'มัลลิกา'​ ปลุกคนรุ่นเรากับคนรุ่นใหญ่ เลือก ปชป. เป็นเสาหลักช่วยชาติ-ปชช.

'มัลลิกา'​ ขอคะแนน คน รุ่นเรากับคนรุ่นใหญ่กว่า 33 ล้านเสียง ช่วยเป็นฐานคะแนนหลักให้ประชาธิปัตย์ ได้ยืนหยัด เป็นเสาหลัก ช่วยชาติและประชาชนให้ปลอดภัย

3 พ.ค. 2566 -​ ที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯดร.มัลลิกา บุญมีตระกูล มหาสุข อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และผู้สมัครบัญชีรายชื่อ กล่าวระหว่างลงพื้นที่หาเสียงช่วย นายแพทย์พลวิทย์ เจริญพงศ์ ผู้สมัคร ส.ส. เขตตลิ่งชัน-ทวีวัฒนา เบอร์ 3 ว่า ในช่วงโค้งสุดท้ายความหวังของพรรคประชาธิปัตย์อยู่ที่ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุรุ่นเราคือเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ Gen-X ขึ้นไปซึ่งเป็นพี่น้องประชาชนช่วงวัยซึ่งตกผลึกทางความคิดและผ่านประสบการณ์มาพอสมควรขณะเดียวกันก็มีความเป็นห่วงลูกหลานห่วงสังคมประเทศชาติและมีความเชื่อมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตไว้วางใจได้ของสถาบันการเมืองอย่างประชาธิปัตย์เป็นทุน

"โดยคนช่วงวัยนี้ขึ้นไปจนถึงเจน Silent รวมกันมีอยู่ร่วม 33 ล้านเสียง จากจำนวนผู้มีสิทธิลงคะแนน 52.3 ล้านเสียง หากท่านเป็นฐานหลักให้กับพรรคประชาธิปัตย์แม้ว่าจะแบ่งไปทางพรรคใหม่อื่นๆ ที่เป็นอนุรักษ์นิยม หรือเสรีนิยมประชาธิปไตยบ้างก็ตาม ฐานเสียงประชาชนทุกท่านเหล่านี้อาจจะไม่ได้อยู่ในกระแสไม่ได้อยู่บนโซเชียลมีเดียและแม้อยู่บนโซเชียลมีเดียแต่ก็จะอยู่อย่างมีวุฒิภาวะไม่แสดงออกหวือหวาชัดเจน ตรงนี้จึงอยากขอแรงเป็นความหวังให้ประชาธิปัตย์ได้ทำงาน ให้สถาบันการเมืองอย่างประชาธิปัตย์ได้ยืนหยัดเพื่อชาติและประชาชนอย่างมั่นคง" ดร.มัลลิกา กล่าว

ดร.มัลลิกา กล่าวด้วยว่าจากข้อมูลจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งปี 2566 จำนวนกว่า 52 ล้านคน พบเจน X มากสุดราว 16 ล้านคน หรือ 30.87 เปอร์เซ็นต์ รองลงมา เป็นกลุ่มผู้สูงวัยอายุ 58 ปีขึ้นไป 14 ล้านคน หรือ 27.48 เปอร์เซ็นต์ ดูข้อมูลแล้วยังมั่นใจในความหนักแน่นรอบคอบของคนวัยเราขึ้นไป เจเนอเรชัน X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 16,151,442 คน คิดเป็นร้อยละ 30.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด เจเนอเรชัน Baby Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 11,844,939 คน คิดเป็นร้อยละ 22.64 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด และเจเนอเรชัน Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 2,533,098 คน คิดเป็นร้อยละ 4.84 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด ซึ่งถ้ารวมคนรุ่นเรากับคนรุ่นใหญ่ก็มีร่วม 32.8 ล้านเสียงก็เกือบ 33 ล้านเสียง ที่อยากให้รวมพลังกันออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งทั้งนี้เพื่อใช้ประสบการณ์ข้อมูลความรู้ความตกผลึกทางความคิด การดูลึกรู้จริงถึงสถานการณ์ต่างๆ ของบ้านเมือง ความรอบคอบและวุฒิภาวะแห่งประสบการณ์ของท่านเพื่อดูแลบ้านเมือง

ดร.มัลลิกา ระบุด้วยว่าสำหรับผู้มีสิทธิลงคะแนนครั้งแรกหรือนิวโหวตเตอร์ หรือ First Voter ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี มีจำนวน 4,012,803 คน คิดเป็นร้อยละ 7.67 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด อย่างไรก็ตามอาจจะต้องใช้เวลาในการพูดคุยทำความเข้าใจนานหน่อย แต่ทั้งนี้ถ้านับเจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายรวมถึงผู้มีอายุ 18-25 ปี จะมีรวมกันจำนวน 6,689,453 คน คิดเป็นร้อยละ 12.78 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดและในนี้รวม First Voter ด้วยแล้ว และยังมีเจเนอเรชัน Y ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 26-41 ปี มีจำนวน 15,103,892 คน คิดเป็นร้อยละ 28.87 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

"ถ้ารวมข้อมูล First Voter กับเจนเนอเรชัน Y คือคนอายุ 18- 41 ปี จะมีจำนวนประมาณ 21.7 ล้านคน และเมื่อเทียบกันระหว่างคนรุ่นเราถึงรุ่นใหญ่ประมาณ 32.8 ล้านคนรุ่นนี้มีมากกว่า ซึ่งนอกเหนือจากอยากจะขอแรงรุ่นเราและรุ่นใหญ่แล้วก็อยากจะขอคนรุ่นใหม่และรุ่นน้อง ๆ ตาม ๆ กันมานี้ช่วยกันคิดให้รอบคอบถึงการจะใช้อำนาจครั้งนี้ซึ่งจะให้เพียงแค่สะใจหรือเร้าอารมณ์อย่างเดียว ไม่ใช่วิทยาศาสตร์เหตุและผล ทั้งนี้ทุกคนมีอำนาจอยู่เพียงแค่ปลายนิ้วจริงๆ ว่า เราจะใช้อำนาจสูงสุดของประชาชนไปในทิศทางไหนปลอดภัยสำหรับสังคม ประเทศชาติ ลูกหลาน พ่อแม่ ปู่ย่าตายาย และตัวเราเองหรือไม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง