หนี้ครัวเรือนไทยยังน่าห่วงตัวเลขทะลุ 15 ล้านล้าน สินเชื่อยานยนต์เพิ่มต่อเนื่อง

23 พ.ค.2566 – นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์หนี้ครัวเรือนไตรมาส 4/2565 มูลค่า 15.09 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% ขยายตัวในอัตราชะลอลง ไตรมาส 3/2565 ขยายตัว 4 %หนี้ครัวเรือนมีสัดส่วน 86.9 %ของจีดีพี สินเชื่อยานยนต์ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จึงต้องจับตาดูเป็นพิเศษ เพราะได้เพิ่มขึ้นจาก 13.1 %ไตรมาส 2/2565เพิ่มเป็น 13.6 %ในไตรมาส 3 เพิ่มเป็น 13.7 %ในปี 2565

“ปัญหาหนี้เสีย (NPL) จากปัญหาโควิด-19 นับว่ายังทรงตัว โดยสินเชื่อบุคคลคลยังสูง7.6 %สินเชื่ออยู่อาศัย 4.6 %ประชาชนยังเป็นหนี้บัตรเครดิตระดับสูง จึงเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาจฉุดรั้งต่อการเติบโตของเศรษฐกิจไทย จึงต้องเร่งแก้ปัญหาจากทุกหน่วยงาน เพราะหนี้ครัวเรือนทั้งระบบ อาจเป็นระเบิดเวลาของสังคมไทย หากพุ่งขึ้นมาจำนวนมาก นับว่ายากต่อการทำให้ลดลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ประชาชนต้องลด ละ เลิก การใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ก่อนสร้างภาระหนี้ใหม่”นายดนุชา กล่าว

ทั้งนี้หากเข้าไปดูหนี้เสียตามรายวัตถุประสงค์ จะเห็นว่าหนี้บัตรเครดิตนั้น ลูกหนี้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี เป็นกลุ่มที่มีหนี้เสียขยายตัวขึ้นมา ขณะที่ช่วงอายุอื่น ๆ ปรับตัวลดลงมากขณะที่สินเชื่อบุคคล ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมีเอ็นพีแอลขยายตัวค่อนข้างสูง และ หนี้เสียต่อบัญชีประมาณ 77,000 บาท วนสินเชื่อยานยนต์ หนี้ที่มีปัญหาส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-49 ปี หรือวัยทำงาน มีปัญหาการชำระ มูลค่าหนี้เสียสัดส่วน 59.2% เทียบกับช่วงอายุอื่น ๆ ซึ่งต้องมาช่วยกันดู เพราะคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นกำลังแรงงาน พยายามสร้างเนื้อสร้างตัว ซึ่งต้องให้ความรู้ทางการเงินและสร้างความตระหนักในการก่อหนี้

“ประเด็นที่ต้องติดตามและให้ความสำคัญคือ ต้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ที่เริ่มมีสัญญาณการผิดนัดชำระ โดยเฉพาะสถาบันการเงินคงต้องช่วยกัน ถ้าลูกหนี้เริ่มมีสัญญาณ เริ่มมีปัญหาการผ่อนชำระ ก็ต้องเข้ามาช่วยกันปรับโครงสร้างหนี้ให้เร็วขึ้น ส่วนที่เป็นหนี้เสียอยู่แล้วก็คงต้องมีมาตรการเฉพาะเจาะจงในการช่วยเหลือ ไม่ใช่เป็นมาตรการทั่วไป”นายดนุชา กล่าว

เพิ่มเพื่อน