สิ้นโลมาอิรวดีแดนกัมพูชา เปิดงานวิจัยชุมชนชี้เขื่อนกั้นโขงทำปลาลด 80%

สิ้นโลมาอิรวดีแดนกัมพูชา เหตุสร้างเขื่อนกั้นโขง เปิดงานวิจัย 3 ชุมชนชี้ระบบนิเวศได้รับผลกระทบรุนแรง ปริมาณปลาลด 80% พื้นที่ชุ่มน้ำหายไปกว่า 50% ชาวบ้านเผชิญความลำบากเสนอรัฐบาล 5 ประเทศลุ่มน้ำโขงเร่งฟื้นฟู

30 ต.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นักอนุรักษ์และสื่อมวลชนไทยจำนวนหนึ่งได้ลงพื้นในจังหวัดสตรึงเตร็ง ประเทศกัมพูชา เพื่อติดตามการทำงานขององค์กร My Village Organization ที่ทำงานด้านการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมของกัมพูชาร่วมกับชุมชนชายแดนกัมพูชาและลาวซึ่งทำงานวิจัยชุมชนร่วมกับนักวิจัยชุมชนใน 3 หมู่บ้าน คือ บ้านกรอม บ้านเกาะเสนงและบ้านตวนซอง โดยศึกษาสาเหตุและผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อระบบนิเวศที่อยู่อาศัยของปลาและวิถีชีวิตของชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านในลุ่มน้ำโขง ซึ่งตั้งอยู่ท้ายน้ำของเขื่อนดอนสะโฮง ประเทศลาวเพื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของชุมชนโดยการบันทึกภาพและการสรุปข้อมูลระหว่างปี 2019 และปี 2022

พร จันชิดา นักวิจัยชุมชนบ้านกรอม กล่าวถึงผลการศึกษาพบว่า ทรัพยากรแม่น้ำเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะปริมาณปลาที่ลดลง พื้นที่ป่าชุ่มน้ำลดลงมาก การขึ้นลงของแม่น้ำโขงที่ไม่เป็นปกติ โดยปริมาณการจับปลาบ้านกรอม ลดลงมากถึง 80 % บ้านตวนซอง ลดลง 50 % และ เกาะเสนง 30 % สาเหตุของการปริมาณปลาลดลงเป็นเพราะว่า ประชากรที่เพิ่มมากขึ้นทำให้มีการจับปลาที่ผิดกฎหมาย พื้นที่ป่าชุ่มน้ำลดลง และการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขง

ผลการศึกษาของพื้นที่ป่าชุ่มน้ำหรือพื้นที่ Ramsar Site ทั้ง 3 หมู่บ้านซึ่งมีพื้นที่ป่าชุ่มน้ำรวมกันประมาณ 109 เฮกตาร์ หรือประมาณ 661 ไร่ พบว่าพื้นที่ป่าชุ่มน้ำลดลงมากว่า 50 % โดยเฉพาะบ้านกรอมมีพื้นที่ป่าลดลง 50 % เกาะเสนง เกาะสเนง ลดลง 30 % และบ้านตวนซองลดลง 20 % สาเหตุหลักคือ ระดับน้ำขึ้นลงของแม่น้ำโขงไม่เป็นปกติต่อเนื่องหลายปี การไหลหลากของน้ำที่แรงมากกว่าปกติ ทั้งนี้โดยธรรมชาติแล้ว ในช่วงฤดูแล้งระดับน้ำโขงจะต้องมีน้ำลดลงมาก ทำให้ต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนแตกยอดและแตกใบออกมามาก แต่หลายปีที่ผ่านมาปริมาณน้ำในฤดูแล้งไม่ลดลงและเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ต้นไม้ในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำไม่สามารถที่จะขยายพันธุ์และต้องแช่น้ำทำให้ตายไปเป็นจำนวนมาก พื้นที่ป่าชุ่มน้ำมีสำคัญมากต่อชุมชนเพราะเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์วางไข่ และหลบซ่อนของปลาชนิดต่างๆ ทุกฤดูกาล

ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพน้ำของแม่น้ำโขงไม่สะอาดเหมือนเดิม เพราะมีคราบปูนซีเมนต์ไหลตามน้ำระหว่างการก่อสร้างก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงและแม่น้ำเซซาน ชาวบ้านเคยหาปูปลา เคยตักน้ำมาเพื่ออาบและต้มดื่ม พบว่าน้ำมีปูนตกตะกอนอยู่ในหม้อ น้ำอาบก็คัน มีสาหร่ายหรือเทาเน่าจำนวนมาก หากมันเกิดอยู่ตามบุ่งขนาดเล็กก็ทำให้หอยและปลาขนาดเล็กตาย ปัจจุบันชาวบ้านยังไม่รู้สาเหตุว่าทำไมจึงเกิดสาหร่ายหรือเทาในแม่น้ำโขงมากกว่าปกติ จึงเป็นข้อเสนอที่อยากให้มีการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เพิ่มเติมให้กับชุมชน

ขณะที่พร จันทา นักวิจัยชุมชนบ้านเกาะเสนง กล่าวว่า ระดับน้ำแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงมาก ผลการศึกษาของชาวบ้านพบว่า ระดับน้ำในหน้าฝนช่วงน้ำหลาก มีระดับน้ำที่ลดลงเฉลี่ยนประมาณ 1.7 เมตร ส่วนฤดูแล้ง ระดับแม่น้ำโขงเพิ่มขึ้นประมาณ 1.10 เมตร การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำโขงได้ส่งผลกระทบทางลบต่อระบบนิเวศแม่น้ำโขงได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อวิถีชีวิตของชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้าน เพราะพวกเขาเป็นชาวประมง หาปลาเป็นหลัก และยังทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของแม่น้ำทำให้ปริมาณปลาลดลง ป่าชุมชนน้ำลดลง และการขึ้นลงของน้ำไม่ปกติ ตลิ่งพัง ทำให้รายได้ของประชาชนลดลง และชาวบ้านต้องมีค่าใช้จ่ายต้องซื้ออาหารมากขึ้น บางส่วนต้องอพยพไปทำงานข้างนอก คุณภาพน้ำโขงแย่ลง ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และที่สำคัญคือพื้นที่ของ 2 หมู่บ้านคือ บ้านกรอมและเกาะเสนง เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีชื่อเสียงของจังหวัด แต่ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวที่ลดลงจำนวนมาก ทำให้ชาวบ้านมีรายได้ลดลงตามไปด้วย

ข้อเสนอจากงานวิจัย ชาวบ้านได้ขอให้หน่วยงานท้องถิ่นประสานกับเขื่อนดอนสะโฮงในประเทศลาว เพื่อแจ้งเตือนเรื่องการระบายน้ำจากเขื่อน และเรียกร้องร้องให้องค์กรภาคประชาสังคมและบริษัทเอกชนที่พัฒนาเขื่อน ต้องหาทางสนับสนุนการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของชุมชน และต้องมีการคุ้มครองการประมงไม่ให้ผิดกฎหมาย และเรียกร้องรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องฟื้นฟูป่าชุ่มน้ำและพื้นที่ริมตลิ่ง รวมทั้งเรียกร้องให้หน่วยงานท้องถิ่นต้องมีการติดตั้งเครื่องกรองน้ำให้กับชาวบ้าน และขอให้ผู้บริหารในตำบลจัดสรรงบประมาณในการฟื้นฟูป่าชุ่มน้ำและวิถีชีวิต ขณะที่ข้อเสนอต่อบริษัทต้องรับผิดชอบต่อเกษตรริมน้ำของชาวบ้านและเครื่องมือประมงที่เสียหาย และต้องมีการศึกษทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสาหร่ายบลูมมากขึ้นในแม่น้ำโขง

พอย วันนา ประธานสมาคมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ บ้านกรอม ที่ตั้งอยู่บริเวณชายแดนกัมพูชา-ลาว กล่าวว่าตั้งสมาคมการท่องเที่ยวมาตั้งแต่ปี 2008 โดยมีนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ทั้งลาว ไทย และกัมพูชา เดินทางมาชมปลาข่า หรือโลมาอิรวดี ซึ่งเคยมีมากถึง 8 ตัว ทำให้ชาวบ้านแถบนี้มีรายดีมาก แต่นับตั้งแต่ปี 2022 ไม่มีปลาข่าอีกต่อไปแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงแต่กระดูกปลาข่าที่ต้องเอามาโชว์ให้ลูกหลาน โดยกระดูกของปลาข่าที่อยู่นี่ ตนได้ไปขอมาจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเพราะเมื่อไม่มีปลาข่าให้ดูแล้ว ขอเอากระดูกมาไว้ให้ลูกหลานและได้ดูและรู้จักว่า แม่น้ำโขงบริเวณนี้ เคยมีปลาข่ายู่ ชาวบ้านรู้สึกเสียใจมาก ที่ไม่สามารดูแลรักษาธรรมชาติไว้ได้ ซึ่งเป็นสมบัติธรรมชาติของชุมชน

พอย กล่าวว่า เดิมปี 2008 มีปลาข่า 8 ตัว แม้มันจะตายลงทุกปี แต่ก็มีปลาข่าเกิดใหม่ปีละสองสามตัว แต่สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา ปลาข่าเริ่มตายลงไปเรื่อย ๆ ช่วงที่กำลังก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ที่อยู่ห่างออกไปเพียง 1 -2 กิโลเมตร มีการระเบิดหินเสียงดังมาก ส่งผลกระทบให้ปลาข่าต้องอพยพไปอยู่ในบริเวณแม่น้ำโขงที่แคบกว่าเดิม และเป็นเขตหาปลาของชาวบ้านเมื่อเลยเขตอนุรักษณ์ของชุมชนออกไปแล้ว ก็เป็นการยากที่ชาวบ้านจะตามไปเฝ้าระวัง นอกจากนี้ยังมีหลายสาเหตุ เช่น สร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงมากมาย การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ พื้นที่ป่าชุ่มน้ำลดลงไปเป็นอย่างมาก ในปี 2015 - 2017 พื้นที่ริมตลิ่งแม่น้ำโขงของบ้านกรอมพังลงไปมาก

“เดิมเคยนักท่องเที่ยวมากเยอะมากมาชมทั้งปลาข่าและล่องเรือในพื้นที่ที่ป่าชุ่มน้ำของชุมชน พอระดับน้ำโขงไม่ลดลงตามฤดูกาล ช่วงแล้ง ต้นไม้ขนาดเล็กเปื่อยตายและต้นไม้ใหญ่ไม่มีดินตะกอนไหลไปมาตามน้ำ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ล้มไปจำนวนมาก ผมคิดว่า ประมาณอีก 30 ปีข้างหน้าจะไม่มีต้นไม้แล้ว ปูปลาก็ลดลงมาก ชาวบ้านลำบากมากขึ้น อยากกินปลาธรรมชาติ ก็ลำบาก พวกเราไม่สามารถรักษาธรรมชาติ รักษาอาชีพไว้ไม่ได้ ถ้าพวกเราต้องร่วมมือกัน ขอให้เอาข้อมูลที่พวกเราวิจัยนี้ไปบอกรัฐบาลทุกประเทศ ให้ทราบว่า แม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงมากแล้ว ทำอย่าไง จะให้ธรมชาติกลับคืนมา พวกเราทั้ง 5 ประเทศมีทรัพย์สมบัติในแม่น้ำโขงมากมาย มีปลามากมายในกัมพูชา ปลาสะอี ราคาแพงมาก แต่ว่าแม่น้ำโขงเปลี่ยนแปลงแล้ว ทำให้ปลาหายไปแน่แนอน อยากให้พวกเราคิดเรื่องการปกปักรักษาแม่น้ำโขงไว้ให้ได้ ฝากถึงรัฐบาลทั้ง 5 ประเทศว่า พวกเราทำลายแม่น้ำโขง ประชาชานทุกข์ยากมากแล้ว” พอย กล่าว

ไพรินทร์ เสาะสาย ผู้ประสานงานการรณรงค์ องค์กรแม่น้ำนานาชาติ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ผลรายงานวิจัยชุมชนที่ชาวบ้านทั้ง 3 หมู่บ้านสอดคล้องกับผลการศึกษารายงานทางเทคนิครูปแบบการเปลี่ยนแปลงการไหลของน้ำในลุ่มน้ำโขงระยะที่ 1 ( The Joint Study on the Changing Patterns of Hydrological Conditions of the Lancang-Mekong River Basin and Adaptation Strategies)การศึกษาร่วมระหว่างคณะกรรมการแม่น้ำโขง (MRC)และ Lan-Chang -Mekong Water Resource Center โดยผลการศึกษาชัดเจนว่า รูปแบบการไหลหลากของแม่น้ำโขงได้เปลี่ยนแปลงในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา (2010-2020) ค่าเฉลี่ยระดับน้ำของแม่น้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลากนั้นลดลงและระดับน้ำโขงในช่วงฤดูแล้งกลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการพัฒนาต่างในลุ่มน้ำ โดยเฉพาะปริมาณน้ำที่ไหลเข้าสู่ทะเลสาบเขมรนั้นมีปริมาณลดลงอย่างต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ปริมาณฝนตกที่น้อยลง และมีการกักเก็บน้ำไว้ทั่วทั้งลุ่มน้ำ

“ แม้รายงานการศึกษาของทางการจะไม่ระบุสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำของแม่น้ำโขง แต่รายงานการวิจัยชุมชนของชุมชน คือความพยายามที่จะเก็บข้อมูลและเป็นหลักฐานการสำคัญที่ชี้ว่าระบบนิเวศแม่น้ำโขงและวิธีชีวิตชุมชนได้เกิดเปลี่ยนแปลงอย่างหนัก และชุมชนได้เรียกร้องให้รัฐบาลลุ่มน้ำโขง ผู้พัฒนาโครงการและผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างเขื่อนไฟฟ้าขนาดใหญ่และทบทวนการเดินหน้าโครงการสร้างเขื่อนพลังงานไฟฟ้าแห่งใหม่ต่อไป”ไพรินทร์ กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการแนะทางแก้ 'ปลาหมอคางดำ' เชื่อแพร่พันธุ์ภาคอีสานยาก

ผศ.ดร.พรเทพ เนียมพิทักษ์ หัวหน้าสาขาวิชาประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. เปิดเผยว่า แม้ขณะนี้ยังคงไม่พบการแพร่พันธุ์ของปลาหมอคางดำในภาคอีสาน

ชาวบ้านริมแม่น้ำโขง 8 จังหวัด ยื่นจดหมายถึงนายกฯ หวั่นผลกระทบเขื่อนปากแบง

นายทองสุข อินทะวงศ์ อดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยลึก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย นายนิวัตน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ และเครือข่ายประชาชนไทย 8 จังหวัดลุ่มน้ำโขง ได้ส่งจดหมายถึงนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

นายกฯ รับฟังปัญหาชลประทาน ที่ดินทำกิน อ.เชียงแสน ชาวบ้านขอผ่อนปรนคนจีนข้ามแดน

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาระบบชลประทาน เพื่อการอุปโภคบริโภค และพบปะประชาชน ณ หน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อยตามลำแม่น้ำโขง

'ดร.ธรณ์' หวั่น ผลกระทบ 'ปลาหมอคางดำ' ไม่เกิดเฉพาะพื้นที่ แต่จะส่งผลถึงทะเลข้างนอก

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กว่า ในกรณีที่ปลาหมอคางดำลงทะเล ระบบนิเวศที่จะได้รับผลกระทบคือหาดทราย หาดเลน ป่าชายเลน และแหล่งหญ้าทะเล

จับตา! 'ไข้หวัดนก' ระบาดใหม่ 2 ราย ในกัมพูชา พบเด็กอุ้มซากไก่

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า กัมพูชาพบผู้ป่วยไข้หวัดนก H5N1 รายใหม่ 2 ราย ในจังหวัดตาแก้ว

คู่หยุดโลก! ศึกพม่าปะทะกัมพูชา หม่องโดนฟันหัวเจ็บสาหัส เขมรถูกรุมประชาทัณฑ์ แฉอาวุธเพียบ

เมื่อ เวลา 21.30 น วันที่ 24 มิถุนายน เจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บางปู จังหวัดสมุทรปราการ รับแจ้งมีเหตุทำร้ายร่างกายด้วยอาวุ