กลุ่มรักษ์เชียงของ ชี้ทางปลาผ่านเขื่อนแม่น้ำโขง ใช้ไม่ได้จริง

ชี้ทางปลาผ่านเขื่อนโขงใช้ไม่ได้จริง “ครูตี๋” ตั้งคำถามผลการศึกษาไม่มีรายละเอียด ระบุแม่น้ำโคลัมเบียทุบเขื่อนคืนธรรมชาติ-วิถีชีวิตดั้งเดิมกันแล้ว เครือข่ายลุ่มน้ำโขงอีสานโวย สทนช.จัดเวทีให้ข้อมูลหวั่นขาดความเป็นกลางแถมเป็นวันเทศกาลออกพรรษา

28 ต.ค.2566 - นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว หรือ “ครูตี๋” ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ ให้สัมภาษณ์ว่า นับเป็นความล้มเหลวอย่างที่สุดที่ผู้แทนบริษัทพัฒนาเขื่อนในแม่น้ำโขงชี้แจงในเรื่องทางปลาผ่านในแม่น้ำโขง โดยไม่มีรายละเอียดตลอดทั้งกระบวนการที่ชัดเจนต่อผู้ร่วม ประชุมหารือผู้มีส่วนได้เสียระดับภูมิภาค (Regional Stakeholders Forum) ของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission-MRC) ครั้งที่ 13 ณ หลวงพระบาง สปป.ลาว ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา

“ทราบว่าในที่ประชุมไม่รายงานผลการศึกษาในรายละเอียดตลอดกระบวนการศึกษาในเรื่องทางปลาผ่านให้กับคนลุ่มน้ำโขง เห็นได้ชัดว่าผู้แทนบริษัทไม่กล้าให้คำตอบที่ชัดเจนกับผู้ที่ตั้งคำถามในที่ประชุม” ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของกล่าว

นายนิวัฒน์ กล่าวว่าการที่ผู้แทนของเขื่อนไม่สามารถให้รายละเอียดเรื่องของการอพยพขึ้นลงของปลาได้ สิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นเพราะผู้ศึกษาไม่สามารถรู้ได้ว่าขณะนี้มีปริมาณปลาอพยพขึ้นลงจำนวนเท่าไหร่ แม้มีเครื่องมือตรวจจับ แต่ยังเป็นเรื่องยากที่จะแยกสายพันธุ์ปลาในแม่น้ำโขงซึ่งมีหลายร้อยสายพันธุ์ การบอกว่าไม่พบข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนสิ่งที่กล่าวว่าปริมาณปลาแม่น้ำโขงลดลง จึงเป็นข้อสรุปที่ยังไม่มีชี้แจงรายละเอียดแต่อย่างไร

ทั้งนี้หากเป็นการนำเทคโนโลยีทางปลาผ่านจากเขื่อนในแม่น้ำอื่นที่มีความแตกต่างกันก็ไม่สามารถได้ผลเหมือนกัน เช่นเมื่อเทียบชนิดพันธุ์ปลาของแม่น้ำโขง กับแม่น้ำโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ที่มีการสร้างทางปลาผ่าน ก็จะเห็นว่าแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ลักษณะของปลาทางกายภาพและขนาดของปลาแต่ละชนิดก็ไม่เหมือนกัน จะเห็นชัดเจนว่าหากนำรูปแบบการสร้างทางปลาผ่านจากแม่น้ำอื่นซึ่งน้ำใสที่สามารถมองเห็นขนาดและชนิดพันธุ์ปลาได้ชัดผ่านห้องกระจกในจุดที่ปลาผ่าน ส่วนน้ำโขงขุ่นข้นไม่สามารถมองเห็นได้ และที่ชี้แจงว่าการอพยพลงนั้นเขื่อนได้ติดตั้งกังหันผลิตไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับปลา (fish-friendly turbine) เป็นความจริงหรือไม่ และต้องเป็นอย่างไร ขนาดใหญ่แค่ไหน ที่ปลาขนาดใหญ่เช่นปลาบึกจึงจะสามารถผ่านได้

ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ กล่าวว่า จะเห็นได้ว่าในประเทศสหรัฐเริ่มมีการรื้อเขื่อนไปหลายแห่งและดำเนินการฟื้นฟูแม่น้ำ เช่น เขื่อนบอนเนวิลล์ มลรัฐโอเรกอน ที่สร้างและใช้งานเป็นเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา เป็นเขื่อนกั้นกลางแม่น้ำโคลัมเบีย มีผลทำให้ปลาแซลมอนหายไปจากแม่น้ำโคลัมเบียอย่างเห็นได้ชัด โดยปลาแซลมอนตามวิถีของชาวคายามาซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอเมริกานั้น ในทุกปีต้องใช้ปลาชนิดนี้ประกอบพิธีกรรม แต่เนื่องจากปริมาณปลาที่ลดลงทำให้บางปีต้องซื้อปลามาทำพิธี และชนพื้นเมืองได้ต่อสู้เพื่อให้เกิดการรื้อเขื่อน ที่ผ่านมามีการรื้อเขื่อนแม่น้ำสาขาแม่น้ำโคลัมเบียไปบางส่วนเพื่อคืนสมดุลให้กับระบบนิเวศ และฟื้นฟูปลาในแม่น้ำให้กลับคืนมา

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ในการประชุม MRC เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา ได้มีการนำเสนอผลการศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปลาและตะกอนว่า พบปลา 121 ชนิดโดยเป็นปลาขนาดเล็ก สามารถว่ายผ่านแรงกดที่เปลี่ยนแปลง (ผ่านเครื่องผลิตไฟฟ้าของเขื่อน) การอพยพขึ้นตอนบนของปลาพบมากในช่วงต้นฤดูฝน และพบการอพยพขึ้นอยู่ตลอดทั้งปี ส่วนการอพยพลงของปลาผ่านโรงไฟฟ้าพบในบริมาณไม่มาก ในประเด็นการติดตามการไหลของตะกอนมีการติดตามแบบ real time เมื่อมีการสอบถามขอทราบรายละเอียดการศึกษาและผลกระทบ ดร.มิเชล ตอบว่าข้อมูลมีเยอะโดยได้แชร์กับรัฐบาลลาวและหน่วยงานรัฐของลาว มีการหารือกับ MRC ซึ่งมีกระบวนการตามข้อตกลงแม่น้ำโขงที่ตนต้องปฏิบัติตาม

รายงานข่าวแจ้งว่า ในวันที่ 30 ตุลาคม 2566 จะมีการจัดการประชุมเวทีให้ข้อมูลและสร้างความเข้าใจต่อโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี ณ โรงแรมเชียงคานริเวอร์เมท์เท่น อ.เชียงคาน จ.เลย โดยมีนายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธาน โดยมีหัวข้อในการประชุม อาทิ ภาพรวมโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรี รวมถึงโครงสร้างทางวิศวกรรม (ทางระบายน้ำล้น โรงไฟฟ้า ทางเรือผ่าน ทางผ่านปลา) ระเบียบการปฏิบัติงาน การบำรุงรักษาและการแจ้งเตือน ผลการดำเนินการของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนไซยะบุรีที่เกี่ยวข้องกับการติดตามเฝ้าระวังสัตว์น้ำและตะกอน ซึ่งจะนำเสนอโดยสำนักงานแม่น้ำโขงแห่งชาติลาว (LNMC) สำนักงานคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS)

นางอ้อมบุญ ทิพย์สุนา ประธานสมาคมเครือข่ายสภาองค์กรชุมชนลุ่มน้ำโขง 7 จัดหวัดภาคอีสาน กล่าวว่าจากการประชุมที่หลวงพระบาง และดูเอกสารที่ส่งมาประกอบการประชุม พบว่าข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อมูลเทคนิคทั้งหมด ที่ไม่มีการตรวจสอบโดยนักวิชาการที่เป็นกลาง เป็นข้อมูลของบริษัทที่ชาวบ้านเข้าไม่ถึง ไม่รู้ว่าเป็นการศึกษาที่ครบถ้วนแล้วหรือไม่ ตนได้แนะนำว่าควรเชิญเจ้าหน้าที่กรมประมง 8 จังหวัดมาร่วมด้วย แต่ก็ไม่เห็นในรายชื่อผู้เข้าร่วมแต่อย่างใด

“การนำเสนอข้อมูลเหล่านี้ต้องมีการตรวจสอบจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ แต่เราไม่พบว่ามีกระบวนการที่โปร่งใสเพียงพอ เราขอข้อมูลเพื่อศึกษาก่อนเข้าประชุม ขอแล้วขออีกก็ไม่ได้ จนกระทั่งทางผู้จัดประชุมได้ส่งมาเมื่อวานนี้ โดยเป็นเอกสารภาษาอังกฤษทั้งหมด ตอนที่ประชุมที่หลวงพระบางก็นำเสนอภาษาอังกฤษ เราถามไปเรื่องผลกระทบ เรื่องปลา เขาก็ไม่ตอบ ส่งเอกสารมาแบบนี้ชาวบ้านต้องมาแปลกูเกิ้ลกันเองยากลำบาก แต่เขื่อนของคุณกลับได้ไปต่อ” นางอ้อมบุญกล่าว และว่าการกำหนดประชุมในวันที่ 30 ตุลาคมไม่เหมาะสม เพราะเป็นงานเทศกาลออกพรรษา ผู้นำทางการตลอดริมฝั่งโขงต้องทำงานในพื้นที่ไม่สามารถมาเข้าร่วมด้วย เป็นกำหนดวันโดยไม่ปรึกษาหารือหรือสอบถาม การมีส่วนร่วมของผู้ได้รับผลกระทบจะเกิดขึ้นได้อย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ยึดรายวันยาบ้าริมโขง ทหารพรานสกัดได้กว่า 2 แสนเม็ด

ที่กองร้อยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 2101 หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารพรานที่ 21 กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี (ร้อย ทพ.2101 ฉก.21 กกล.ฯ) บ้านปากห้วยม่วง ต.นาเข อ.บ้านแพง จ.นครพนม พ.อ.อินทราวุธ ทองคำ ผบ.กรม ทพ.21/ผบ.ฉก.ทพ.21 ร.ท.วันชาติ

เหิมเกริม! แก๊งค้ากัญชาข้ามชาติ ยกพวกกว่า 30 คน รุมทำร้าย นรข.นครพนม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ สภ.บ้านแพง อ.บ้านแพง จ.นครพนม จ่าเอกปรเมษฐ์ ปุราชะโน อายุ 27 ปี หรือต๋อง พร้อมบัดดี้คือ จ่าเอก วรพิทูร เดชาเสถียร อายุ 30 ปี หรือเชฟ ได้เข้าแจ้งความต่อ พ.ต.ต.ปุญวัตน์ สุริยกุล ณ อยุธยา สว.สอบสวน สภ.บ้านแพง

แฉเส้นทาง 'โจรกรรมรถ' ข้ามชาติ เชื่อคนของรัฐมีเอี่ยว

กองบังคับการกองร้อยทหารราบ กองกำลังสุรศักดิ์มนตรี อ.ธาตุพนม จ.นครพนม พล.ต.นรธิป โพยนอก ผบ.กกล.สุรศักดิ์มนตรี มอบหมายให้ ร.อ.กิตติกร จันทร์หอม นายทหารฝ่ายยุทธการ กองบังคับการควบคุมที่ 1 กองกำ

ห่วงปชช. 7 จ. ริมน้ำโขง หลังสารเคมีรั่ว สั่ง สทนช. เฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

'สมศักดิ์' ห่วงชาวไทย-ลาว หลังสารเคมีรั่วลงแม่น้ำโขง สั่ง สทนช. เกาะติดใกล้ชิด แจงตรวจคุณภาพน้ำ จ.เลย ใช้ได้ปกติ แต่ยังเฝ้าระวังถึง 12 เม.ย.

ระดมศิลปินสร้างสรรค์ผลงานเพื่อแม่น้ำโขง จัดตั้งกองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

นายกิตติ ตรีราช ผู้จัดการนาคาสตูดิโอ เปิดเผยว่าระหว่างวันที่ 3-9 มีนาคม 2567 โฮงเฮียนแม่น้ำโขงร่วมกับนาคาสตูดิโอได้จัดทำโครงการศิลปะวิถีแห่งสายน้ำของ โดยการชักชวนและพาศิลปิน 15 คนที่ทำงานเชื่อมโยงก