กระทรวงดีอี โดย ดีป้า แถลงผลสำเร็จโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย เผยครู นักเรียน ผู้ปกครอง และประชาชนที่สนใจจากทั่วประเทศให้การตอบรับดีเยี่ยม โชว์ผลงานยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ นักเรียน ครู ร่วมยกระดับทักษะโค้ดดิ้งเข้มข้นผ่านกิจกรรม Coding Bootcamp กว่า 3,200 คน ประชาชนเกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับโค้ดดิ้งผ่านกิจกรรม Coding Roadshow กว่า 1.16 แสนคน เกิดผลงานโค้ดดิ้งที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยครู นักเรียนจากทั่วประเทศผ่านโครงการ Coding for Better Life มากกว่า 900 ผลงาน
16 ก.ย.2567 - ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย คือโครงการในแผนงานระยะยาวที่มุ่งสร้างครูผู้สอนที่พร้อมถ่ายทอดความรู้และทักษะด้านโค้ดดิ้งแก่นักเรียนรุ่นต่อรุ่น พร้อมดำเนินการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานให้มีความพร้อมรองรับการเรียนการสอน ซึ่งทั้งหมดจะช่วยสร้างเมล็ดพันธุ์ดิจิทัลที่มีความพร้อมต่อการสร้างรากฐานอนาคตของประเทศ และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัล สอดคล้องกับเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพทุนมนุษย์ด้านดิจิทัลของประเทศ ตามนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กระทรวงดีอี)
ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดีป้า ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะโค้ดดิ้ง
แก่เยาวชนไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2561 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานทักษะดิจิทัลแห่งอนาคต และบรรเทาปัญหาการขาดแคลนกำลังคนดิจิทัลของประเทศ สำหรับโครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย ที่ กระทรวงดีอี โดย ดีป้า บูรณาการการทำงานกับเครือข่ายพันธมิตรมีวัตถุประสงค์ที่จะส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศดิจิทัลที่พร้อมรองรับการพัฒนาทักษะโค้ดดิ้งแก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษา ผ่านการยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง ภายใต้แนวคิด ‘ทักษะโค้ดดิ้งเพื่อต่อยอดสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน’ โดยการสนับสนุนหลักสูตรพิเศษจากเครือข่ายพันธมิตรกว่า 20 หลักสูตร และอุปกรณ์ดิจิทัลประกอบการเรียนการสอน ซึ่งดำเนินการใน 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ
นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังมีการดำเนินกิจกรรม Coding Bootcamp & Coding Roadshow และ Coding War ใน 8 ภูมิภาคทั่วประเทศ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น กรุงเทพมหานคร อุบลราชธานี พิษณุโลก เชียงใหม่ ภูเก็ต ชลบุรี และสงขลา โดยมีครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการรวมกว่า 3,200 คนร่วมกิจกรรม Coding Bootcamp เพื่อเรียนรู้ทักษะโค้ดดิ้งเข้มข้น ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญแถวหน้าของประเทศ และสร้างสรรค์ผลงานด้านโค้ดดิ้ง พร้อมกันนี้ยังมีพ่อแม่ ผู้ปกครอง และประชาชนที่สนใจร่วมกิจกรรม Coding Roadshow ที่จัดควบคู่กับ Coding Bootcamp ทั้งในรูปแบบ On-site และ Online รวมกว่า 1.16 แสนคน ขณะที่กิจกรรม Coding War มีครู นักเรียน และบุคลากรทางการศึกษาร่วมกิจกรรมกว่า 5,000 คน หรือ 1,250 ทีมจากทั่วประเทศ จากนั้นคัดเหลือ 100 ทีมเข้าสู่กิจกรรมพัฒนาศักยภาพด้านโค้ดดิ้งเข้มข้น ก่อนร่วมแข่งขันในรายการ Coding War รอบชิงชนะเลิศ โดยมีเพียง 10 สุดยอดทีมในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาได้รับทุนการศึกษาและอุปกรณ์ดิจิทัล รวมมูลค่ากว่า 1 ล้านบาทเป็นรางวัล และเกิดผลงานโค้ดดิ้งที่ได้รับการสร้างสรรค์โดยครู นักเรียนจากทั่วประเทศผ่านโครงการ Coding for Better Life กว่า 900 ผลงาน
ทั้งนี้ โครงการ Coding for Better Life ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัด โดย บริษัท ซันโทรี่ เบเวอเรจ แอนด์ ฟู้ด (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่การมอบ Micro:bit ให้โรงเรียนภายใต้กิจกรรมอัปเกรดห้องเรียนโค้ดดิ้ง มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท และสนับสนุนกิจกรรม AI Roadshow สร้างแรงบันดาลใจเกี่ยวกับ AI ในสาขาอาชีพต่าง ๆ ให้กับเยาวชน ครู ผู้ปกครอง และบุคคลทั่วไปใน 8 จังหวัด
อีกทั้งสนับสนุนเงินรางวัลและผลิตภัณฑ์แบรนด์ซุปไก่สกัดฟรีตลอด 1 ปี สำหรับทีมผู้ชนะในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา พร้อมรางวัลพิเศษ จำนวน 2 รางวัล มูลค่ารวมกว่า 600,000 บาทในกิจกรรม Coding War บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด สนับสนุนหลักสูตร HUAWEI CLOUD DEVELOPER บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) สนับสนุนคูปองการเรียนรู้ผ่าน TRUE DIGITAL ACADEMY เอไอเอ ประเทศไทย สนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนในโครงการ และ เทโร เพอร์ฟอร์แมนซ์ คอร์ส ที่มีเป้าประสงค์เดียวกันคือ การปลูกฝังความรู้ด้านโค้ดดิ้งแก่ประชาชนตั้งแต่ระดับเยาวชน ซึ่งจะเป็นส่วนช่วยให้เด็กไทยเติบโตไปเป็นกําลังคนดิจิทัลที่มีคุณภาพเป็นกําลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
“กระทรวงดีอี และ ดีป้า หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการ Coding for Better Life จะเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับเยาวชนไทยสู่การเป็นกำลังคนและบุคลากรดิจิทัลของประเทศ และขอขอบคุณคุณครูที่ช่วยฟูมฟักน้อง ๆ เยาวชน ซึ่งถือเป็นเมล็ดพันธุ์ที่จะเติบโตไปเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนไทยก้าวต่อไปท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงด้วยดิจิทัล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว
สำหรับรางวัลการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ แบ่งเป็น 2 ระดับ ประกอบด้วย ระดับประถมศึกษา และ ระดับมัธยมศึกษา โดยผลการแข่งขัน มีรายละเอียด ดังนี้
ระดับประถมศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม KP Robot โรงเรียนขจรเกียรติพัฒนา จ.ภูเก็ต
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู
จ.ขอนแก่น
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม KT KRUB โรงเรียนขจรเกียรติถลาง จ.ภูเก็ต
- รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม Watmai Robotic โรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม จ.ชลบุรี และ ทีม KT GEN IT
โรงเรียนกวางตง จ.สุโขทัย
- Popular Vote ได้แก่ ทีม KT GEN IT โรงเรียนกวางตง จ.สุโขทัย
- BEST IDEA ได้แก่ ทีม Jomkiri Novices (จอมคีรีโนวิคซ์) โรงเรียนเทศบาลวัดจอมคีรีนาคพรต
จ.นครสวรรค์
ระดับมัธยมศึกษา
- รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ โรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร
- รองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ทีม Sense Vision โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จ.เชียงใหม่
และ ทีม COOK3R โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย จ.นครพนม
- รองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ทีม หลานม่าบ๊อกซ์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร , ทีม หม่ำ เท่ง โหน่ง โรงเรียนศรียานุสรณ์ จ.จันทบุรี , ทีม E-Care โรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา และ ทีม Catch Me by the ACR โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง จ.ระยอง
- รางวัลชมเชย ได้แก่ ทีม TNNJ โรงเรียนสตรีภูเก็ต จ.ภูเก็ต และ ทีม ปลากระดี่แม่น้ำฮวงโห โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก
- POPPULAR VOTE ได้แก่ ทีม E-Care โรงเรียนมารีย์วิทยา จ.นครราชสีมา
- BEST IDEA ได้แก่ ทีม Innotech โรงเรียนวัดป่าประดู่ จ.ระยอง
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.depa.or.th, CodingforBetterLife.com และเฟซบุ๊กเพจ depa Thailand และCodingThailand by depa
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดีป้า' เปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล ยกระดับเกษตรกรชาวสวนทุเรียน
ดีป้า ส่งเสริมเกษตรกรไทยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต เดินหน้าเปิดตัวโครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (OTOD ทุเรียนดิจิทัล) ขับเคลื่อนการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลผ่านแอปพลิเคชันภาคการเกษตรสำหรับบันทึก จัดเก็บข้อมูล ติดตามย้อนกลับการเพาะปลูก สร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภค ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ ยกระดับสินค้าเกษตรมูลค่าสูงสู่ตลาดโลก พร้อมพัฒนาทักษะและศักยภาพเกษตรกรไทยสู่เกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน
'ดีป้า' เตรียมจัดแข่งทักษะโค้ดดิ้ง รอบชิงชนะเลิศ เฟ้น 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัล
ดีป้า เตรียมจัดการแข่งขัน Coding War รอบชิงชนะเลิศ สมรภูมิไอเดียด้านโค้ดดิ้งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย หา 10 สุดยอดผลงานนวัตกรรมดิจิทัลจากเด็กไทยทั่วประเทศ
'ดีป้า' ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง 'ครู-นักเรียน' 100 ทีม ต่อยอดสู่เวทีนานาชาติ
ดีป้า จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพเข้มข้น ครู - นักเรียน จำนวน 100 ทีม ที่ผ่านการคัดเลือกอย่างเข้มข้นจากทั่วประเทศ เข้าคอร์สติวเข้มทักษะโค้ดดิ้ง จากผู้เชี่ยวชาญ
ดีป้า เปิดแผนการดำเนินงานปี 2568 ชูแนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better ยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทยด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล
ดีป้า เผยแผนการดำเนินงาน ประจำปี 2568 ในงาน ‘depa Digital Intelligence’ ภายใต้แนวคิด Perform Better, Think Faster and Live Better
'ดีป้า' ประกาศผล 100 ทีมเข้ารอบสุดท้าย เวทีแข่งขันทักษะโค้ดดิ้งระดับประเทศ
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจากกิจกรรม Coding Bootcamp ใน 8 ภูมิภาค กิจกรรมภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย พร้อมประกาศผล 100 ทีม
'ดีป้า' ล่องใต้เยือนภูเก็ต ติวเข้มทักษะโค้ดดิ้งนักเรียน-ครู สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย
ดีป้า จัดกิจกรรม Coding Bootcamp & Roadshow และ Coding War พื้นที่ภาคใต้ตอนบน ภายใต้โครงการ Coding for Better Life สร้างรากฐานอนาคตประเทศไทย หลังกิจกรรมในพื้นที่