18 เม.ย.66 – เวลา 11.00 น.ที่ศาลปกครองกลาง นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอไต่สวนฉุกเฉิน ในคดีหมายเลขดำที่ 1961/2565 เนื่องจากมีกรณีฉุกเฉินเนื่องจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กำหนดให้ กฟผ.ลงนามในสัญญาซื้อไฟฟ้าจากเอกชนจำนวน 175 ราย ที่มีปริมาณเสนอขายรวม 4,852.26 เมกะวัตต์ จากที่ กกพ.ประกาศเปิดรับซื้อ 5,203 เมกะวัตต์ ในวันที่ 19 เมษายน 2566 นี้
ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตมากถึง 51,048 เมกกะวัตต์ ขณะที่ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศในปี 2565 มีเพียง 30,135 เมกกะวัตต์เท่านั้น อันทำให้มีปริมาณการผลิตไฟฟ้าสำรองล้นประเทศ หรือมากเกือบ 60% แต่ทว่าคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ กลับมีมติให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปดำเนินการจัดซื้อไฟฟ้าจากเอกชนเพิ่มในโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (Fit) ปี 2565-2573 สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน, พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน(Battery Energy Storage System : BESS), สำหรับพลังงานลม, สำหรับก๊าซชีวภาพ(น้ำเสีย/ของเสีย) และโครงการผลิตไฟฟ้าจากขยะชุมชน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าล้นประเทศมากถึง 53,659 เมกกะวัตต์ หรือมีกำลังไฟฟ้าสำรองมากกว่า 62% ซึ่งมาตรฐานสากลกำหนดไว้เพียงประมาณ 15-20% เท่านั้น
การที่มีพลังงานไฟฟ้าสำรองมากกว่า 53,659 เมกกะวัตต์ หรือกว่า 62% จะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าเอฟที (Ft) ซึ่งการไฟฟ้าก็จะไปไล่เก็บจากประชาชนทุกครัวเรือนเพื่อเอามาชดเชยให้เอกชนเจ้าของโรงไฟฟ้าที่ กฟผ.ได้ลงนามในสัญญาซื้อสำรองไว้ แบบเสียเปล่า เพราะปริมาณการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของประเทศไทยมีเพียงแค่ 3 หมื่นกว่าเมกกะวัตต์เท่านั้น และหากพิจารณาบริษัทต่าง ๆ ใน 175 รายนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นของบริษัทขนาดใหญ่ ผู้ร่ำรวยระดับปะเทศที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แทบทั้งสิ้น
การฮึกเหิมในการใช้อำนาจตามอำเภอใจและน่าจะเป็นการตอบสนองความต้องการของฝ่ายการเมืองดังกล่าว ในที่สุดผู้ที่จะต้องแบกรับภาระค่าจัดซื้อจัดหาไฟฟ้าจากผู้ประกอบการผลิตไฟฟ้าของเอกชน คือ พลเมืองไทยทุกครัวเรือน ทุกห้างร้าน ทุกผู้ประกอบกิจการ แม้แต่วัดวาอาราม ศาสนสถานก็ไม่เว้น เยี่ยงนี้สังคมไทยจะปล่อยให้เลยตามเลยไปมิได้ เพราะจะมีผลกระทบต่อประโยชน์สาธารณะบนความทุกข์ของประชาชนทุกครัวเรือน ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้ในคดีที่ 1/2566 ลงวันที่ 9 ม.ค.2566 ที่ผ่านมา สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทยจึงจำต้องมาร้องขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉินเพื่อมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการลงนามซื้อไฟฟ้าในวันนี้ นายศรีสุวรรณ กล่าวในที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ คว้ารางวัลสุดยอด CEO รัฐวิสาหกิจดีเด่นสาขา Environment ตอกย้ำการขับเคลื่อนภารกิจองค์กรด้วยความตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Environment จากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร
'ศรีสุวรรณ' ฟ้อง กกพ.-กพช.-กบง. ระงับซื้อไฟฟ้าหมุนเวียนเพิ่ม ทำให้ไฟฟ้าล้นประเทศ
นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ซึ่งได้รับมอบอำนาจจากประชาชนทั่วประเทศ ได้เดินทางมายื่นฟ้องคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) และคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.) ต่อศาลปกครอง
จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม
ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุด จำนวน 5 ราย
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง แต่งตั้งตุลาการศาลปกครองสูงสุด
โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง 'ประสิทธิ์ศักดิ์ มีลาภ' เป็นประธานศาลปกครองสูงสุด
ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด
ส.ยกน้ำหนักฯ–จ.พะเยา-กฟผ. จัดEGATยกน้ำหนักยุวฯเยาวชน 15–25ต.ค.นี้
เมื่อวันที่ 27ก.ย.ที่ผ่านมา นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.),นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และพลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์ กรรมการและประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ EGAT ยุวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อายุ 13 - 15 ปี ประจำปี 2567 ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ