บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) กับภารกิจหลักในการทำหน้าที่ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ผ่านกลไกการค้ำประกันสินเชื่อ สร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกัน หรือหลักประกันไม่เพียงพอให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบที่เพียงพอกับความต้องการ
ปัจจุบัน บสย.เดินบนเส้นทางในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาครบ 30 ปี กับอีกมิติในการการยกระดับองค์กรก้าวสู่ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ภายใต้แนวคิด “TCG Fast & First” รวดเร็ว รอบคอบ และเป็นที่หนึ่งในใจเอสเอ็มอี ภายใต้การนำของแม่ทัพคนใหม่อย่าง สิทธิกร ดิเรกสุนทร กรรมการและผู้จัดการทั่วไป บสย. ที่วางแนวทางในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี สร้าง Financial Platform ให้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของ บสย. เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย รับการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน ครอบคลุมถึงการขยายบทบาท บสย.สู่ Digital Credit Enhancer เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
โดย สิทธิกร ได้ฉายภาพกลยุทธ์ 3N กับบทบาทการทำงานในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย 1. New Engine พัฒนาผลิตภัณฑ์ ค้ำประกันสินเชื่อเจาะเฉพาะ
กลุ่ม (Segmentation) รูปแบบผสมผสาน (Hybrid Products) ระหว่างผลิตภัณฑ์ค้ำประกันเชิงพาณิชย์ของ บสย. (Commercial Product) และผลิตภัณฑ์ค้ำประกันที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐ (PGS9) และการค้ำประกันสินเชื่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีแบบเฉพาะกลุ่ม
2. New Culture ก้าวสู่วัฒนธรรมองค์กรใหม่ บสย. “TCG Fast & First” เป็นที่หนึ่งในใจเอสเอ็มอี รวดเร็วเหมือน Fintech Company และรอบคอบเหมือนสถาบันการเงิน พร้อมการปรับกระบวนการทำงานภายในที่ขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี
3. New Business Model ด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์ม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน Digital Gateway เชื่อมโยงธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมโยงระบบต่างๆ กับสถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทุกแพลตฟอร์ม ผ่าน Digital Tuchpoint ในรูปแบบ O2O (Online to Online Lending) อาทิ Electronic Know Your Customer หรือ e-KYC และ e-Statement ซึ่งเป็นที่ยอมรับจากลูกค้าและได้มาตรฐานการบริหารจัดการ Good Governance
สิทธิกร ระบุว่า ยุทธศาสตร์ของ บสย.ในปี 2565 จะยังคงดำเนินการตามแผนโครงการ Transformation ซึ่งมุ่งเน้นการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของ บสย.ให้สอดรับกับสภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเพื่อลดระดับการพึ่งพาจากภาครัฐ ซึ่งจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา และยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้นนั้น ทำให้เศรษฐกิจของประเทศได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและเป็นวงกว้าง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการดำเนินธุรกิจและความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี
ภาครัฐจึงได้มีนโยบายให้รัฐวิสาหกิจช่วยผู้ประกอบการและประชาชนที่ได้รับผลกระทบผ่านมาตรการต่างๆ ซึ่ง บสย.เองถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญของภาครัฐในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ผ่านการดำเนินโครงการที่สำคัญๆ ในปีที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู, โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะที่ 9 และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Micro ระยะที่ 4
ความพยายามของ บสย.ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้สะท้อนให้เห็นจากผลการดำเนินงานในปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่ง บสย.มียอดค้ำประกันอยู่ที่ 2.45 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 73% จากปีก่อน เป็นสถิติการค้ำประกันสูงสุดในรอบ 29 ปี มียอดเคลมสินเชื่ออยู่ที่ 6.6 พันล้านบาท ลดลงจากปีก่อนหน้าซึ่งมียอดเคลมอยู่ที่ 7.5 พันล้านบาท
โดยสามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้กว่า 2.26 แสนราย เพิ่มขึ้น 36% ก่อให้เกิดสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ มูลค่า 2.61 แสนล้านบาท หรือ 1.06 เท่าของยอดการค้ำประกัน และก่อให้เกิดการจ้างงานใหม่มากกว่า 4 แสนตำแหน่ง รักษาการจ้างงานได้มากกว่า 2 ล้านตำแหน่ง
“บสย.ได้ช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในระบบมากกว่า 3 ล้านรายให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ หรือคิดเป็น 22.52% ผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อต่างๆ ได้แก่ โครงการค้ำประกัน PGS9 วงเงินรวม 1.5 แสนล้านบาท ปัจจุบันสามารถค้ำประกันไปแล้ว 8.17 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 33.30% โดยยังมีวงเงินเหลืออีกราว 6 หมื่นล้านบาท, โครงการค้ำประกัน Micro 4 เพื่อผู้ประกอบการรายย่อย มีการค้ำประกันไปแล้ว 2.05 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 8.40% เฉลี่ยรายละ 1.2 แสนบาท โดยยังเหลือวงเงินอีกราว 3.2 พันล้านบาท คาดว่าน่าจะครบวงเงินในช่วงกลางปีนี้”
สำหรับแผนการดำเนินงานในปี 2565 นั้น “สิทธิกร” ระบุว่า บสย.ยังคงให้ความสำคัญกับ 4 แนวทาง คือ 1.สร้างสรรค์นวัตกรรมค้ำประกันสินเชื่อในรูปแบบ “HyBrid Guarantee” ผสมผสาน เชื่อมโยง ตอบโจทย์การเปลี่ยนแปลงของโลกทางการเงิน พร้อมกับสร้าง Financial Platform ขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อให้ผู้ประกอบการรายย่อย กลุ่มฐานราก กลุ่มอาชีพอิสระ และกลุ่มผู้ค้าออนไลน์
2.เพิ่มสัดส่วนคุ้มครองความเสี่ยงให้สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ ในโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 9
3.จัดทำโครงการพิเศษในโอกาส บสย. ครบรอบ 30 ปี ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี 3 ปี และอัตราความคุ้มครอง 30% สำหรับลูกค้าค้ำประกันสินเชื่อ ลดต้นทุนธุรกิจในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
4.ขยายบทบาท 2 ด้านหลัก ได้แก่ 1) ด้านค้ำประกันสินเชื่อเอสเอ็มอี มุ่งสู่ Digital Credit Enhancer เพื่อเพิ่มโอกาสเติมเต็มศักยภาพทางการเงิน และลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงสินเชื่อให้กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รวมไปถึงเพื่อลดการพึ่งพาสินเชื่อนอกระบบ และ 2) เพิ่มบทบาทการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน (Financial Literacy) ผ่านศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงินเอสเอ็มอี หรือ “บสย. F.A. Center”
โดยทีมผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีประสบการณ์ที่เชี่ยวชาญด้านการเงิน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ขอลงทะเบียนเพื่อขอรับคำปรึกษาและอบรมหลักสูตรต่างๆ แล้วกว่า 3,680 ราย และขอรับคำปรึกษาผ่าน บสย. F.A. Center แล้ว 1,610 พันราย สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนจากการช่วยเหลือเพื่อเตรียมความพร้อม และนำส่งธนาคาร 35.64% ผ่านช่องทางต่างๆ รวมถึงการให้คำปรึกษาเอสเอ็มอีภายใต้โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ที่ บสย.ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จำนวน 118 ราย
ในปีนี้ บสย.จะติดตามผลการให้คำปรึกษาและลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ขอรับคำปรึกษา นอกเหนือจากการร่วมเป็นทีมที่ปรึกษาในโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ร่วมกับ ธปท. เพื่อให้คำปรึกษาปัญหาหนี้ ช่วยลดปัญหาการขยายตัวของหนี้ครัวเรือน” สิทธิกร ระบุ
ส่วนเป้าหมายการค้ำประกันของ บสย.ในปี 2565 นั้น อยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท พร้อมทั้งยังได้ตั้งเป้าหมายการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพิ่มเป็น 40% จากปีที่ผ่านมา อีกทั้งคาดว่าจะมียอดเคลมอยู่ที่ 8 พันล้านบาท จากยอดค้ำประกันสินเชื่อในปีที่ผ่านมา ที่ 2.45 แสนล้านบาท
อย่างไรก็ดี จากความสำเร็จและประสิทธิภาพของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 9 และโครงการค้ำประกัน Micro 4 ที่ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีได้เป็นจำนวนมากนั้น สิทธิกร คาดว่าภายในไตรมาส 2/2565 บสย.จะเข้าไปหารือกับกระทรวงการคลังเพื่อขออนุมัติเดินหน้าโครงการค้ำประกัน Micro 5 วงเงินรวม 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ในช่วงไตรมาส 3-4/2565 มีแผนจะขออนุมัติจากกระทรวงการคลังเดินหน้าโครงการค้ำประกัน PGS10 วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุทธัจจะ .. ในวังวนแห่งการตื่นธรรม .. ยุคไอที!!
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธาในพระรัตนตรัย... สัทธายะ ตะระติ โอฆัง.. บุคคลข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.. โอฆะ หมายถึง ห้วงน้ำ ที่มีกระแสเชี่ยวกราก พัดพาสัตว์ทั้งหลายให้ตกไปในกระแสน้ำนั้น ยากจะข้ามฝั่งไปได้
’ห้าพันตารางกิโลเมตร‘ เท่ากับกี่ตารางนิ้ว ? เงื่อนตายของ MOU 2544 ?
MOU 2544 ไม่ใช่กรอบการเจรจาเพื่อหาข้อตกลง ”แบ่งผลประโยชน์(ปิโตรเลียม)“ เท่านั้น แต่หาข้อตกลง “แบ่งเขตแดน(ทะเล)“ ด้วย !
คำนูณ ผ่าปม 2 ได้ 3 เสีย ถ้าไม่ยกเลิก MOU 2544
ความเคลื่อนไหวและการแสดงความคิดเห็นเรื่อง MOU 2544 ที่เชื่อมโยงถึงเกาะกูด, การหาแหล่งพลังงานแห่งใหม่ในพื้นที่อ้างสิทธิไทย-กัมพูชา ที่มีการประเมินกันว่ามีมูลค่าสูงถึง 10 ล้านล้านบาท ยั
"มนตรี เดชาสกุลสม" ปักหมุดภารกิจเร่งด่วน เชื่อมโครงข่ายถนนยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
หลังจาก “มนตรี เดชาสกุลสม” เข้ารับตำแหน่งอธิบดีกรมทางหลวงชนบท (ทช.) คนที่ 11 อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ต.ค.ที่ผ่านมา ได้มอบนโยบายการดำเนินงานให้แก่บุคลากรกรมทางหลวงชนบท
'แก้วสรร' แพร่บทความ 'นิติสงคราม' คืออะไร?
นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ อดีตรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ออกบทความเรื่อง “นิติสงคราม” คืออะไร???
อย่าได้ประมาทในธรรม.. “เมื่อใจตรง .. จะตรงใจ”..
เจริญพรสาธุชนผู้มีจิตศรัทธามั่นคงในพระพุทธศาสนา.. เดินทางกลับมาจากอินเดีย เมื่อ ๗ พ.ย.๒๕๖๗.. ถึงกรุงเทพฯ ๘ พ.ย.๒๕๖๗ หลังจากไปร่วมประชุม “The First Asian Buddhist Summit 2024” ที่นิวเดลี งานนี้จัดโดยกระทรวงวัฒนธรรมและท่องเที่ยวของรัฐบาลอินเดีย