รายงานวิจัยพบผลข้างเคียง 'วัคซีนโควิด' แต่ละ batch แตกต่างกัน

7 ก.ค. 2566 – ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า วัคซีนโควิด ผลข้างเคียงที่ต้องพิจารณา และความแตกต่างของแต่ละ batch ของวัคซีน

วัคซีนโควิดเป็นที่ยอมรับกันในประโยชน์ที่ใช้กันทั่วโลก แต่ในขณะเดียวกัน ผลไม่พึงประสงค์ ผลข้างเคียง และแทรกซ้อน เป็นเรื่องที่ปรากฏขึ้นจริง และต้องติดตาม เพื่อประเมินผลลัพธ์โดยรวม

การประเมินประโยชน์และผลข้างเคียงรุนแรงที่เกิดขึ้น มีความจำเป็น ทั้งนี้ โดยเฉพาะในสถานการณ์โควิดซึ่งเชื้ออ่อนกำลังลงไปมาก

มีการเปิดเผยผลข้างเคียงรุนแรงจากวัคซีน mRNA ในเดือนกันยายน 2022 ในวารสาร vaccine ทั้งนี้ เป็นข้อมูลจริงที่ได้ระหว่างมีการดำเนินการศึกษาเฟสที่สามในมนุษย์ แต่ไม่ได้มีการเปิดเผยมาก่อน จนเมื่อต้องทำตามกฏหมายความโปร่งใสของข้อมูลจึงต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36055877/

ทั้งนี้จนกระทั่งถึงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2022 มีการใช้วัคซีนไฟเซอร์ไปในสหภาพยุโรป เป็นจำนวน 701 ล้านโดสด้วยกัน และมีการรายงานถึงผลข้างเคียง ที่อาจมีส่วนเกี่ยวพัน (suspected adverse effects SAEs) กับวัคซีนเป็นจำนวน 971,021 รายงาน ตามบันทึกของสหภาพยุโรปและพื้นที่เศรษฐกิจของยุโรป (European union/European economic area หรือ EU/EEA)

ตามรายละเอียด European Medical Agency. Safety of Covid-19 vaccines. https:// http://www.ema.europa.eu/…/coronavirus…/treatments -vaccines/vaccines-covid-19/safety-covid-19-vaccines Assessed January 6, 2023.

วัคซีนที่ผลิตแต่ละหลอดที่ใช้สำหรับแต่ละบุคคลนั้น จะถูกผลิตขึ้นมาจากโรงงานเป็นรอบ (batches) โดยมีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานของแต่ละโดสอย่างเคร่งครัด

ทั้งนี้โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าไม่ควรมีความผิดเพี้ยนที่เกิดจากการผลิตดังกล่าว แต่ถึงกระนั้นก็ตามเนื่องจากวัคซีนโควิดเป็นการผลิตภายใต้ภาวะฉุกเฉินและต้องมีความเร่งรีบในการผลิตให้ทันตามความต้องการ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าจะมีความแตกต่างกันระหว่าง batch

คณะผู้ศึกษาจากเดนมาร์กจึงได้จับประเด็นนี้และได้รายงานในวารสารของยุโรป Eur J Clin Invest ในปี 2023
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/eci.13998

รายงานผลข้างเคียงทั้งหมดที่อาจเกี่ยวพันกับวัคซีน จะบันทึกในฐานข้อมูลขององค์กรทางการแพทย์ของเดนมาร์ก Danish Medical Agency (DKMA) ตามลักษณะความรุนแรง ของผลข้างเคียง ตามจำนวนโดสที่ใช้ของวัคซีนไฟเซอร์ และตามแต่ละ batch หรือรอบการผลิต

รายงานต่อ DKMA นั้น จะรวบรวมมาจากทุกแหล่ง ซึ่งรวมถึงจากแพทย์จากสถานพยาบาล รวมกระทั่งถึงผู้ได้รับผลกระทบและรายงานจากสมาชิกในชุมชน และเป็นลักษณะ passive ไม่ใช่ active จึงมีความคลาดเคลื่อนของข้อมูล ที่อาจมากเกินไปหรือน้อยเกินไป

ทั้งนี้ แตกต่างจากรายงานของประเทศเกาหลี ทั้งประเทศที่ติดตามอุบัติการณ์ของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีน mRNA และรายงานในวารสาร european heart journal โดยที่ลักษณะการรายงานนั้นเป็น active และมีมาตรฐานเข้มข้นกว่า โดยตัวเลขที่ได้นั้นจะต่ำกว่าตัวเลขจริงด้วยซ้ำ

แต่ชี้ชัดให้เห็นว่า หัวใจอักเสบเกิดขึ้นได้จริง แม้อัตราที่เกิดขึ้นจะเป็นหนึ่งต่อ 100,000 แต่ความรุนแรงถึงขั้นมากจนกระทั่งเข้าโรงพยาบาลเข้าไอซียู จนเสียชีวิต ตายฉับพลัน หรือต้องเปลี่ยนหัวใจนั้น มีได้สูงถึง 20% ของคนที่มีหัวใจอักเสบ

สำหรับรายงานจากประเทศเดนมาร์กนี้

ผลข้างเคียงที่อาจเกี่ยวพันกับวัคซีน หรือ SAEs นั้น เป็นไปตามบัญญัติศัพท์เพื่อการควบคุมดูแล (medical dictionary for regulatory activities MedDRA) โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามคำวินิจฉัยทางการแพทย์เสมอไป และอาการในผู้ได้รับวัคซีน สามารถมีได้มากกว่าหนึ่งอาการในแต่ละคน แต่นับรวมเป็นหนึ่งรายงาน

ความรุนแรงของอาการนั้น จัดแบ่งออกเป็น ไม่ซีเรียส ไม่รุนแรง และแบบมีความรุนแรง ได้แก่ ต้องเข้าโรงพยาบาล หรือทำให้ระยะเวลาของการที่ต้องอยู่โรงพยาบาลนั้น ต้องยืดยาวออกไป รวมกระทั่งถึงอาการรุนแรงเกือบถึงขั้นชีวิต หรือมีความพิการถาวรหรือทำให้เกิดมีความพิการแต่กำเนิด จนกระทั่งทำให้เกิดการเสียชีวิต

อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นมีการวิเคราะห์โยงไปถึง batch และจำนวนโดสที่ได้รับ

สัดส่วน จำนวนผลข้างเคียงที่เชื่อมโยงกับแต่ละ batch ต่อจำนวนของโดสในแต่ละ batch จะกลายเป็นอัตราของผลข้างเคียงSAEs ต่อ 1,000 โดส

และเนื่องจากมีความแตกต่างกันที่เกิดขึ้นในข้อมูลของแต่ละ batch มาก การทบทวนทางสถิติจะเป็นไปตาม log-transformation และตามด้วย non-hierarchical cluster analysis และ general linear model

ผลของการรายงานจะสอดคล้องกับคำแนะนำ EQUATOR guidelines

ในระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2020 ถึง 11 มกราคม 2022 จำนวนโดสของวัคซีนไฟเซอร์ที่ให้กับประชากรเดนมาร์ก 4,026,575 คน = 10,793,766 โดสด้วยกัน และจะอยู่ในวัคซีน 52 batches ต่างๆ กัน โดยแต่ละ batch ของรอบผลิตจะมีจำนวนตั้งแต่ 2,340 ถึง 814,320 โดส

รายงานผลข้างเคียงมีจำนวนทั้งหมด 43,496 รายงาน จากคนที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวน 13,635 รายด้วยกัน คิดเป็น 3.19+/-0.03 (mean+/-SEM) SAEs ต่อคน

ในจำนวน 61,847 SAEs ที่สามารถระบุ batch ได้นั้น มี 14,509 รายงาน หรือ 23.5% ที่จัดเป็นรุนแรงและ 579 รายงาน หรือ 0.9% ที่เสียชีวิตไป

ข้อมูลที่รวบรวมและวิเคราะห์จากรายงานนี้ถือว่าเป็นรายงานที่มีลักษณะเฉพาะตัว ทั้งนี้สามารถรวบรวมข้อมูลได้อย่างหมดจด ในประเทศเล็กอย่างเช่นเดนมาร์ก ที่มีการรายงานและรับข้อมูลได้โดยตรงและครบถ้วนกว่า แม้ไม่ทั้งหมดก็ตาม

ทั้งนี้ ผลที่ได้ที่พบว่าอาการและผลข้างเคียง มีความแตกต่างกันมาก และยังขึ้นอยู่กับแต่ละหลอด โดสวัคซีนที่ใช้ ที่อยู่คนละ batch หรือรอบการผลิต ซึ่งจะแตกต่างจากสมมุติฐาน หรือความเชื่อเดิมที่ยึดถือว่า วัคซีนที่ผลิตแต่ละรอบ แม้แต่ละหลอดนั้นจะมีความคงที่และมีความเหมือนกัน

ด้วยเหตุผลดังกล่าว จำนวนหรืออัตราผลข้างเคียงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์นั้น เมื่อดูจำนวนทั้งหมดแล้ว แม้จะดูเหมือนไม่มาก แต่เมื่อทำการเจาะลึกไปถึงรายงานของผลข้างเคียงที่ส่งตรงจากประชาชน โดยสัมพันธ์กับโดสในแต่ละ batch จะเห็นได้ว่ามีอัตราสูงขึ้นอย่างมากมาย

เช่น batch EJ6134 จะมีผลแทรกซ้อนข้างเคียงถึงหนึ่งต่อ 20 นั่นก็คือ 20 ราย จะได้รับผลกระทบหนึ่งราย ในขณะที่ batch EW6126 จะได้รับผลกระทบหนึ่งต่อ 1000 ราย

ลักษณะของข้อมูลที่ได้รับจากการวิเคราะห์นี้ ไม่เคยปรากฏมาก่อนทั้งๆ ที่ประเทศเดนมาร์ก หรือประเทศอื่นในสหภาพยุโรปเอง ทั้งๆ ที่คุณภาพของวัคซีนจะมีการติดตามเฝ้าระวังโดยหน่วยงานและตามมาตรฐาน guideline ที่ระบุ official Control Authority Batch release (OCABR)

ลักษณะของการตรวจสอบและเฝ้าระวังในลักษณะนี้ไม่เคยมีมาก่อน ตั้งแต่ก่อนที่วัคซีนจะออกสู่ท้องตลาดและเมื่อมีการใช้ทั่วโลกแล้วด้วยซ้ำ

ลักษณะความเบี่ยงเบนของวัคซีนในแต่ละ batch จะส่งผลในการพิจารณาว่า ต้องเป็นอีกประเด็นหนึ่งในการติดตามผลไม่พึงประสงค์จากวัคซีน

นอกจากการประเมินตามปกติที่ว่า คนที่ได้รับวัคซีนกลุ่มใดจะเกิดอันตรายมากที่สุดด้วย เพราะเป็นปัจจัยเนื่องจากความแตกต่างของวัคซีนด้วย ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนที่ได้รับวัคซีนอย่างเดียว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดผลวิจัยอเมริกา 'ออกกำลังกาย' เวลาไหนดีกว่ากัน

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเด็นร้อน.. ออกกำลังเช้า หรือบ่าย-เย็น ดีกว่ากัน

‘เศรษฐา’ ลาป่วยติดโควิด กลับมาปฎิบัติงานวันที่ 19 มิ.ย.นี้

นายกรัฐมนตรี ได้พบแพทย์ หลังจากมีอาการป่วย อ่อนเพลียเล็กน้อย ตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 14 มิถุนายน ที่ผ่านมา ผลการตรวจพบว่าติดโควิด

ทุบสถิติปีนี้! ไทยติดโควิดใหม่รายสัปดาห์ทะลุ 2.7 พันคน

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ รักษาในโรงพยาบาล