กมธ.ที่ดิน ลงพื้นที่ภูผาเหล็ก ยังไร้ข้อยุติความขัดแย้งชุมชน-อุทยานฯ

28 มิ.ย.2567 - ที่หอประชุมโรงเรียนยางคำพิทยา ต.ผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี คณะกรรมาธิการ(กมธ.)ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายอภิชาติ ศิริสุนทร ได้มาลงพื้นที่เพื่อรับฟังปัญหาและรับเรื่องร้องเรียนกรณีที่ชาวบ้านผลกระทบจากป่าสงวนแห่งชาติภูผาเหล็กทับซ้อนที่ดินทำกิน โดยเชิญผู้แทนหน่วยงานราชการเข้าร่วมประกอบด้วย นายดุสิต ตาบ้านดู่ หัวหน้าหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้บ้านดุงสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 (อุดรธานี) นายกิตติชัย คะอังกุล นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการแทนผู้อำนวยการอุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก พันจ่าเอกวันชัย พรมมาโอน ปลัดอำเภอแทนนายอำเภอวังสามหมอ นายสนธิ สีดากูด นายกเทศบาลผาสุก โดยมีประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมกว่า 300 คน

ทั้งนี้เมื่อ พ.ศ. 2543 ชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้าแผ้วถางป่า เพื่อครอบครองที่ดินทำกินในพื้นที่ในเขตบ้านสมสวัสดิ์ อ.วังสามหมอ “ภูผาเหล็ก” และได้ทำกินมาโดยตลอดและสืบทอดกันมา โดยมีเอกสารประกอบคือใบ ภบท.5 ยืนยันการเสียภาษี ซึ่งในขณะนั้นพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ป่าสงวน แต่เจ้าหน้าที่แจ้งว่าให้ออกและไม่ให้ทำกินมาโดยตลอด แต่ชาวบ้านเห็นว่าเป็นป่าเสื่อมโทรมจึงใช้ทำกิน ซึ่งต่อมาทางจังหวัดอุดรธานี ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ป่าอนุรักษ์บางส่วนของป่าสงวนแห่งชาติ ป่าบะยาว ป่าหัวนาคำ ป่านายูง ป่าหนองกุงทับม้า ป่าหนองหญ้าไซ ในท้องที่ตำบลผาสุก อ.วังสามหมอ พื้นที่รวม 10,315 ไร่ (16.5 ตารางกิโลเมตร)

ต่อมาเมื่อ วันที่ 23 ธันวาคม 2552 ได้มีการประกาศเป็น “อุทยานแห่งชาติภูผาเหล็ก” และมีเจ้าหน้าที่เข้ามาดำเนินการให้ประชาชนในพื้นที่ออกจากเขตและได้มีการตัดต้นยางพาราของประชาชนบางส่วน โดยอ้างว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่สีแดง ชาวบ้านจึงยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีและหน่วยงานต่างๆ แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข

นายบัวยม สมพร ชาวบ้านสมสวัสดิ์ ต.ผาสุก อ.วังสามหมอ จ.อุดรธานี ตัวแทนชาวบ้านที่มายื่นร้องเรียน ได้กล่าวว่าวันนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปเพราะว่ายังไม่ได้รับคำตอบจากอุทยานฯว่าต้องคุยกันแบบไหนหรือยื่นเรื่องแบบไหน เนื่องจากพื้นที่สีแดงของผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการบุกรุกเขตอุทยานก็ยังต้องใช้ชีวิตและทำมาหากินต่อไปซึ่งทำมาตั้งแต่พ่อแต่แม่ เมื่อที่ดินจะมาถูกยึดทั้งที่ต้นยางพาราของตนปลูกมาได้20กว่าปี

"สำหรับการต่อสู้ในอนาคตก็ต้องไปตามขั้นตอน โดยเราก็จะต่อสู้ในนามกลุ่มสมัชชาคนจน แล้วก็จะไปร้องเรียนยังอุทยาน ไปร้องเรียนที่ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี และไปยังรัฐสภา" นายบัวยมกล่าว

ทั้งนี้หนังสือร้องเรียนของชาวบ้านมีข้อเสนอประกอบด้วย 1. กรณีการชี้แนวเขตอุทยานรุกล้ำทับที่ดินทำกินของราษฎร ให้มีการเพิกถอนแนวเขตอุทยานที่ทับที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของราษฎร 2. ให้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาร่วมกันทั้ง 3 ฝ่าย และ ให้สิทธิกับประชาชนในการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอน ในการใช้ประโยชน์และจัดการทรัพยากรโดยประชาชน 3. ให้ดำเนินการเปิดประชุมคณะกรรมการชุดดังกล่าว เพื่อหาแนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกัน และสำรวจพื้นที่ร่วมกันกับประชาชน 4. ให้ประชาชนเข้าพื้นที่เก็บผลผลิตทุกแปลงที่ได้รับลกระทบ อย่างปกติสุขจนกว่าจะมีกระบวนการแก้ไขปัญหาจะสิ้นสุด

ด้าน นายอภิชาติ ศิริสุนทร กรรมาธิการฯ กล่าวว่า ปัญหาภาพรวมในวันนี้หนักอยู่ที่ความขัดแย้งระหว่างอุทยานกับประชาชนซึ่งยังไม่เข้าใจแนวเขตที่ชัดเจน เวลาที่เขาไม่เข้าใจแนวเขตอะไรหรือว่าสงสัยในเรื่องสิทธิ์ของตัวเองอยู่ก็คงต้องตรวจสอบกันเป็นรายๆ ไป ซึ่ง กมธ.ก็เสนอแนะให้หัวหน้าอุทยานร่วมกับชาวบ้านที่มีปัญหาไปตรวจสอบเรื่องการใช้สิทธิ์

"กรรมาธิการจะนำข้อเสนอของพี่น้องและของอุทยานไปสรุป พอสรุปเสร็จก็จะส่งต่อไปยังกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ส่วนประชุมก็คงจะให้อุทยานแห่งชาติคิดไว้พิจารณาแก้ไขตรวจสอบข้อมูลให้ละเอียด ซึ่งก็หมายถึงการตรวจสอบให้ไม่กระทบสิทธิ์พี่น้องประชาชน" นายอภิชาต กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.ที่ดิน บี้รัฐชี้แจงปมขนย้ายกากแคดเมียม ไฟไหม้โรงงานสารเคมีระยอง

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร นำโดยนายพูนศักดิ์ จันทร์จำปี สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะประธานกมธ. , นายฐิติกันต์ ฐิติพฤฒิกุล สส.ภูเก็ต พรรคก้าวไกล

ชาวบ้านเขาค้อ ร้องผู้นำฝ่ายค้าน-กมธ. 2 คณะ เร่งสางปมพิพาทที่ดินทำกินทับซ้อนกองทัพ

ประชาชนเขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ เดินทางมายื่นหนังสือถึงนายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และคณะกรรมาธิการ สภาผู้แทนราษฎร 2 คณะ ได้แก่ กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กมธ.การทหาร กรณีพิพาทเรื่องที่ดินทำกิน ระหว่างประชาชนและกองทัพ

กมธ.ที่ดิน ถกปมพื้นที่พิพาทเขาใหญ่ แฉพบ 10 รายชื่อคนต่างถิ่นส่อได้ที่สปก.

ที่รัฐสภา มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายอภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เป็นประธาน กับกมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ

'เลขาฯก้าวไกล' มอง 'หนองวัวซอโมเดล' ไม่เป็นธรรม อ้างชาวบ้านถูกบังคับเช่าที่ราชพัสดุ

นายอภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการที่ดินทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณี ‘หนองวัวซอโมเดล’ ว่า ชาวบ้านมีการมาร้องเรียน ว่ามีการบังคับให้เช่าที่ดิน ทั้งที่มีหลักฐานว่าอยู่มาก่อน เช่น ใบตราจองหนังสือรับรองการทำประโยชน์ หรือ น.ส.3 ซึ่งไม่เป็นธรรมกับประชาชน

'กมธ.ที่ดิน' มอง สปก.มีช่องโหว่มาก เรียก 'ธรรมนัส' เข้าชี้แจง 6 มี.ค.นี้

คณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร นำโดย นายอภิชาติ ศิริสุนทร ประธาน กมธ.การที่ดินฯ นำคณะลงพื้นที่ศึกษาดูงานเกี่ยวกับปัญหาพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินทับซ้อน ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (ส.ป.ก.) จังหวัดนครราชสีมา

กมธ.ที่ดิน-ความมั่นคง ไม่เชื่อ 2 กระทรวงยุติข้อพิพาทได้ ชี้กระบวนการสอบสิทธิผิดปกติ

นายอภิชาติ ศิริสุนทร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์หลังกมธ.เชิญหน่วยงานเข้าชี้แจงปัญหาเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดินทับซ้อน พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่