กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission สานต่อโครงการ Nets up ตอกย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและความยั่งยืนในโครงการด้านสิ่งแวดล้อม
ที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก ตำบลปากน้ำประแส อำเภอเมืองแกลง จังหวัดระยอง กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission เมื่อวันศุกร์ที่ 28 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยได้รับเกียรติจาก นายสุเทพ จั้วลอง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายกฤษฎา เรืองโชติวิทย์ Head of Circular Economy, ESG บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) ภายในงาน น.ส.สาธิตา นิลสุวรรณากุล ประธานกลุ่มเยาวชน The Youth Fund ได้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการ Marine Saver Mission และนายสิร พนมยงค์ หัวหน้าโครงการ Marine mobility project
ภายในงาน นอกจากเป็นการเปิดตัวโครงการ Marine Saver Mission แล้ว กลุ่มเยาวชน The Youth Fund ได้ทำกิจกรรมทำความสะอาดบ่ออนุบาลเต่า การออกแบบรยางค์เต่าทะเลเทียมที่ช่วยในการว่ายน้ำของเต่าที่พิการ ณ ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก และกิจกรรมดำน้ำเก็บขยะ บริเวณพื้นที่เกาะมันใน
นอกจากนี้ น.ส.สาธิตา นิลสุวรรณกุล ประธานกลุ่มเยาวชนThe Youth Fund เปิดเผยว่า ภารกิจ Marine Saver Mission เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่กลุ่มเยาวชน The youth fund จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องร่วมกับ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) เป็นการสานต่อ Nets Up โมเดลสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน
โดยการนำวัสดุจากทะเลมารีไซเคิลจนได้เป็นผลิตภัณฑ์อัพไซเคิล เป็นนวัตกรรมใหม่ Marine Materials ทางเลือกใหม่เพื่อความยั่งยืน มุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนการนำอวนจับปลาที่ถูกทิ้งให้เป็นวัสดุทางทะเลที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้กับชุมชนประมงในท้องถิ่น
โดย น.ส. สาธิตา นิลสุวรรณากุล ได้ออกเเบบเสื้อจากโครงการ Nets up เพื่อจัดจำหน่ายในงานการกุศล ผ่านช่องทางออนไลน์ และจำหน่ายในงานการประกวด “นวัตกรรมสร้างสรรค์ เพื่อลดภาวะโลกร้อน Youth Climate Innovators 2024” เนื่องในวันโอโซนโลก (World Ozone Day) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2567 ณ กรมการเปลี่ยนเเปลงสภาพภูมิอากาศเเละสิ่งเเวดล้อม
โดยรายได้ทั้งหมดจากการจำหน่ายจะนำไปบริจาคให้กับมูลนิธิผู้พิทักษ์ป่าและสัตว์ทะเล เพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง เน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของเยาวชนในการปกป้องทะเลไทย สนับสนุนอนาคตที่ยั่งยืนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล เพื่อโลกที่ดียิ่งขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
พะยูนยังเหลืออยู่ที่ไหน? อีกเท่าไหร่ในปัจจุบัน
ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์พะยูนเมืองไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ขอความร่วมมือช่วยกันส่งจุดที่พบในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาในฝั่งอันดามัน
เร่งแก้ปมเอกชนฟ้องขับไล่ชาวบ้านอาศัยเขตป่าชายเลนตามมติครม.
อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นำทีมเข้าตรวจสอบสภาพพื้นที่ชุมชนประชาสามัคคี ต.เกาะแก้ว จ.ภูเก็ต ปมข้อพิพาทกับเอกชนชาวบ้านถูกฟ้องขับไล่ออกจากพื้นที่
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
ปุ้มปุ้ย ผนึกกำลัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ และบิ๊กซี นำร่องโครงการ “พี่ปุ้มปุ้ย...พาน้องพะยูนกลับบ้าน”
บริษัท ผลิตภัณฑ์อาหารกว้างไพศาล จำกัด (มหาชน) โดยนางปวิตา โตทับเที่ยง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารความยั่งยืน และสื่อสารองค์กร
“PTTEP Ocean Data Platform” แพลตฟอร์มข้อมูลวิทยาศาสตร์เพื่อความยั่งยืนของทะเลไทย
ปัจจุบัน ข้อมูลวิทยาศาสตร์ทางทะเลที่มีความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลมีอยู่ไม่มากนัก และยากต่อการค้นหา เนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ