กษ.ระดมสรรพกำลังเร่งช่วยเหลือน้ำท่วมภาคใต้ เกาะติดสถานการณ์ตลอด 24 ชม.

15 ธ.ค.2567 - นายเอกภาพ พลชื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่านางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งกรมชลประทาน ติดตามช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมพื้นที่ภาคใต้ทุกพื้นที่ด่วน   หลังเกิดฝนตกหนักถึงหนักมากจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างแรงปกคลุมภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป

กรมชลประทานรายงาน ขณะนี้ (15 ธ.ค.) เกิดพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 4 จังหวัด ได้แก่ จ.ชุมพร จ.ระนอง จ.สุราษฎร์ธานี และจ.นครศรีธรรมราช ดังนี้

1. จังหวัดชุมพร ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง (14 ธ.ค. 67) วัดได้ 326.0 มม. สะสม 48 ชั่วโมง (14-15 ธ.ค.67) 531 มม. มีน้ำท่วม 7 อำเภอ ได้แก่ อ.ท่าแซะ อ.เมืองชุมพร อ.สวี อ.ทุ่งตะโก อ.ละแม อ.ปะทิว และ อ.หลังสวน ซึ่งเป็นน้ำท่วมขังในพื้นที่และน้ำล้นตลิ่งบริเวณคลองชุมพร คลองสวี คลองตะโก คลองหลังสวน โครงการชลประทานชุมพร สำนักงานชลประทานที่ 14 ติดตั้ง เครื่องสูบน้ำบริเวณ อำเภอเมืองชุมพร รวม 11 จุด 11 เครื่อง และ ติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำรวม 3 จุด 12 เครื่อง โดยสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้

- คลองชุมพรเริ่มลดลงปัจจุบันน้ำอยู่ระดับต่ำกว่าตลิ่ง แล้ว

- คลองท่าแซะ มีน้ำล้นตลิ่ง ที่สถานี x.64 (บ้านท่าแซะ) 28 เซนติเมตร สถานี x.158 (บ้านวังครก) ประมาณ 35 เซนติเมตร

- คลองหลังสวน มีน้ำล้นตลิ่งประมาณ 2.26 เมตร

- คลองสวี มีน้ำล้นตลิ่ง ประมาณ 2.59 เมตรหากปริมาณฝนลดลง คาดว่า จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วันนี้

2. จังหวัดระนอง ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง (14 ธ.ค. 67) วัดได้ 277.5 มม. ฝน 48 ชั่วโมง (14-15 ธ.ค.67) 388 มม. มีน้ำท่วม 1 อำเภอ ได้แก่ อ.กระบุรี ซึ่งเกิดจากน้ำท่วมขังและมีน้ำล้นตลิ่งของคลองญวนและคลองบางน้ำจืด โครงการชลประทานระนอง สำนักงานชลประทานที่ 14 ได้เตรียมพร้อมกระสอบทราย 500 ใบ เพื่อสนับสนุนในพื้นที่ และติดตั้งเครื่องสูบน้ำ จำนวน 2 เครื่องออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำ ปัจจุบันระดับน้ำในคลองสายต่างๆ ต่ำกว่าตลิ่งแล้ว และ สถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว

3. จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง (14 ธ.ค. 67) วัดได้ 185.5 มม. ฝน 48 ชั่วโมง (14-15 ธ.ค.67) 338.5 มม. มีน้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองสุราษฎร์ธานี อ.กาญจนดิษฐ์ อ.ดอนสัก และ อ.ท่าชนะ ซึ่งเป็นน้ำท่วมขังในพื้นที่ และบางพื้นที่มีน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำตาปี คลองท่าทอง และคลองท่ากระจาย ประมาณ 0.20-0.30 เมตร โครงการชลประทานสุราษฎร์ธานี สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ 7 เครื่อง และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 6 เครื่อง และได้ดำเนินการพร่องน้ำบริเวณฝายท่าทอง ฝายคลองไชยา เพื่อรับปริมาณน้ำที่เกิดจากฝนตกอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีฝนตกหนักมากมาเพิ่มเติม คาดว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติใน 3-5 วัน

4. จังหวัดนครศรีธรรมราช ปริมาณฝน 24 ชั่วโมง (14 ธ.ค. 67)  วัดได้ 253.6 มม. ฝน 48 ชั่วโมง (14-15 ธ.ค.67) 299.0 มม. มีน้ำท่วม 4 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองนครศรีธรรมราช อ.ปากพนัง อ.ท่าศาลา และ อ.พระพรหม ซึ่งเกิดจากฝนที่ตกหนักในพื้นที่เข้าท่วมขัง และบางส่วนเกิดจากน้ำล้นตลิ่งในคลองท่าดี คลองเสาธง โครงการชลประทานนครศรีธรรมราช สำนักงานชลประทานที่ 15 ติดตั้งเครื่องสูบน้ำรวม 63 เครื่อง กระจายในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำรวมอีก 19 เครื่อง ปัจจุบันระดับน้ำในคลองท่าดีที่สถานี X.285 คลองนครน้อย (คลองหน้าเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ยังคงสูงกว่าตลิ่งประมาณ 0.66 เมตร แนวโน้มยังคงเพิ่มขึ้น คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 2-3 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาเพิ่มเติม

ในส่วนของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ยังไม่ได้รับผลกระทบน้ำจากน้ำท่วม และน้ำล้นตลิ่งในลำน้ำสายหลัก แต่กรมชลประทานได้เตรียมความพร้อมของบุคลากรและเครื่องจักรเครื่องมือประจำในพื้นที่เสี่ยง พร้อมทั้งติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด ถึงช่วงวันที่ 16 ธันวาคม 2567 ตามประกาศแจ้งเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ข่าวดี จีนเปิดแลปตรวจทุเรียนเพิ่ม ขยายโอกาสส่งออกของไทย

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าตามข้อสั่งการของ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)

สทนช. ออกประกาศหลายจังหวัดเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก 15-17 เม.ย.

นายไพฑูรย์ เก่งการช่าง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ออกประกาศสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติฉบับที่ 1/2568เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. นี้

กรมอุตุฯ ประกาศฉบับ 10 เตือน 'พายุฤดูร้อน' ระวังจัดกิจกรรมสงกรานต์กลางแจ้ง

นางสาวสุกันยาณี ยะวิญชาญ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่จนถึงวันที่ 14 เมษายน 2568) ฉบับที่ 10 โดยมีใจความว่า

อุตุฯ เตือนพายุฝนฟ้าคะนอง 37 จังหวัด ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้าว่า ภาคเหนือและภาคกลาง ยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

กรมอุตุฯ เตือนพายุฤดูร้อน ฉบับ 5 แจ้งพื้นที่ระวังน้ำท่วมขังระยะสั้น

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 12-14 เมษายน 2568) ฉบับที่ 5

สศก.เผย เกษตรกรไทย ถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดิน เฉลี่ยครัวเรือนละ 24.97 ไร่

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตรของไทย โดยการถือครองและการใช้ประโยชน์ที่ดินของครัวเรือนเกษตร ปีเพาะปลูก 2566 พบว่า ครัวเรือนเกษตรของประเทศไทย มีที่ดินถือครองเฉลี่ย 24.97 ไร่ต่อครัวเรือน