อ่วม 15 ธ.ค.ขึ้นค่าทางด่วนศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ เตรียมปรับขึ้นตามสัญญาสัมปทาน ทุก 5 ปี 15-25-35บ. กพท.เร่งเจรจาBEM หามาตรการเยียวยาบรรประชาชน ย้ำจะไม่ให้เกิดค่าโง่อย่างแน่นอน
20 ต.ค. 2564 – นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เปิดเผยว่า ตามที่ในวันที่ 15 ธ.ค. 2564 จะครบกำหนดการขึ้นค่าผ่านทางพิเศษศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ตามสัญญาสัมปทานกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม (BEM) หลังจากเปิดให้บริการมาแล้วกว่า 5 ปี หรือตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค. 2559 ที่ผ่านมา จากเดิมอัตราค่าผ่านทางรถยนต์ขนาด 4 ล้อ ราคา 50 บาท จะปรับขึ้นเป็น 65 บาท, รถยนต์ขนาด 6-10 ล้อ ราคา 80 บาท จะปรับขึ้นเป็น 105 บาท และรถยนต์ขนาด 10 ล้อขึ้นไป ราคา 115 บาท จะปรับขึ้นเป็น 150 บาท ทั้งนี้ การปรับขึ้นค่าผ่านทางดังกล่าวนั้น เป็นไปตามสัญญาสัมปทานกำหนดไว้
นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า บอร์ด ได้มีข้อสั่งการมายังฝ่ายบริหารของ กทพ. เนื่องจากกระทรวงคมนาคมมีความความห่วงใยเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนในการปรับขึ้นค่าผ่านทางครั้งนี้ เนื่องจากอยู่ในช่วงสถาการณ์การการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงสั่งการให้ฝ่ายบริหารของกทพ.ให้ไปหารือกับบริษัทคู่สัญญา หรือ BEM เพื่อหามาตรการช่วยเหลือประชาชนผู้ใช้ทาง หรือเยียวยาประชาชนได้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจะเป็นการชะลอการขึ้น หรือการจัดแคมเปญพิเศษเพื่อจูงใจให้ประชาชนรู้สึกว่ายังได้รับการใส่ใจดูแล
“เมื่อบอร์ดรับทราบแล้ว ได้สั่งการให้ กทพ.ไปทำการบ้านต่อ หลังจากนี้จะมีการเชิญทาง BEM มาพูดคุยอีกครั้ง หลังจากเมื่อวันที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการการหารือกันแล้ว ซึ่งBEM ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี แต่ยังคิดแคมเปญไม่ทัน แต่ได้พิจารณาว่าเยียวยาหรือช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร กทพ.เข้าใจถึงเหตุผลตรงนี้เนื่องจากที่ผ่านมา BEM ก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ปริมาณรถที่ผ่านทาง ตามสัญญาคาดการณ์ปริมาณรถที่ใช้บริการ 8 หมื่นคัน แต่ใช้บริการเพียง 5 หมื่นคน ส่วนรายได้หายไปเกือบ 50% โดยภายในสัปดาห์หน้าจะนัด BEM มาหารืออีกครั้ง เพื่อนำเสนอให้บอร์ด กทพ.พิจารณา คาดว่าภายในต้นเดือนพ.ย.นี้จะต้องได้ข้อสรุปทั้งหมด”นายสุรเชษฐ์ กล่าว
นายสุรเชษฐ์ กล่าวว่า มีความชัดเจนแล้วว่า วันที่ 15 ธ.ค.นี้ปรับขึ้นค่าผ่านทางสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกฯ ส่วนจะขึ้นหรือไม่ขึ้นนั้น ก็ขึ้นอยู่กับผลเจรจากัน ต้องอย่าลืมว่าเรามีบทเรียนในการขึ้นค่าผ่านทางในอดีตมาแล้ว ถ้าแข็งขืนหรือไม่ทำตามสัญญาสัมปทานแล้วจะถูกฟ้องร้องค่าโง่ เราต้องระวังในเรื่องนี้ ยอมรับว่าหนักใจมากๆ กับเรื่องนี้ เนื่องจากต้องปฎิบัติตามสัญญา ซึ่งเอกชนเองก็ได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้นการที่เราไปขอให้คนที่เขาได้รับความเดือดร้อนมาช่วยเหลือคนเดือดร้อนก็ต้องมีวิธีการจูงใจ แต่จะพยายามพูดคุยเจรจาหาทางออกที่ดีที่สุด ต้องหาข้อมูลมานั่งคุยกันอย่างละเอียด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.สามารถ คลี่ปมปริศนาขยายสัมปทานทางด่วนศรีรัช!
ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊ก มีเนื้อหาดังนี้
BEM ร่วมกับ กทพ. เพิ่มช่อง Easy Pass เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ในการเดินทาง
บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ร่วมกับ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย หรือ กทพ. เปิดช่อง Easy Pass เพิ่มอีก 1 ช่องทาง
4 พ.ค. ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)
เอาแล้ว '1 มี.ค.' แจ้งปรับขึ้นค่าทางด่วน ‘ฉลองรัช-บูรพาวิถี’
กทพ. แจ้งปรับอัตราค่าผ่านทางและทางพิเศษบูรพาวิถี ตามเงื่อนไขสัญญากองทุน TFFIF รถ 4 ล้อ จาก 40 เป็น 45 บาท เริ่ม 1มี.ค. 2567
'มท.1' เซ็นแล้ว! ปิดผับตี 4 พร้อมไฟเขียวฉลองปีใหม่ถึง 6 โมงเช้า
'อนุทิน' ลงนามกฎกระทรวงขยายเวลาปิดตี 4 สถานบริการ 5 จังหวัด-โรงแรม ยันทันบังคับใช้ 15 ธ.ค. พร้อมไฟเขียวสถานบันเทิงทั่วประเทศ ฉลองปีใหม่ถึง 6 โมงเช้า
BEM มอบรถยนต์กู้ภัย กทพ.
นายไพสัณฑ์ เลิศศรารักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ งานปฏิบัติการทางพิเศษ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ( ที่ 4 จากซ้าย)