เลขาธิการสหประชาชาติเตือน ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิกส่งผลถึง 'ภัยพิบัติโลก'

(ระหว่างเดินทางเข้าร่วมประชุมสุดยอดแปซิฟิกที่ตองกา อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ เยี่ยมชมชายหาดฮาอาตาฟู ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการระเบิดของภูเขาไฟและสึนามิเมื่อปี 2022 – Photo by Tupou Vaipulu / AFP)

อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็น แสดงความกังวลในการประชุมสุดยอดแปซิฟิกที่ตองกา การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลอาจส่งผลร้ายแรงตามมา

“ผมมาตองกาเพื่อเรียกร้องความช่วยเหลือทั่วโลก เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น” อันโตนิโอ กูเตอร์เรสกล่าวเมื่อวันอังคาร “สวรรค์แห่งมหาสมุทรแปซิฟิกแห่งนี้กำลังถูกคุกคามจากหายนะระดับโลก” 18 ประเทศในการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (PIF) เรียกร้องให้มีการสนับสนุนเพิ่มเติมจากผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายใหญ่ที่สุดในการประชุมเมื่อวันจันทร์

ภูมิภาคแปซิฟิกต้องเผชิญกับภัยคุกคามเป็นพิเศษ ตามรายงานใหม่ขององค์การสภาพอากาศโลก (WMO) แม้ว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้น 9.4 เซนติเมตรในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา แต่ในบางพื้นที่ของมหาสมุทรแปซิฟิกก็เพิ่มขึ้นถึง 15 เซนติเมตร ตามที่สหประชาชาติแสดงให้เห็น “เป็นที่ชัดเจนมากขึ้นว่า อีกไม่นานเราจะหมดเวลาในการพลิกสถานกาณณ์” เซเลสต์ เซาโล เลขาธิการองค์การสภาพอากาศโลกกล่าว

แต่ไม่ใช่ว่าทุกประเทศที่เป็นเกาะจะได้รับผลกระทบเท่าเทียมกัน แม้ว่าระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นรอบๆ คิริบาสและหมู่เกาะคุกจะอยู่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย แต่ก็เพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าที่ซามัวและฟิจิ จากการคำนวณ ตูวาลู ซึ่งเป็นเกาะเล็กๆ อาจจมลงสู่ทะเลได้อย่างสมบูรณ์ภายในเวลา 30 ปี

“สำหรับหมู่เกาะที่อยู่ต่ำ นั่นหมายถึงการต้องเอาชีวิตรอด” มานา ทาเลีย รัฐมนตรีกระทรวงคุ้มครองสภาพภูมิอากาศของตูวาลู กล่าวนอกรอบการประชุมสุดยอดกับสำนักข่าว AFP “ภัยพิบัติกำลังเพิ่มมากขึ้น และเราไม่สามารถสร้างทุกสิ่งขึ้นมาใหม่ได้ครั้งแล้วครั้งเล่า หรือรอดพ้นจากพายุไซโคลนหรือน้ำท่วมครั้งใหม่ได้”

หลายปีที่ผ่านมา ประเทศในมหาสมุทรแปซิฟิกเรียกร้องให้มีความพยายามมากขึ้นในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่นับวันจะเลวร้ายลง และให้การสนับสนุนมากขึ้นในการปกป้องการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีอำนาจทางเศรษฐกิจเพียงเล็กน้อยและค่อนข้างโดดเดี่ยวทางสภาพภูมิศาสตร์ ความต้องการเหล่านี้จึงมักถูกละเลยจากประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

หมู่เกาะแปซิฟิกที่มีประชากรเบาบางมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกเพียง 0.20 เปอร์เซ็นต์ ตามตัวเลขของสหประชาชาติ ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศเหล่านี้อาศัยอยู่ห่างจากชายฝั่งไม่ถึง 5 กิโลเมตร ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มขึ้นจะค่อยๆ ทำลายทรัพยากรที่สำคัญ “ในปี 2020 ประเทศหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น วานูอาตู ปาปัวนิวกินี และไมโครนีเซีย ต้องสูญเสียผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น” โรซานน์ มาร์ไทร์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสจากสถาบันวิจัยสภาพภูมิอากาศ Climate Analystic กล่าว

ภาวะโลกร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกถือเป็นภัยคุกคามร้ายแรง เพราะการเพิ่มความเป็นกรดในมหาสมุทรจะทำลายแนวปะการัง และส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อาหารทางทะเล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อัปเดตเส้นทางดีเปรสชัน 'หยินซิ่ง' ทวีรุนแรงเป็น 'พายุโซนร้อน'

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตสถาการณ์พายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกและทะเลจีนใต้ ล่าสุดเช้าวันนี้ : ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก พายุดีเปรสชันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน "หยินซิ่ง (YINXING)" แล้ว

'เขื่อนเจ้าพระยา' ลดระบายน้ำต่อเนื่อง พื้นที่ลุ่มต่ำ 4 จ. ท่วมน้อยลง

แม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลผ่าน จ.นครสวรรค์ และแม่น้ำสะแกกรัง จ.อุทัยธานี มีปริมาณลดลงต่อเนื่อง ส่งผลให้ปริมาณน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

นครพนม 4 อำเภอติดริมโขง ยังรับมวลน้ำไหว แต่ลำน้ำสาขาอ่วมจมนาข้าวมิด

นครพนม ไล่เรียง 4 อำเภอชายแดนติดลำโขง ยังรับมวลน้ำไหวท่วมส่วนน้อย แต่ลำน้ำสาขาอ่วมจมนาข้าวมิด ปศุสัตว์ส่งมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน

พยากรณ์อากาศ 10 วันล่วงหน้า พบสัญญาณการก่อตัว 'พายุไต้ฝุ่น'

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตผลการพยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม. : (นับตั้งแต่ 07.00 น. ถึง 07.00 น.วันรุ่งขึ้น) และลมที่ระดับ 925hPa (750 ม.) 10 วันล่วงหน้า