ดีอีเอสรับฟังความเห็นร่างแนวปฏิบัติฯ 7 บริการรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ

กระทรวงดิจิทัลฯ จัดการประชุมรับฟังความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ต่อร่างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Guideline) รองรับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลฯ ครอบคลุมบริการ 7 ด้านที่เกี่ยวข้องกับประชาชนจำนวนมาก และมีผลกระทบสูง

4 ธ.ค. 2564 นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ทำหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลฯ ได้มีการประชุมรับฟังความเห็นหรือข้อเสนอแนะ ต่อร่างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Guideline) ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล  ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โดยมีสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เป็นที่ปรึกษาดำเนินโครงการฯ

ที่ผ่านมา ทีดีอาร์ไอ ได้มีการรวบรวม ศึกษาวิเคราะห์ และรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเรียบร้อยแล้วจำนวน 2 รอบ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงร่างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data Protection Guideline) ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะดังกล่าว จากนี้จะเป็นขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจากสำนักงานสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อนำไปปรับปรุงร่างแนวปฏิบัติฯ ฉบับสมบูรณ์ต่อไป

สำหรับการจัดทำร่างแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ ดังกล่าว จะครอบคลุมบริการ 7 ด้านที่มีผลกระทบสูงต่อประชาชนจำนวนมาก ประกอบด้วย 1.ด้านสาธารณสุข ทั้งโรงพยาบาลและร้านขายยา 2.ด้านค้าปลีก และอี-คอมเมิร์ซ 3.ด้านการศึกษา 4.ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ 5.ด้านการท่องเที่ยว 6.ด้านอสังหาริมทรัพย์และการบริหารทรัพย์สิน และ 7.หน่วยงานของรัฐ 

โดยการออกแนวปฏิบัติดังกล่าว เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การดำเนินการตามกฎหมายหรือหลักการใดๆ ที่กำหนดขึ้นเป็นไปอย่างสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ เช่น การกำหนดและแยกแยะข้อมูลส่วนบุคคล การประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ควบคุมข้อมูล

ส่วนบุคคลและผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การประเมินผลกระทบด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ และการจัดทำนิรนามข้อมูล เป็นต้น

“แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ Guideline ที่เรากำลังจัดทำฉบับนี้ เน้นสร้างความตระหนัก และการเตรียมพร้อมขององค์กร รวมทั้งให้ความสำคัญกับประเด็นวงจรการใช้ข้อมูล (Data Cycle) เพราะจะได้ไม่ต้องทำการจัดเก็บข้อมูลบางประเภท หรือของบางบริการไว้นานเกินไป” นายเวทางค์กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดีอี ระวังข่าวปลอม 'PEA' ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกัน

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “PEA ส่ง SMS ให้ตรวจสอบสิทธิรับเงินคืนประกันที่ www.การไฟฟ้าสำนักงานใหญ่.com” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

เตือน เพจปลอมโจรออนไลน์ 'กระทรวงยุติธรรม' หลงเชื่อมีสิทธิสูญเงิน

ดีอี เตือน เพจปลอมโจรออนไลน์ “กระทรวงยุติธรรมเปิดเพจเฟซบุ๊ก รับแจ้งความร้องทุกข์ออนไลน์” อย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสูญเงิน-ข้อมูลส่วนบุคคล

'ดีอี' เตือนอย่าหลงเชื่อ ข่าวปลอม ไทยถูกพายุถล่ม 24 ลูก

ดีอี เตือน ข่าวปลอม “ตั้งแต่ต้นปีมีพายุเข้าไทยมาแล้ว 11 ลูก คาดการณ์ว่าทั้งปีจะเข้ามาทั้งหมด 24 ลูก” ขออย่าเชื่อ-แชร์ หวั่นสร้างวิตกกังวลให้ ปชช.

'ดีอี' เตือนอย่าเชื่อ-แชร์ข่าวปลอม รัฐบาลเปิดลงทะเบียนดิจิทัลวอลเล็ตใหม่

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ในฐานะโฆษกกระทรวงฯ กล่าวถึงผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 4 - 10 ตุลาคม 2567

ดีอีเตือนอย่าแชร์ข่าวปลอมเหยื่อจากคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียนขอรับเงินคืน

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “เหยื่อจากคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียนขอรับเงินคืน 3 ช่องทาง ผ่านเพจ ศูนย์ช่วยเหลือเหยื่อมิจฉาชีพทางออนไลน์” หวั่นสร้างความสับสน

ดีอี เตือนอย่าเชื่อข่าว รัฐยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท

ดีอี เตือน อย่าเชื่อ-แชร์ ข่าวปลอม “ประกาศยกเลิกการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท” หวั่นสร้างความเข้าใจผิดให้สังคม