ดีอีเอส เตือนอย่าเชื่อข่าวปลอมส่งข้อความทักทายเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหวทำให้ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว

17 ธ.ค. 2564  นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง กล่าวว่า  ตามที่มีข้อความปรากฏในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับประเด็นเรื่อง ส่งข้อความทักทายเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหว ทำให้ถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดย สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พบว่าประเด็นดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ

กรณีการเผยแพร่ข้อมูลว่า การส่งข้อความเป็นรูปหรือภาพเคลื่อนไหว เสี่ยงถูกล้วงข้อมูลส่วนตัวได้ โดยมีนักเจาะข้อมูล (hackers) ได้ออกแบบรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว เพื่อซ่อนรหัสเจาะข้อมูลไว้ในรูปภาพดังกล่าว เมื่อนำภาพเหล่านั้นไปใช้ส่งต่อผ่านโซเชียลมีเดีย จะทำให้ขโมยข้อมูลส่วนตัวจากอุปกรณ์ของคุณได้ ทางสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ตรวจสอบและชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบันยังไม่พบรายงานการเจาะระบบ หรือการเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบจากการส่งข้อความเป็นภาพหรือภาพเคลื่อนไหวผ่านโซเชียลมีเดียแต่อย่างใด

ดังนั้นขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข้อมูลดังกล่าว ไม่ส่ง หรือแชร์ข้อมูลดังกล่าวต่อในช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ และเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารจากควรตรวจสอบให้รอบด้าน เลือกเชื่อ เลือกแชร์ และสามารถติดตามและแจ้งเบาะแสข่าวปลอม ได้ผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ดังนี้ ไลน์ @antifakenewscenter  เว็บไซต์ https://www.antifakenewscenter.com/ ทวิตเตอร์ https://twitter.com/AFNCThailand และช่องทางโทรศัพท์โทรสายด่วน GCC 1111 ต่อ 87

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สมาคมประกันวินาศภัยฯ เตือนอย่าแชร์ข้อมูลเท็จรายชื่อบริษัทประกันรถที่ถูก Black List

นายสมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข้อความเท็จเกี่ยวกับรายชื่อบริษัทประกัน (รถยนต์) ที่ถูก Black List ซึ่งเป็นข้อความเก่าที่ยังคงมีผู้หลงเชื่อนำกลับมาเผยแพร่และแชร์ต่อกันทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งสมาคมประกันวินาศภัยไทย และสํานักงานคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ร่วมกันประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้อง

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' สวมรอยหน่วยงานรัฐหลอกลวง

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

ดีอี เตือนระวัง 'โจรออนไลน์' อ้างเป็นแบงค์รัฐ 'ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ'

ดีอี ตรวจพบข่าวปลอมที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมออนไลน์รายสัปดาห์ ที่ประชาชนให้ความสนใจสูงสุดอันดับที่ 1 เรื่อง “ธ.อิสลาม ช่วยเหลือประชาชน รับรวมหนี้ ต่อธุรกิจ ปิดหนี้ และหมุนธุรกิจ” รองลงมาคือเรื่อง “กรุงไทยปล่อยสินเชื่อ ผ่านเพจสินเชื่อส่วนบุคคล SME” โดยขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อข่าวปลอม เลือกเชื่อ เลือกแชร์ ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ หวั่นตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรืออาจทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพย์สิน และมีผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเป็นวงกว้าง

วธ.พัฒนาเครือข่ายภาคใต้รู้ทัน Fake News

7 มี.ค.2567 - นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมค่ายครอบครัวคุณธรรม นำสังคมเป็นสุข ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 7-9 มีนาคม 2567 โดยมีนายอนุวรรตน์ โหมดพริ้ง รองผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดกระบี่ วัฒนธรรมจังหวัดพื้นที่ภาคใต้

'นักวิชาการ' ยกรายงานสศช.ชี้คนหลายสิบล้านที่เสพสื่ออินฟลู 2 ล้านคนคือเหยื่อที่ถูกล่า

ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เรื่อง ผลกระทบของ "อินฟลูเอนเซอร์" 2 ล้านคนที่มีต่อสังคมไทย มีเนื้อหาดังนี้

อย่าหลงเชื่อ! มิจฉาชีพ อ้างกฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุดเปลี่ยนฟรี เตือนอย่ากดลิงก์

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พบ 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ คนสนใจสูงสุด มิจฉาชีพแอบอ้าง“กฟภ. ส่ง SMS แจ้งมิเตอร์ไฟฟ้าเสี่ยงชำรุด คิดค่าไฟเกินจริง เปลี่ยนมิเตอร์ฟรี พร้อมรับเงินคืน”– หลอกทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่าน Pages DTL Noline” ยังมาแรง เตือนเช็คให้ดี อย่ากด อย่าส่งต่อ