เปิดเวทีชำแหละมติ ครม. บริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ต่อใบอนุญาตทำงานแบบ MOU

เครือข่ายองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ (MWG) ร่วมกับกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานสีขาว (GEFW) เตรียมจัดเวทีชำแหละมติครม. การบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติ ผลกระทบของแนวทางการต่อใบอนุญาตทำงานแบบ MOU ในวันที่ 4 ธันวาคม 2567 ณ โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์ วิเคราะห์ผลกระทบจากการต่ออายุใบอนุญาตทำงานแบบ MOU ซึ่งกำหนดให้แรงงานข้ามชาติที่ใบอนุญาตหมดอายุในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 และต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับประเทศต้นทาง ได้แก่ พม่า ลาว,กัมพูชา และเวียดนาม

3 ธ.ค.2567 - นายอดิศร เกิดมงคล ผู้ประสานงานองค์กรด้านประชากรข้ามชาติ เปิดเผยว่า เวทีในวันที่ 4 ธันวาคมนี้จะมีการวิพากษ์ตามมติ ครม. โดยเฉพาะในกรณีของการต่ออายุการอนุญาตในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ปีหน้า ซึ่งจะใช้ MOU พิเศษในการดำเนินการ และจะมีการดึงประเทศต้นทางเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย 4 ประเทศ ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยพม่าและกัมพูชา ยอมอนุญาตให้แรงงานเข้ามาทำงานในไทยได้ แต่ปัญหาของพม่าคือมีแรงงานจำนวนมากกว่า 2 ล้านคนที่ต้องดำเนินการในรอบนี้ แต่มีศูนย์ดำเนินการ 30 แห่งทำให้การดำเนินการนี้อาจจะไม่ทัน

นายอดิศรกล่าวต่อว่า เนื่องจากขั้นตอนต่างๆ เช่น การขออนุมัติจากประเทศต้นทาง การยื่นเอกสาร และการขอวีซ่าต้องเสร็จภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับว่าศูนย์พม่าต้องพิจารณาให้ได้ประมาณ 3,000 คนต่อวัน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ ถ้ากลับไปใช้ระบบปกติ ก็ทำต่อในไทยไปเลย จะตัดขั้นตอนที่ต้องไปประสานข้ามชาติออกก็จะทำให้ขั้นตอนเร็วขึ้น ไม่ต้องรอระบบส่งตรวจโรคแล้ว มายื่นขออนุญาตทำงานและวิซ่าต่อได้เลย ซึ่งใช้เวลาไม่นานก็เสร็จ

การมีแนวทางและนโยบายแบบนี้ จะเร่งทำให้คนหลุดจากระบบหรือไม่ เพราะคนจำนวนเยอะมากกว่า 2 ล้านคน แล้วก็ด้วยเวลาที่จำกัด เหลือเวลาอีกประมาณ 2 เดือน ถ้าตัดวันหยุดราชการออก ก็น่าจะเหลือประมาณ 40 กว่าวัน คงไม่ทัน ถ้าไม่ทันก็จะทำให้คนหลุดจากระบบ กลายเป็นคนผิดกฎหมายหรือคนจะรีบทำโดยการจ่ายเงินให้นายหน้าเร่งในระบบ ทำให้เกิดคอร์รัปชั่นมากขึ้น ก็เลยเป็นที่มาของเวทีนี้ เราอยากเสนอให้รัฐปรับแนวปฏิบัติในเรื่องการดำเนินการตามมติ ครม. โดยต่ออายุการทำงานออกไป” นายอดิศรกล่าว

ด้าน นายสหัตวัต คุ้มคง สส.พรรคประชาชน และโฆษกคณะกรรมธิการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การต่อใบอนุญาตในรูปแบบ MOU นั้น จริงๆแล้วแนวคิดดูดีมากว่าต้องมีนายจ้างขอคำขอจากประเทศต้นทางส่งมา มีขั้นตอนต่างๆ แต่ในทางปฏิบัติแล้วมันทำไม่ได้ ปัญหาหลักของประเทศเมียนมาร์คือถ้าเป็นเจ้าของสวนเกษตรที่อยากจะหาแรงงานข้ามชาติสัก 2 คน ไม่รู้จะต้องติดต่อใคร สุดท้ายกระบวนการ MOU ก็จะผ่านบริษัทนายหน้าเสียส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่และท้ายสุดกระบวนการ MOU ยังมีข้อเรียกร้องให้แรงงานข้ามชาติต้องกลับไปที่ประเทศต้นทาง

“กระบวนการของไทยที่มันยากและช้า แน่นอนว่ามันทำให้เกิดเงินใต้โต๊ะเป็นจำนวนมาก จ่ายให้เร็วขึ้น จ่ายให้บริษัทจัดหางานที่ต้องมาดำเนินการแทนนายจ้างทั่วไป อันนี้เกิดขึ้นแน่นอน ไม่รู้ว่ารัฐบาลไทยได้ประโยชน์อะไรจากเรื่องนี้ เพราะจริงๆ พอขั้นตอนมันยาก สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือแรงงานจำนวนมากหลุดออกจากระบบ ท้ายที่สุดการขึ้นทะเบียนด้วยมติ ครม.เป็นปัญหาเพราะมันไม่ชัดเจน ต้องรอมติ ครม. ไปเรื่อยๆ เราต้องกลับมาคุยกันเรื่องกระบวนการขึ้นทะเบียนของไทยใหม่ทั้งหมด”นายสหัตวัตกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จับคาด่าน! รถ 18 ล้อ ดัดแปลงใต้ท้องรถซุกแรงงานต่างด้าว 8 คน

ชุดเฉพาะกิจราชมนู (ฉก.ราชมนู ) โดย กองร้อยทหารราบที่ 433 (ร้อย.ร.433 ) ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ตำรวจสภ.แม่สอด , ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ด่านตรวจ ร่วมตรวจสอบรถบรรทุกกึ่งพ่วง 18 ล้อ ทะเบียน 67-9208 กทม.

เย้ยกฎหมาย! โพสต์ขาย 'น้ำท่อม' ฉลองวันลอยกระทง

ภายใต้การนำของ พ.ต.อ.พิเชษฐ์พงศ์ แจ้งค้ายคม ผกก. สภ.เมืองสมุทรสาคร พ.ต.ท.สุขุม เพาะไธสง รอง ผกก.ป. พ.ต.ท.โสภาส ถนนทิพย์ สวป. สภ. พร้อมกำลังตำรวจ

นายจ้างแฉส่วยระบบขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว เรียกเก็บเงินไร้ใบเสร็จ แถมล่าช้าทำหลุดระบบนับแสนคน

นางนิลุบล พงษ์พยอม ตัวแทนกลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว (นายจ้างสีขาว)เปิดเผยถึงปัญหากระบวนการทำ CI (Certificate of Identity) เพื่อรับรองสถานะบุคคลสำหรับการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าว 4 สัญชาติ

คู่หยุดโลก! ศึกพม่าปะทะกัมพูชา หม่องโดนฟันหัวเจ็บสาหัส เขมรถูกรุมประชาทัณฑ์ แฉอาวุธเพียบ

เมื่อ เวลา 21.30 น วันที่ 24 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางปู จังหวัดสมุทรปราการ รับแจ้งมีเหตุทำร้ายร่างกายด้วยอาวุ

รมว.มท.เอาจริงจัดระเบียบสังคมในพื้นที่ภูเก็ต

มท.1 เป็นประธานมอบนโยบายปราบยาเสพติด - แรงงานต่างด้าว – สถานบริการ-ผู้มีอิทธิพล ประสาน ป.ป.ง. เช็กเส้นทางการเงิน-สอบสาวผู้อยู่เบื้องหลัง

ไทยไฟเขียวให้แรงงานเพื่อนบ้านกลับบ้านเกิดเล่นน้ำสงกรานต์!

ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา เดินทางกลับประเทศต้นทาง เพื่อร่วมงานประเพณีสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567