การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่คาดว่าจะมีขึ้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ความร้อนแรงของว่าที่ผู้สมัครรับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครที่เริ่มเปิดตัวกันมาระยะหนึ่ง นำมาสู่การนำเสนอนโยบายด้านต่าง ๆ ออกสู่สาธารณะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปากท้อง คุณภาพชีวิต การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนในการพัฒนาให้แก่ชาวกรุงเทพมหานคร การนำเสนอนโยบายเหล่านี้เป็นการฉายภาพให้เห็นถึงสิ่งที่ผู้สมัครจะสื่อสารให้ชาวกรุงเทพฯ ที่มีสิทธิเลือกตั้งได้ตัดสินใจเลือกผู้สมัครที่เสนอนโยบายตรงใจได้เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
การพิจารณาผู้สมัครนอกจากคุณสมบัติที่เหมาะสมกับตำแหน่งแล้ว ยังควรพิจารณานโยบายที่นำเสนอโดยเฉพาะประเด็นของการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสำเร็จ เพื่อจะได้ไม่เป็นเพียงนโยบายวาดฝัน แต่เมื่อเข้ามาปฏิบัติจริงไม่สามารถผลักดันให้เกิดผลสัมฤทธิของนโยบายได้ ดังเช่นหลายนโยบายของนักการเมืองและพรรคการเมืองที่ผ่านมา เมื่อได้รับการเลือกตั้งเข้ามาเป็นรัฐบาลแต่ไม่สามารถดำเนินนโยบายที่เสนอไว้ในตอนหาเสียงได้
การดำเนินนโยบายอย่างมีประสิทธิผล การขับเคลื่อนนโยบายเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดหลังการกำหนดนโยบาย โดยอาจมองขั้นตอนของการขับเคลี่อนตามนโยบายว่าเป็นแกนหลักของกระบวนการนโยบาย เป็นวิธีการหลักในการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ปัจจัยหลักสำหรับการดำเนินนโยบายอย่างมีประสิทธิผล เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิตามคาดหวังอาจพิจาณาถึง (1) การออกแบบนโยบาย (2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการมีส่วนร่วม (3 ) บริบทเชิงสถาบันและสังคม และ (4) กลยุทธ์การนำนโยบายไปปฎิบัติ
การออกแบบนโยบาย
เป็นขั้นตอนของการกำหนดกรอบตรรกะที่เชื่อมโยงระหว่างประเด็นนโยบายและแนวทางแก้ไข และความเป็นไปได้ของแนวทางที่เสนอ ซึ่งส่วนใหญ่จะกำหนดว่าจะบังคับใช้นโยบายได้หรือไม่ และทำอย่างไร การออกแบบนโยบาย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการหรือการรับรู้ถึงความต้องการที่จำเป็น โดยต้องมีตรรกะของนโยบายที่มีความชัดเจนของวัตถุประสงค์นโยบาย ลำดับความสำคัญของนโยบาย และผลกระทบและความพร้อมที่มีต่อระดับการปฏิบัติงานที่หน่วยงานดำเนินการ
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและการมีส่วนร่วม
นอกจากนั้น ในกระบวนการออกแบบนโยบายควรดึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อการกำหนดประเด็นปัญหาและนโยบายที่ชัดเจน และตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย การออกแบบนโยบายหากมิได้เชื่อมโยงกับกลุ่มผู้รับประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจทำให้กระบวนการขับเคลื่อนนโยบายไม่ได้รับการยอมรับ และเกิดเป็นประเด็นปัญหาและไม่เกิดผลสัมฤทธิตามที่คาดหวังได้
บริบทเชิงสถาบันและสังคม
ประเด็นเกี่ยวข้องเชิงสถาบันและข้อจำกัดทางสังคมทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่อาจส่งผลต่อการดำเนินนโยบาย ควรต้องนำมาพิจารณาควบคู่ไปพร้อมในกระบวนการออกแบบนโยบาย เพี่อใช้ประโยชน์จากบริบทที่เป็นอยู่มาเอื้อต่อการขับเคลื่อนนโยบาย และลดข้อจำกัดเชิงสถาบันและทางสังคมให้ลดน้อยลงได้
กลยุทธ์การนำนโยบายไปปฏิบัติ
กลยุทธ์การนำนโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง การวางแผนปฏิบัติการที่ชี้กระบวนการเพื่อให้นโยบายมีผลใช้บังคับ โดยมีปัจจัยที่จะช่วยให้นำนโยบายไปปฏิบัติและเกิดผลสัมฤทธ์ ได้แก่ (1) วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความชัดเจน (2) นโยบายมีหลักการที่เป็นไปตามหลักเหตุและผล (3) กระบวนการในการนำไปปฏิบัติมีจัดวางโครงสร้างอย่างเพียงพอต่อการขับเคลื่อน (4) การดำเนินการของเจ้าหน้าที่มุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย (5) กลุ่มผู้รับประโยชน์ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้การสนับสนุน และ (6) นโยบายไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เป็นผลเสียในเงื่อนไขตามกรอบของเศรษฐกิจและสังคม
นอกจากนั้น อาจพิจารณาปัจจัยประกอบอื่นต่อการออกแบบและขับเคลื่อนนโยบาย ได้แก่ (1) แนวทางและการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจต้องแสดงกิจกรรมของการขับเคลื่อนนโยบาย (2) ทัศนคติเชิงบวก ความมุ่งมั่น เจตจำนงทางการเมืองและการบริหารที่เป็นรูปธรรมและมองเห็นได้ในการดำเนินนโยบาย รวมถึง ความกระตือรือร้น แรงจูงใจส่วนบุคคลและทีมที่มีความเชื่อที่แท้จริงต่อนโยบาย (3) พฤติกรรมการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของนโยบาย การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันที่เข้มแข็ง และความเต็มใจที่จะแบ่งปันทักษะและข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนนโยบาย (4) การสร้างเครือข่าย เพื่อการจัดหาทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และ (5) ภาวะผู้นำ ความสามารถในการพัฒนาและสั่งการตามวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและอำนาจหน้าที่ที่ชอบด้วยกฎหมาย
จะเห็นได้ว่า การนำเสนอนโยบายไม่ใช่เป็นเพียงการสร้างภาพให้เห็นว่านโยบายจะมีอะไรบ้าง แต่ควรมีการนำเสนอรายละเอียดที่จะสะท้อนความเป็นนโยบายที่ดี เปิดโอกาสให้ภาคประชาสังคมและภาควิชาการสามารถเข้าถึงข้อมูลและวิเคราะห์ถึงความเหมาะสมของนโยบายได้ รวมถึงความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนนโยบายให้เกิดผลสัมฤทธิ ประเด็นเหล่านี้เรื่องสำคัญและท้าทายวิสัยทัศน์และความสามารถของผู้สมัคร รวมถึงผู้มีสิทธิเลือกตั้งควรให้ความสำคัญกับประเด็นเหล่านี้ด้วย ไม่ใช่การพิจารณาเพียงความนิยมในตัวผู้สมัครหรือพรรคการเมืองของผู้สมัครเท่านั้น แต่อย่างไรก็ดี หากการขับเคลื่อนนโยบายที่นำเสนอไม่สัมฤทธิผล ก็จะส่งต่อผู้ได้รับการเลือกตั้งในประเด็นของการได้รับการไว้วางใจในการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่ในโอกาสถัด ๆ ไป ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถใช้เป็นประเด็นในการพิจารณาร่วมด้วยได้ บางครั้ง จึงอาจถูกมองว่าไม่ใช่ภาระของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการพิจารณารายละเอียดของประเด็นนโยบายเท่าใดนัก แต่ทั้งนี้ สำหรับผู้สมัครแล้วการนำเสนอรายละเอียดในเรื่องที่จะนำเสนอจะช่วยทำให้เห็นถึงทิศทางการบริหารและโอกาสต่อความสำเร็จของนโยบายได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อมูลที่สะท้อนความพร้อมในการเข้ามาทำหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
การส่งเสริมบรรยากาศประชาธิปไตยมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการให้โอกาสประชาชนในการเลือกนโยบายที่ “ดี” และเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนให้เกิดผลสัมฤทธิ ความท้าทายสำหรับผู้สมัครคือการนำเสนอนโยบายที่ดี ตรงกับความต้องการ และสะท้อนความเป็นไปได้ของนโยบายให้ประชาชนได้เข้าใจและสามารถใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้ ทั้งนี้ การดึงการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคเอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เข้ามาสนับสนุนในการเกิดการออกแบบนโยบายที่ดี สะท้อนจุดแข็ง จุดอ่อน ใครได้ประโยชน์ ใครเสียประโยชน์ ต้นทุนทางตรง และต้นทุนค่าเสียโอกาสของการทำนโยบาย รวมถึงให้ความสำคัญกับแนวทางในการขับเคลื่อนเพื่อนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ หวังว่าวันหนึ่งจะได้เห็นบรรยากาศประชาธิปไตยที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเช่นนี้ตั้งแต่ขั้นตอนของการเสนอนโยบาย และทำให้นโยบายเกิดผลสัมฤทธิที่เป็นจริงมากกว่าจะเป็นการวาดฝันและฝันสลายไปในที่สุด
รองศาสตราจารยย์ ดร. ณดา จันทร์สม
คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
กลุ่มนโยบายสาธารณะเพื่อสังคมและธรรมาภิบาล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ร้อยใจไทย สืบสานราชธรรม .. ณ จังหวัดนครปฐม!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา.. ในวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๖๗ โครงการร้อยใจธรรม สืบสานราชธรรม ทั้งแผ่นดิน ถวายเป็นพระราชกุศลฯ ที่ดำเนินการโดย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทยและวัดป่าพุทธพจน์หริภุญไชย (ธ) ในพระราชูปถัมภ์ฯ จ.ลำพูน
ปีแห่งความร่วมมือ ร่วมใจในการพัฒนาสังคมไทยสู่ความเสมอภาค
ผู้อ่านหลายท่านน่าจะเห็นตรงกันว่าปีพ.ศ. 2567 ที่ผ่านมานั้น ประเทศไทยได้เผชิญกับความ ท้าทายหลายประการท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ผลการเลือกตั้งในสหรัฐอเมริกาภายใต้นโยบาย Trump 2.0 ที่จะทำให้สงครามทางการค้าเข้มข้นมากขึ้นและประเทศไทยย่อมจะได้รับผลกระทบหลายประการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ลึกสุดใจ. ”พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ ผบ.ตร.” ยึดกฎกติกา ไม่กลัวทุกอิทธิพล
ถึงตอนนี้ "พลตํารวจเอก กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ หรือ บิ๊กต่าย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ" ได้ทำหน้าที่ ผบ.ตร.อย่างเป็นทางการมาร่วมสามเดือนเศษ ส่วนการทำงานต่อจากนี้ ในฐานะ"บิ๊กสีกากี เบอร์หนึ่ง-รั้วปทุมวัน"จะเป็นอย่างไร?
2 สว. “ชาญวิศว์-พิสิษฐ์” ปักธงพิทักษ์รธน. ปกป้องสถาบันฯ พวกเราเป็นอิสระ ไม่มีรับใบสั่ง
กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการทำประชามติเพื่อนำไปสู่การให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูยเพื่อมายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อไทย ที่ต้องการทำให้เสร็จก่อนการเลือกตั้งที่จะมีขึ้น
ก้าวย่างออกจากปัญหา .. ของประเทศ!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระพุทธศาสนา... คำกล่าวที่ว่า.. “เมื่อสังคมมนุษยชาติขาดศีลธรรม.. ย่อมพบภัยพิบัติ.. เสื่อมสูญสิ้นสลาย..” นับว่าเป็นสัจธรรมที่ควรน้อมนำมาพิจารณา.. เพื่อการตั้งอยู่ ดำรงอยู่ อย่างไม่ประมาท...
นโยบายและกฎหมายรัฐบาลดิจิทัล (ตอนที่ 2) : ถอดบทเรียนกฎหมาย เสนอแนะการขับเคลื่อนและปรับปรุง
จากตอนที่แล้ว ซึ่งเกริ่นนำใจความสำคัญของกฎหมาย 2 ฉบับ ฉบับ คือ พระราชบัญญัติการบริหารงานและให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล (พ.ศ. 2562) และ พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2565)