21 ก.ค.2566 - เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม 2566 กิจกรรมสำคัญหนึ่งที่จัดขึ้นเพื่อสนองพระราชปณิธานและถวายเป็นพระราชกุศล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในสถานการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยจัดกิจกรรม “ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566” ในพื้นที่โฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยกรมป่าไม้ ได้ผนึกกำลังกับคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ข้าราชการ ประชาชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดกิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ ดังกล่าวขึ้นในสถานที่ประวัติศาสตร์ที่ ต.วัดยม อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2566 โดยนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ในกิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ โดยพื้นที่ตั้งโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทยมีความสำคัญมาก เพราะเป็นโฉนดที่ดินซึ่งมีพระนาม “สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์” ทรงถือกรรมสิทธิ์ เป็นโฉนดเลขที่ 1 หน้าที่ 1 เลขที่ดิน 117 ระวาง 17 ต 3 อ ต.บ้านแป้ง อ.พระราชวัง แขวงเมืองกรุงเก่า เมืองกรุงเก่า
ต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็น อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ 91 ไร่ 1 งาน 52 ตารางวา และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณจากพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน ในรูปแบบการออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชนเป็นครั้งแรก โดยทรงออกประกาศพระบรมราชโองการ ประกาศออกโฉนดที่ดิน มณฑลกรุงเก่า เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2444 ซึ่งถือเป็นกฎหมายใช้ในการออกโฉนดที่มีผลอย่างจริงจัง และพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระองค์ให้กับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นำไปจัดสรรให้กับเกษตรกร
ทั้งนี้ ที่ดินพระราชทานดังกล่าวมีที่ดินโฉนดเลขที่ 1 รวมอยู่ด้วย จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณในสถาบันพระมหากษัตริย์ และถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวเพิ่มเติมว่าในกิจกรรมปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ ในครั้งนี้ ทุกภาคส่วนจะมาร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ สนองพระราชปณิธาน และถวายเป็นพระราชกุศลด้วยการปลูกต้นไม้ประจำจังหวัด แบ่งเป็น 18 กลุ่มจังหวัด เช่น กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย จ.ชัยนาท ปลูกต้นมะตูม จ.ลพบุรี ปลูกต้นพิกุล จ.สระบุรี ปลูกต้นตะแบก กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย จ.ชุมพร ปลูกต้นมะเดื่ออุทุมพร จ.นครศรีธรรมราช ปลูกต้นแซะ จ.พัทลุง ปลูกต้นพะยอม จ.สงขลา ปลูกต้นสะเดาเทียม กลุ่มฝั่งอันดามัน จ.ตรัง ปลูกต้นศรีตรัง จ.พังงา ปลูกต้นเทพทาโร จ.ภูเก็ต ปลูกต้นประดู่บ้าน กลุ่มภาคเหนือตอนบน จ.เชียงใหม่ ปลูกต้นทองกวาว จ.ลำพูน ปลูกต้นจามจุรี จ.เชียงราย ปลูกต้นกาสะลอง เป็นต้น พร้อมกับร่วมดูแลบำรุงรักษาต้นไม้และต้นไม้ทรงปลูก โดยชุดปฏิบัติการรุกขกร กรมป่าไม้ และชุดปฏิบัติการหมอต้นไม้
ด้านนายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวว่า ด้วยความสำคัญของโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ จึงร่วมสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญการพิทักษ์และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ดำเนินโครงการศูนย์เรียนรู้พระมหากรุณาธิคุณบริเวณโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย เพื่อสืบสานและต่อยอดแนวพระราชดำริที่เน้นงานใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในพื้นที่โฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากเกษตรเชิงเดี่ยวเป็นเกษตรทฤษฎีใหม่ รวมทั้งจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนจากเกษตรกรในพื้นที่ 2) การปรับปรุงอนุสาวรีย์โฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทยเพื่อให้ประชาชนได้น้อมสักการะและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในสถาบันพระมหากษัตริย์ และ 3) การปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้พระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ และจัดสวนต้นไม้ประจำจังหวัดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่ทำให้ประชาชนได้ร่วมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ตระหนักรู้ถึงความสำคัญ และประวัติความเป็นมาของโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย
“โครงการศูนย์เรียนรู้พระมหากรุณาธิคุณบริเวณโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย จะมีประวัติความเป็นมา และความสำคัญที่พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นเจ้าของแผ่นดินทรงพระราชทานที่ดินของพระองค์ ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของประชาชน ในรูปแบบของโฉนดที่ดิน มีประวัติความเป็นมาของโฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย จนมาถึงการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระบรมราโชบายที่ต้องการรักษาที่ดินที่เหมาะสมสำหรับการประกอบเกษตรกรรมไว้ให้ประชาชน จึงทรงพระราชทานที่ดินทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ จำนวน 44,321 – 0 – 39.46 ไร่ ในท้องที่ 5 จังหวัด คือ จ.พระนครศรีอยุธยา จ.ฉะเชิงเทรา จ.นครปฐม จ.นครนายก และ จ.ปทุมธานี ซึ่งประชาชนจะได้รับทราบความเป็นมาและความสำคัญของสถานที่แห่งนี้ เพื่อร่วมกันพัฒนาและรักษาให้ยั่งยืนตลอดไป” อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าว
โครงการ “ปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2566” ในพื้นที่โฉนดที่ดินฉบับแรกของประเทศไทย จึงเป็นกิจกรรมที่น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมถึงการสร้างประโยชน์เพื่อพี่น้องประชาชนส่วนรวมในพื้นที่แห่งนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ตั๊น จิตภัสร์' ลั่น 'ปชป.' ไม่ทิ้งคนใต้แค่ดาวกระจายช่วยน้ำท่วม
'ตั๊น จิตภัสร์' เยี่ยมเยือนสร้างขวัญกำลังใจอาสาสมัครพิทักษ์อุทยานแห่งชาติ พังงา -ภูเก็ต ย้ำ 'ปชป.' ดาวกระจาย ทำงาน ระดมสรรพกำลังช่วยน้ำท่วม เคียงข้างคนใต้
กระทรวงทรัพย์ฯ ร่วมส่งมอบความสุขให้ ปชช. ทั่วประเทศ ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ มอบกล้าไม้มงคลผ่านพิธีเจริญพระพุทธมนต์ "พฤกษามหามงคล" และปลูกต้นไม้ ต้นที่ 72 ล้านต้น
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มีความตั้งใจที่จะส่งมอบความสุขให้กับประชาชน โดยการเตรียมจัดของปีใหม่จากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งมอบความสุขแด่ประชาชนทั่วประเทศ สำหรับกรมป่าไม้
รมต.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำทัพผลักดันนโยบายลดโลกเดือด หนุนทุกภาคส่วนรวมพลังสู่เป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกระดับโลก
วันที่ 4 ธันวาคม 2567 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เปิดกิจกรรมเนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทยและวันอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านแห่งชาติ ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “Impact – Driven Policy:
'คนอยู่กับป่า' นัดรวมตัวใหญ่ รับครม.สัญจร ยื่นนายกฯ ค้าน พ.ร.ฎ.ของกรมอุทยานฯ
เครือข่ายสมัชชาชุมชนคนอยู่กับป่า(สชป.) ได้นัดรวมตัวกันประมาณ 3,000- 5,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาติพันธุ์ เช่น ม้ง กะเหรี่ยง
“ดร.เฉลิมชัย” ชูโครงการธรรมจักรสีเขียว สร้าง “วัดต้นแบบ” - เพิ่มพื้นที่ป่าให้ประเทศ
ป่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญต่อชีวิตมนุษย์และสรรพสิ่งทั้งปวง รวมถึง “พระพุทธศาสนา” ที่มีความสัมพันธ์กับป่าไม้อย่างลึกซึ้ง
'ประเสริฐ' แจงม็อบพีมูฟ ครม.เห็นชอบร่างพ.ร.ฎ. 2 ฉบับ แก้ที่ทำกินให้คนอยู่กับป่าได้
ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม(พีมูฟ) นำโดย นายจำนงค์ หนูพันธ์ ประธานและที่ปรึกษาพีมูฟ รวมตัวจัดกิจกรรมคัดค้านการพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาโครงการอนุรักษ์และดูแลทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ ตามมาตรา 64 แห่งพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562