'นฤมล' หารือแนวทางการออก green bond และการคัดเลือกโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมที่รัฐบาลร่วมลงทุน กับ UK Debt Management Office พร้อมนำมาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทย
25 ต.ค.2566 - ศ.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย เปิดเผยภายหลังการหารือแนวทางการออก Green bond กับ Sir Robert Stheeman CEO UK Debt Management Office และคณะ ณ สำนักงาน UK Debt Management Office กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ว่า ตามที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีดำริเรื่องนโยบายเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามแนวทาง UN SDGs นวัตกรรมด้านแหล่งเงินทุนที่สามารถนำมาดำเนินโครงการภายใต้นโยบายดังกล่าว ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยประเทศไทยตั้งเป้าหมายเป็นประเทศที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี พ.ศ. 2593 และเป็นประเทศปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ใน พ.ศ.2608 ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ประเทศไทยได้กำหนดเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศ (Nationally Determined Contribution : NDC) ให้สามารถลดก๊าซเรือนกระจกได้ 30% ภายใน พ.ศ. 2573
ผู้แทนการค้า กล่าวว่า จากหารือฯ ได้เรียนรู้รูปแบบโครงการที่ดำเนินงานได้อย่างสัมฤทธิ์ผลในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากสหราชอาณาจักรที่สอดคล้องกับแนวทางดำเนินโครงการตามนโยบายรัฐบาลไทยเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น โครงการสนับสนุนผู้ขับขี่ในการใช้รถ EVs โครงการร่วมทุนกับภาคเอกชนในการติดตั้งสถานีชาร์จรถ EVs โครงการร่วมทุนในการผลิตพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทน และโครงการสนับสนุนการปลูกไม้มีค่าบนที่ดินเพื่อทำการเกษตร เป็นต้น ซึ่งรัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ดำเนินโครงการจนประสบความสำเร็จ มุ่งสู่เป้าหมายการเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อมและจะใช้การเงินสีเขียว (Green Financing) เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน โดยระดมทุนผ่านทางการออกพันธบัตรสีเขียว (Green Gilts) และพันธบัตรออมเงินสีเขียวสำหรับรายย่อย (Retail Green Savings Bonds) เพื่อใช้ในการรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความท้าทายอื่น ๆ ด้านสิ่งแวดล้อม ใช้สำหรับการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Jobs) รวมถึงการพิจารณา การคัดเลือก การตรวจสอบ และการรายงานโครงการสีเขียวที่เข้าข่ายได้รับการสนับสนุนด้านการเงินดังกล่าว
ผู้แทนการค้า กล่าวว่า ปัจจุบันรัฐบาล โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ในฐานะผู้ระดมทุนสำหรับภาครัฐ อยู่ระหว่างการศึกษาการออกพันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน (Sustainability–Linked Bond) ซึ่งเป็น พันธบัตรที่มีรูปแบบการกำหนด KPI เพื่อบรรลุเป้าหมายด้าน ESG แทนการระบุโครงการที่ออกภายใต้พันธบัตร เพื่อสนับสนุนให้ตลาด ESG Bond มีการเติบโตและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีแผนจะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสภาพัฒน์เพื่อคัดเลือกวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตลอดจน KPI ที่เหมาะสมสำหรับการออก Sustainability-Linked Bond และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมของสังคมของประเทศไทยต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ คุยผู้แทนการค้าไทย ฝากเปิดตลาดใหม่ประเทศในแอฟริกา
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ทวิตข้อความผ่าน X และโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า ได้พบกับผู้แทนการค้าไทยของรัฐบาลชุดนี้เป็นครั้งแรก ผู้แทนการค้าไทย คือกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
ผู้แทนการค้าไทยหารือแก้ปัญหาส่งออกเนื้อ
'ชัย วัชรงค์' หารือนายกสมาคมผู้ส่งออกและนำเข้าปศุสัตว์และผลิตภัณฑ์จากปศุสัตว์ไทย ร่วมหาแนวทางส่งออกโคเนื้อสู่ตลาดเพื่อนบ้าน ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทย แก้ปัญหาราคาตกต่ำและสารเร่งเนื้อแดง
ครม. เตรียมตั้ง 'ชัย วัชรงค์' อดีตโฆษกรัฐบาล นั่งผู้แทนการค้าไทย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)นัดแรก วันที่ 17 ก.ย. นอกเหนือจากวาระการแบ่งงานรองนายกรัฐมนตรีแล้ว
ครม.อนุมัติแต่งตั้งหลายตำแหน่ง 'ม.ล.ชโยทิต' นั่งประธานผู้แทนการค้าไทย
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีมีมติแต่งดั้ง ดังนี้ 1.แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
'ไทย-ภูฏาน' เปิดเจรจาเอฟทีเอ 15 พ.ค. ยกระดับ e-Visa รับนักท่องเที่ยว
ไทยคาดเตรียมเปิดเจรจา FTA กับภูฏาน กลาง พ.ค.นี้ พร้อมยกระดับ e-Visa ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดึงเม็ดเงินเข้าประเทศ