกว่าระบบเดิม ซึ่งจากการศึกษาความแตกต่างจะพบว่ามีศักยภาพรวมสูงกว่ากันราว 40 เปอร์เซ็นต์ กล่าวคือ มีผลผลิต+ผลรวมจากการผลิตที่มากกว่า+การประหยัดทรัพยากรมากกว่า+ความสูญเสียที่น้อยลงกว่าเดิม ที่รวมแล้วดีกว่าเดิมเกือยร้อยละ 40 ทีเดียว ขณะเดียวกันก็จะใช้บุคลากรทำงานลดลงกว่าเดิมราว 10 เท่า นี่คือภาพรวมความเปลี่ยนแปลงและผลิตภาพโดยเปรียบเทียบระหว่างระบบอุตสาหกรรมเดิมกับระบบอุตสาหกรรม 4.0!
ผลรวมดังกล่าวมีความหมายต่อการจัดการองค์กรในการผลิตบริการในหลายมิติ ตั้งแต่โครงสร้างองค์กร ระบบการผลิตและบริการ สภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมองค์กร การพัฒนาบุคลากร และการปรับสร้างทักษะสมรรถนะในกลุ่มบุคลากร ฯลฯ ซึ่งการทำงานในระบบอุตสาหกรรม 4.0 ต้องการบุคลากรที่มีฐานความรู้ เนื้อหาความเข้าใจโลกของดิจิทัล และการปรับสร้างพัฒนาทักษะความรู้และสมรรถนะโดยรวมที่ต่างไปจากเดิม! ซึ่งประเด็นนี้เป็นโจทย์ใหญ่ของสถาบันการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรในปัจจุบันที่มีนัยสำคัญยิ่ง
ตลอดเวลาที่ผ่านมา ระบบการศึกษาปรับตัววนอยู่แค่ชายขอบของสาระสำคัญทางการศึกษาเท่านั้น! มีการปฏิรูปโครงสร้าง วิธีการ ขอบเขตตำแหน่งอำนาจ และเรื่องจิปาถะส่วนใหญ่ ฯลฯ ที่ล้วนอยู่นอกบริบทของการสร้างความรู้ การพัฒนาสติปัญญา และการยกระดับทักษะสมรรถนะที่จะปรับตัวให้เท่าทันนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ผุดขึ้นรวดเร็วต่อเนื่องและอย่างมากมายที่รับรู้กันอยู่!
สภาพรวมท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรม 4.0 จึงส่งผลให้การศึกษาระบบเดิมถูกเบียดขับทำลายพ้นวงจรความต้องการจริงอยู่ทุกขณะในวันนี้! นี่คือโจทย์ปัญหาใหญ่ที่สำคัญของการศึกษาและการพัฒนาบุคลากรวันนี้! ไม่นับรวมปัญหาอุปสรรคจากระบบระเบียบที่เป็นขวากหนาม ที่ไม่ส่งเสริมให้มีการต่อยอดพัฒนาเรียนรู้สร้างสรรค์ หรือการปรับตัวในแบบ unlearn relearn ตามความต้องการจริงของยุคสมัย ซึ่งมีความต้องการบุคลากรที่มีสมรรถนะตรงตามสภาวะการปรับตัวของนวัตกรรมและเทคโนโลยียุคใหม่ในภาคการผลิต-บริการ ในโครงสร้างเศรษฐกิจสังคมและวิถีชีวิตยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงที่ต่อเนื่องรวดเร็วในปัจจุบัน!
ช่วงเวลาราวเกือบ 3 ปีที่ผ่านมา ความเคลื่อนไหวของการพัฒนาบุคลากรตามเป้าหมายของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มุ่งปรับทิศทางการศึกษาทุกระดับให้หลุดพ้นจากระบบเดิม ที่มีความสูญเปล่า-สูญเสียมหาศาล สู่ทิศทางใหม่ที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการบุคลากรตามสมรรถนะและฐานความรู้ที่เปลี่ยนจากโลกอนาล็อกสู่โลกดิจิตอล ในทิศทางการพัฒนาบุคลากร-การศึกษาที่เรียกโดยรวมว่า Demand driven เพื่อสร้างฐานหลักในการจัดวางการศึกษา-การพัฒนาบุคลากร ให้ปรับตัวได้ทุกระดับ-เชื่อมต่อกับความต้องการที่แท้จริงของการมีงานทำ-การเป็นผู้ประกอบการ ซึ่งการศึกษาในวังวนเดิมถูกตีกรอบแน่นฝังในระบบระเบียบเก่า ไม่ผูกโยงกับการพัฒนา-ความก้าวหน้า-และความเปลี่ยนแปลงของโลก ซึ่งความเคลื่อนไหวในทิศทางใหม่นี้ยังอยู่ในระยะแรกของการปรับตัว ยังต้องการพลังที่จะขับเคลื่อน-เชื่อมโยงระบบการศึกษา ให้เป็นหนึ่งเดียวกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศทั้งในด้านคุณภาพและปริมาณ! โดยเฉพาะในการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ที่แม้จะมีความร่วมมือที่ดีจากภาครัฐที่เกี่ยวข้องทั้ง กระทรวงการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน ฯลฯ รวมทั้งภาคเอกชนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะกลุ่ม 12 s-curve ที่เป็นเป้าหมายของรัฐบาลแล้ว แต่ก็ยังต้องการเพื่อนร่วมทางและพลังอีกมากเข้าร่วมปรับตัวขับเคลื่อนเรื่องนี้ ให้เท่าทันอนาคตที่กำลังไล่ล่าใกล้เข้ามาทุกขณะ!!!.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2
รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า
วิปริตธรรม .. ในสังคม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. เลียบบ้านแลเมือง มองดูเข้าไปในหมู่ชนของบ้านเรา.. ในยามที่นักการเมืองเป็นใหญ่ มีอำนาจวาสนาบริหารราชการแผ่นดิน จึงได้เห็นความไหลหลงวกวนของหมู่ชน ที่สาละวนอยู่กับการแสวงหา เพื่อให้ได้มาใน ลาภ สักการะ ยศ สรรเสริญ สุข.. ไม่เว้นแม้ในแวดวงนักบวชที่มุ่งแสวงหามากกว่าละวาง