คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลการศึกษา เรื่องแนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นรูปธรรมในสายตาประชาชน
9 ม.ค. 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) สถาบันวิจัยความสุขชุมชนและความเป็นผู้นำ เสนอผลการศึกษา เรื่อง แนวทางการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นรูปธรรมในสายตาประชาชน กรณีศึกษาประชาชนทุกสาขาอาชีพในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จำนวน 1,160 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 8 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา
เมื่อถามถึงการรับรู้และความคิดเห็นต่อส่วนราชการ กระทรวงต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า ร้อยละ 48.1 ระบุ ยังไม่เห็นความรับผิดชอบและความจริงจังต่อเนื่อง จากส่วนราชการต่างๆที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหา ฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานคร ตามนโยบายของรัฐบาล
ในขณะที่ ร้อยละ 45.3 ต้องการให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ตื่นตัวเข้ามารับผิดชอบและทำหน้าที่อย่างจริงจังเป็นรูปธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ ทั้งการป้องกันและการแก้ปัญหาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ และร้อยละ 44.2 ระบุประชาชนทุกคนต้องตระหนัก และมีส่วนร่วมกันรณรงค์และปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาดและลดการใช้รถ และกิจการที่ก่อให้เกิดควันและปัญหาในช่วงเวลาดังกล่าว การร่วมกันปลูกต้นไม้ในพื้นที่เขตเมืองมากขึ้น
ที่น่าพิจารณาคือ เมื่อถามถึงความต้องการของประชาชนต่อส่วนราชการ กระทรวงต่าง ๆ ในการป้องกันและแก้ปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่า เกินครึ่งหรือร้อยละ 53.9 ระบุกระทรวงคมนาคม โดยกรมการขนส่งทางบก ต้องเข้าไปกำหนดและตรวจสอบรถควันดำที่ยังมีมาก ตามท้องถนน รวมทั้งรถสาธารณะควันดำในความรับผิดชอบให้มากขึ้น เช่น รถเมล์ ขสมก. รถร่วม รถตู้ รถแท๊กซี่ รถบรรทุก รถปิกอัพ ที่ยังพบเห็นจำนวนมาก และเสนอให้นำรถไฟฟ้าสาธารณะมาใช้มากขึ้น รวมทั้งการลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า รถสาธารณะ เพื่อให้ประชาชนมาใช้ อย่างปลอดภัยมากขึ้น เป็นต้น
ในขณะที่ ร้อยละ 39.7 ระบุส่วนราชการสังกัด กรุงเทพมหานคร ต้องตื่นตัวกำหนดมาตรการการเข้าออกและจำกัดพื้นที่เขตเมือง โดยเฉพาะในย่านจอแจ เพื่อมิให้รถเข้าไปจำนวนมาก ควบคุมการก่อสร้างแหล่งฝุ่นละออง และรถบรรทุก รถควันดำ จัดการเด็ดขาด ร้อยละ 38.8 ระบุ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต้องมีมาตรการ ควบคุมมลพิษ และอื่น ๆ เกาะติดจัดการขั้นเด็ดขาด กับ แหล่งผลิตฝุ่นละออง ให้จริงจัง ปรากฏตัวแสดงตน ลงถนน กับตำรวจจัดการเด็ดขาดให้ประชาชนเห็นจริงจังต่อเนื่อง
ร้อยละ 34.1 ระบุ กระทรวงมหาดไทย ต้องมีมาตรการควบคุมและบังคับใช้อย่างจริงจังระดับพื้นที่ ในการคุมการเผา และกิจการที่ก่อให้เกิดควันในพื้นที่เขตเมืองและปริมณฑล ร้อยละ 32.5 ระบุ กระทรวงพลังงาน เร่งส่งเสริม ผลักดันกฎหมาย การลดภาษีและมาตรการต่างๆในการสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้า พลังงานสะอาด รวมทั้งเร่งปรับและสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในเขตเมืองให้มากขึ้น ร้อยละ 31.0 ระบุ กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องลงไปตรวจกำกับการปล่อยควันจากโรงงานอุตสาหกรรมที่เกินค่ามาตรฐานและขอความร่วมมือภาคอุตสาหกรรม ลดเวลาทำการในช่วงวิกฤต
ร้อยละ 28.1 ระบุ กระทรวงพลังงาน ส่งเสริมจริงจัง กระตุ้น การใช้พลังงานสะอาด รถยนต์จากพลังงานไฟฟ้า ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม มากกว่าที่เป็นอยู่ ร้อยละ 23.8 ระบุ กระทรวงพลังงาน มีมาตรการสนับสนุนการใช้ น้ำมันดีเซลคุณภาพสูง ลดฝุ่นละออง โดยเฉพาะช่วงเวลาวิกฤต ร้อยละ 23.5 ระบุ กระทรวงเกษตร ต้องเข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเผาพืชไร่ โดยมีการสนับสนุนนำซากพืชไร่มาใช้ประโยชน์แทนการเผา และร้อยละ 22.8 ระบุ กระทรวงต่างประเทศ ประสานกับประเทศเพื่อนบ้าน ในการควบคุมการเผานอกประเทศ ไม่ให้เกิดการสะสมข้ามประเทศ ตามลำดับ
ผอ.ซูเปอร์โพล กล่าวว่า ผลการศึกษาการรับรู้และความต้องการของประชาชนครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่ประชาชนรับรู้กับความเป็นจริงที่เป็นอยู่คือ ส่วนราชการกระทรวงต่าง ๆและ กทม. ที่เกี่ยวข้อง ยังไม่ได้สร้างการรับรู้ ตื่นตัวและยังไม่แข็งขันจริงจังกับการแก้ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในเชิงประจักษ์ ต่อข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรีและนโยบายของรัฐบาล ขณะที่ภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องและ ที่ได้รับผลกระทบ ยังไม่ตระหนักร่วม รวมทั้งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและมีส่วนร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมด้วยความเข้าใจร่วมกัน ยังไม่เห็นกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเจ้าภาพหลัก มีการติดตามขับเคลื่อนพัฒนาใหม่ๆที่แข็งขันและการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในแต่ละปี ทั้งมาตรการป้องกันและการแก้ปัญหา ซึ่งหากปล่อยละเลยหรือไม่ให้ความสำคัญ จะกระทบกลุ่มเสี่ยงโดยตรง และตามมาด้วยปัญหาสุขภาพประชาชนและระบบสาธารณสุข ที่ต้องใช้งบประมาณดูแลอีกจำนวนมาก โดยเฉพาะ กทม.ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวอันดับหนึ่งของโลก ยังคงนิ่งเฉย ไม่ตื่นตัวนำเทคโนโลยีมาใช้หรือมีมาตรการต่างๆรองรับที่แข็งขัน
ในขณะที่ รองศาสตราจารย์ ดร.สราวุธ เทพานนท์ คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัจจัยหลักทำให้สถานการณ์ปัญหาฝุ่น PM 2.5 เลวร้ายลงไปอีกคือ ปัจจัยทางธรรมชาติที่สภาวะอากาศนิ่งไม่มีลมถ่ายเททำให้เกิดการกักตัวและเป็นอุปสรรคต่อการเจือจางของสารมลพิษทางอากาศแต่ในช่วงนี้คือช่วงตั้งแต่ พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมาถึงวันนี้ มีการถ่ายเทของอากาศทำให้สถานการณ์ดีกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน ประกอบกับการทำงานที่บ้านช่วงการแพร่ระบาดของ Covid-19 ทำให้ลดการใช้ยานพาหนะที่เป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่เกิดจากฝีมือมนุษย์ในการทำให้เกิดฝุ่นละอองได้
“นอกจากนี้ การส่งเสริมการใช้ยานพาหนะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานระบบขนส่งมวลชนที่ไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ การส่งเสริมการใช้น้ำมันคุณภาพตามมาตรฐานยูโร 5 ที่มีกำมะถันน้อยกว่า 10 ppm การพัฒนาแนวทางการกำหนดโซนนิ่งในการนำยานพาหนะส่วนตัวเข้ามาในพื้นที่เป็นมาตรการที่ส่วนราชการ กระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องควรมีการติดตามตรวจสอบความเข้มงวดและเร่งรัดดำเนินการตามนโยบายสาธารณะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและเน้นการเสริมสร้างการรับรู้และความตระหนักของประชาชนในการมีส่วนร่วมป้องกันแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ผ่านการสื่อสารประชาสัมพันธ์มาตรการและผลการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดความต้องการและการทำตามนโยบายของรัฐและแผนปฏิบัติการไปบังคับใช้โดยเร็วต่อไป” คณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหิดล กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปชช.หวั่นไหว 'การเมือง-พิษเศรษฐกิจ' กระทบเงินในกระเป๋า
ซูเปอร์โพล ชี้การเมืองและเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อความหวั่นไหวของประชาชน โดยเฉพาะเงินในกระเป๋ามาอันดับหนึ่ง
เตรียมรับมือหมอกควัน-ฝุ่นพิษ 2568
ใกล้จะเข้าสู่ฤดูกาลฝุ่นช่วงเวลาที่ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 จะเริ่มสูงขึ้นในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาประเมินช่วงหลังวันที่ 23 ตุลาคม 2567 ประเทศไทยตอนบนจะเริ่มมีฝนที่ลดลง และจะมีมวลอากาศเย็นแผ่เข้ามาบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
ชำแหละ! ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม 'ปชป.' ติดลบ 'พท.' คะแนนบวก
นายเทพไท เสนพงศ์ อดีต สส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า คำตอบ:เพื่อไทย ประชาธิปัตย์ ผสมพันธุ์ข้ามขั้ว ทำไม เพื่อไทยคะแนนบวก ประชาธิปัตย์ ติดลบ
ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจชัด ปชป. เสียคะแนนนิยมหลังประกาศร่วมรัฐบาล
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความนิยมต่อประชาธิปัตย์ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,346 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 29 – 31 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ประชาชนไม่มีความสุขต่อเงินในกระเป๋า หวังรัฐบาลใหม่ฟื้นฟูเศรษฐกิจ
สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง รอยต่อรัฐบาล กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ
โพลหวังอิ๊งค์เร่งแก้ปากท้อง
โพล 2 สำนักประสานเสียง คนส่วนใหญ่หนุน “แพทองธาร” หวังแก้ปัญหาปากท้องโดยด่วน